คนบนเรือสำราญ เล่าความเป็นอยู่ขณะถูกกักกันโรค


คนบนเรือสำราญ เล่าความเป็นอยู่ขณะถูกกักกันโรค

"เริ่มมีอาการซึมเศร้า" เดวิด อาเบล ผู้โดยสารบนเรือกล่าว เขาเป็นหนึ่งใน 3,700 คนที่ถูกกักกันโรคอยู่บน เรือสำราญไดอะมอนด์ พรินเซส (Diamond Princess) ที่จอดเทียบท่าใกล้กับเมืองโยโกฮามาของญี่ปุ่น

เดวิด และซัลลี ภรรยาของเขา ลงเรือลำนี้ด้วยความหวังว่า จะได้ใช้เวลาวันหยุดพักผ่อนอย่างหรูหรา เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ... แต่เขากลับต้องติดอยู่ในศูนย์กลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ใหญ่ที่สุดนอกจีนแผ่นดินใหญ่

จนถึงวันพุธที่ผ่านมา (12 ก.พ.) มีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาบนเรือสำราญลำนี้แล้ว 174 คน ทำให้เกิดความกังวลว่า ลูกเรือและผู้โดยสารอีกจำนวนมากจะติดเชื้อเช่นกัน

เดวิด กล่าวว่า ผู้ที่มีผลการตรวจออกมาเป็นบวก ถูกนำตัวออกจากเรือไปโรงพยาบาล แต่ผู้โดยสารที่เหลือถูกสั่งให้อยู่บนเรือไดอะมอนด์ พรินเซส ต่อไป เพื่อจะควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา

"ผู้โดยสารจำนวนมาก กำลังเป็นไข้เคบิน (cabin fever คือ อาการเซื่องซึมหรือหงุดหงิดจากการที่ต้องจำกัดบริเวณอยู่แต่ภายในบ้านเป็นเวลานาน ๆ อย่างเช่นในช่วงหน้าหนาว)" เดวิด กล่าว



วันหยุดในฝันกลายเป็นฝันร้าย
"ผมคงบอกว่า มีความกังวลอยู่บ้างเล็กน้อย" เดวิด บอกกับ บีบีซี "เพราะสิ่งที่ผมไม่อยากจะได้ยินคือ มีผู้โดยสารติดเชื้อเพิ่มอีกขึ้นอีก 1 คน แน่นอนว่า หวังว่าไม่ใช่ผมหรือภรรยา!"

สามีภรรยาจากสหราชอาณาจักรคู่นี้ ได้ลงเรือสำราญ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวพักผ่อนครั้งหนึ่งในชีวิตของพวกเขา แต่การเดินทางในความฝันไม่ได้เป็นตามอย่างที่คาดคิดไว้

นับตั้งแต่มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อคนแรกเมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา "ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป" เขากล่าวกับ บีบีซี

"การจะได้สนุกกับการล่องเรือ เราต้องผ่านกระบวนการกักกันโรคก่อน นับจากนั้น สถานการณ์ของผู้โดยสารบนเรือก็เริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ"

"อาหารก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงด้วย" เดวิดกล่าว "เราไม่ได้ล่องเรือสำราญหรูอีกต่อไปแล้ว"

"อาหารธรรมดา ๆ ไม่เหมือนกับอาหารบนเรือสำราญ" ถูกส่งมาให้ผู้โดยสารตามห้องพัก

มีบางครั้งที่คนบนเรือได้รับอนุญาตให้ออกไปเดินเล่นบนดาดฟ้าเรือ แต่ก็ต้องรักษาระยะห่างกับผู้โดยสารคนอื่น 2 เมตร เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ"

คนบนเรือสำราญ เล่าความเป็นอยู่ขณะถูกกักกันโรค

 

ชีวิตบนเรือของผู้โดยสาร... เมื่อมีการยืนยันการพบเชื้อไวรัสโคโรนาบนเรือในช่วงต้นเดือน ก.พ. ได้มีการประกาศเรื่องนี้ช่วงเช้าตรู่

"ตอนเวลา 6.30 น. ตอนเช้าตามเวลาญี่ปุ่น เราได้รับแจ้งจากกัปตันว่า ให้ผู้โดยสารทุกคนอยู่แต่ในห้องพักของตัวเอง" เดวิด กล่าว

หลังจากนั้นไม่นาน พวกเขาก็ไม่ได้อนุญาตให้ออกไปนอกห้อง "เราไม่สามารถเดินออกจากห้องพัก หรือออกไปเดินตามทางเดินได้"

หลังจากที่ผู้โดยสาร 10 คนแรกล้มป่วย เดวิด บอกว่า "ยามชายฝั่งได้นำตัวพวกเขาออกจากเรือไปยังศูนย์การแพทย์บนบก แต่เราไม่รู้ว่า สถานการณ์จะเป็นอย่างไรสำหรับผู้โดยสารคนอื่น ๆ"

เดวิด หวังว่า ในวันต่อ ๆ ไป ผู้โดยสารทุกคนจะได้รับการตรวจซ้ำ เพื่อดูว่า ยังมีใครติดเชื้อไวรัสอยู่ไหม  พวกเขาไม่มีทางเลือก นอกจากต้องหาอะไรทำฆ่าเวลาขณะที่ถูกกักตัวอยู่ภายในห้องพัก ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 15 ถึง 30 ตารางเมตร


คนบนเรือสำราญ เล่าความเป็นอยู่ขณะถูกกักกันโรค


แล้วลูกเรือล่ะ... 
ในขณะที่ผู้โดยสารเรือสำราญไดอะมอนด์ พรินเซส เฝ้ารอเวลา ลูกเรือก็ไม่ต่างกัน

ภายใต้ดาดฟ้าเรือ ไม่ได้มีการจำกัดหรือกักกันคน เจ้าหน้าที่กว่า 1,000 คน ยังคงใช้ชีวิตและทำงานเพื่อให้เรือขับเคลื่อนต่อไป รวมถึงการเตรียมอาหาร ล้างจาน และทำความสะอาด

ชีวิตของลูกเรือต่างจากผู้โดยสาร ลูกเรือที่ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ตำแหน่งสำคัญ จะนอนร่วมห้องกับลูกเรือคนอื่น ใช้ห้องน้ำร่วมกัน มีพื้นที่สำหรับรับประทานอาหารและพักผ่อนหย่อนใจร่วมกัน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลของเรือสำราญไดอะมอนด์ พรินเซส คนที่ได้รับการว่าจ้างให้มาทำงานบนเรือ จะต้องทำงานเป็นกะ กะละ 10-13 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์

บิเนย์ กุมาร ซาการ์ ลูกเรือคนหนึ่ง โพสต์วิดีโอทางเฟซบุ๊กบอกว่า "เรากลัวกันมาก" และบอกว่า "ไวรัสนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน"

เขาบอกว่า คนที่ไม่ติดเชื้อไวรัสนี้ ควรจะได้รับการอพยพออกจากเรือสำราญไดอะมอนด์ พรินเซส เพื่อที่จะมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่า  บีบีซี เชื่อว่า ในจำนวนผู้ติดเชื้อ มีลูกเรืออยู่ด้วยอย่างน้อย 10-20 คน

คนบนเรือสำราญ เล่าความเป็นอยู่ขณะถูกกักกันโรค

 

เพื่อนและคู่รักฮันนีมูนติดเชื้อไวรัสโคโรนา

แต่วันที่ 7 ก.พ. มีคนบนเรืออีกหลายสิบคนล้มป่วย เดวิด บอกว่า "บรรดาผู้โดยสารเริ่มรู้สึกหดหู่ และหมดกำลังใจ"

เหตุผลที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ไม่มีความชัดเจน แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขญี่ปุ่นชี้ว่า พวกเขาอาจจะติดเชื้อก่อนที่จะมีการกักกันโรค เพราะระยะฟักตัวของไวรัสชนิดนี้ เชื่อว่า อยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ บางคนอาจจะเพิ่งแสดงอาการในตอนนี้

นอกจากนั้น ก็เป็นไปได้ว่า ไวรัสได้แพร่กระจายต่อ โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เชื้ออาจเกิดการแพร่กระจายได้ง่าย ถ้าลูกเรือไม่ได้รับการฝึกหัดอย่างถูกต้อง หรือไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่เพียงพอ


คนบนเรือสำราญ เล่าความเป็นอยู่ขณะถูกกักกันโรค


"มีหลายเรื่องเกิดขึ้น" เดวิด เล่า "แต่ละชั่วโมง สถานการณ์บางอย่างเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เรื่องใหญ่ที่สุดคือ การที่พบว่า มีผู้โดยสารติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มอีก 41 คน"

ในบรรดาผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้มีเพื่อนของซัลลีและเดวิดหนึ่งคนรวมอยู่ด้วย เขาเป็นชายชาวอังกฤษ "ซึ่งได้ถูกจับแยกจากภรรยา ขณะที่ทั้งคู่อยู่ระหว่างการฮันนีมูน"

"เขากำลังถูกส่งตัวไปศูนย์การแพทย์ ขณะที่ [ภรรยา] จะยังต้องอยู่บนเรือต่อไป" เดวิด กล่าว

คนบนเรือสำราญ เล่าความเป็นอยู่ขณะถูกกักกันโรค

 

ตรวจวัด...ในระหว่างนั้น มีการส่งอุปกรณ์การแพทย์ขึ้นมาบนเรือ

"เราได้รับหน้ากากและถุงมือ" เดวิด เล่า "ดังนั้น ถ้าเราออกไปข้างนอก เราจะสวมมัน ผมคิดว่า เป็นการระวังไว้ก่อน โดยเฉพาะถ้าคุณจะต้องสัมผัสกับราวจับบนเรือ หรืออะไรแบบนั้น"

เดวิด บอกว่า ผู้โดยสารได้รับการร้องขอให้ตรวจวัดอุณหภูมิของตัวเองเป็นประจำ ขณะที่เขาพูดคุยกับบีบีซีอยู่ เขาก็ตรวจวัดอุณหภูมิของตัวเองไปด้วย

"ได้เวลาแล้ว มาดูกันว่า ปรอทจะวัดได้เท่าไหร่...โอ้ 36.6 องศาเซลเซียส ต่ำกว่าระดับปกติ 0.5 องศาเซลเซียส หมายความว่ายังไงกันนี่"

"ผมไม่กังวล" เขากล่าว "แต่ ถ้ามันเป็น 38 องศาเซลเซียส หรือ 39 องศาเซลเซียส ผมก็คงจะกังวลแน่ ๆ"  "เราได้รับแจ้งว่า วันที่ 19 ก.พ. นี้ จะมีการตรวจหาเชื้ออีกครั้ง" เดวิด กล่าว

"เราได้จองเที่ยวบินไว้แล้ว [เพื่อกลับบ้านในสหราชอาณาจักร] และนั่นทำให้เราต้องยกเลิก เรายังไม่รู้ว่า เราจะได้รับอนุญาตให้ออกจากเรือเมื่อไหร่" เขากล่าว


คนบนเรือสำราญ เล่าความเป็นอยู่ขณะถูกกักกันโรค


มีเรือสำราญลำอื่นได้รับผลกระทบอีกไหม
เรื่องที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมล่องเรือสำราญ ก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา การติดเชื้อไวรัสโนโร (norovirus) ซึ่งทำให้มีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดสำหรับผู้ประกอบการเรือสำราญ

ตอนนี้มีเรือสำราญอีกหลายลำ ได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่งจากความกังวลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา

เรือ เอ็มเอส เวสเตอร์ดัม (MS Westerdam) ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือ 2,257 คน เผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก หลังจากที่ถูกหลายประเทศและดินแดนปฏิเสธไม่ให้เข้าจอดเทียบท่า ทั้งญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาะกวมของสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ และไทย ทั้งที่ผู้ประกอบการ (ฮอลแลนด์ อเมริกา) ยืนยันว่า ไม่มีใครบนเรือติดเชื้อไวรัสดังกล่าว

ตอนนี้เรือลำนี้ จอดอยู่ในอ่าวไทย และทางฮอลแลนด์ อเมริกา ระบุว่า เรือจะเดินทางไปถึงเมืองสีหนุวิลล์ของกัมพูชาเวลา 7.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น วันพฤหัสบดีที่ 13 ก.พ. และจะจอดเทียบท่าที่นั่นนานหลายวันเพื่อให้คนทยอยลงจากเรือ แขกจะสามารถขึ้นฝั่งได้ ก่อนจะเดินทางออกจากสีหนุวิลล์ด้วยเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังกรุงพนมเปญ เพื่อเดินทางกลับบ้านของตัวเองต่อไป โดยทางบริษัทจะจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินให้ทั้งหมด รวมถึงคืนเงินค่าล่องเรือด้วย

ในสหรัฐฯ เรือแอนเธม ออฟ เดอะ ซีส์(Anthem of the Seas) จอดเทียบท่าอยู่ที่นิวเจอร์ซีย์ (ห่างจากนครนิวยอร์กราว 20 กม.) เป็นเวลา 2-3 วันแล้ว เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง แต่เรือจะออกเดินทางอีกครั้งในวันจันทร์ หลังจากการตรวจพบว่า ไม่มีผู้ใดติดเชื้อ

ฟิล เมอร์ฟี ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์ ระบุว่า พวกเขาอยากจะตรวจผู้โดยสาร "ที่เพิ่งเดินทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงเวลาไม่นานนี้"

กรณีคล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นที่อิตาลี ซึ่งผู้โดยสารและลูกเรือ 7,000 คน บนเรือ คอสตา สเมอราลดา (Costa Smeralda) ถูกกักตัวไว้บนเรือที่เมืองชีวิทาเวกเกีย (Civitavecchia) ทางเหนือของกรุงโรม จนกระทั่งทางการอนุญาตให้ขึ้นฝั่งได้

ส่วนในฮ่องกง เรือ เวิลด์ ดรีม (World Dream) พร้อมด้วยผู้โดยสารและลูกเรือ 3,600 คน ถูกกักกันโรคนาน 4 วัน ท่ามกลางความกังวลว่า พนักงานบางส่วนอาจจะติดเชื้อไวรัสโคโรนาจากการล่องเรือก่อนหน้า แต่ในที่สุด พวกเขาก็ได้รับอนุญาตให้ออกจากเรือได้ในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากผลการตรวจหาเชื้อเป็นลบ

คนบนเรือสำราญ เล่าความเป็นอยู่ขณะถูกกักกันโรค

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี BBC NEWS


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์