ถึงคราวเอาคืน? ศาลจีนมีคำสั่ง ห้าม แอปเปิล ขาย ไอโฟน
คำตัดสินของศาลจีน ที่ออกมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ถือเป็นการสั่งห้ามขายโทรศัพท์มือถือของแอปเปิล หรือ ไอโฟน ในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นครั้งแรก โดยการสั่งห้ามครั้งนี้ เจาะจงไปที่โทรศัพท์รุ่นเก่าของแอปเปิลเท่านั้น ได้แก่ ไอโฟนเท็น, 8, 7 และ 6 แต่ไม่ส่งผลกระทบกับรุ่นใหม่ที่ออกมาในปีนี้ อย่าง ไอโฟนเท็นเอส, เท็นเอสแม็กซ์ และ เท็นอาร์ เนื่องจากโทรศัพท์รุ่นเหล่านี้ ไม่ได้อยู่ในตลาดขณะที่มีการยื่นฟ้องการละเมิขสิทธิบัตร
ยังไม่แน่ชัดว่าคำสั่งของศาลจะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ แอปเปิลได้ทยอยหยุดจำหน่าย รุ่น 6เอส, 6เอสพลัส และ เท็น แล้วทั่วโลก อย่างไรก็ตาม วันจันทร์ที่ผ่านมา เว็บไซต์แอปเปิลในจีนยังมีการขาย รุ่น 7 และ 8 อยู่ แอปเปิลกล่าวว่าโทรศัพท์ทั้งหมดของบริษัทนั้นจะยังมีการขายอยู่ในจีน และบริษัทวางแผยที่จะยื่นอุทธรณ์
"ความพยายามในการห้ามการขายสินค้าของเราเป็นอีกหนึ่งการเคลื่อนไหวที่เข้าตาจนของควอลคอมม์ บริษัทที่กำลังถูกตรวจสอบจากผู้รักษากฏหมายทั่วโลกเรื่องการกระทำที่ผิดกฏหมาย" แอปเปิล ออกมาแถลงในวันจันทร์ที่ผ่านมาจีนเป็นตลาดอันดับที่ 5 ที่สร้างรายได้ให้กับ แอปเปิล ต่อปี อาร์บีซี แคปปิตอล มาร์เก็ต (RBC Capital Markets)ออกมาประเมิณเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า โทรศัพท์รุ่นเก่าของแอปเปิลนับเป็นร้อยละ 40 ของยอดขายในจีน และการสั่งห้ามขายครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อแอปเปิลเป็นมูลค่าประมาณ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3.9 แสนล้านบาท
ทั้งสองบริษัทออกมายืนยันว่าได้รับการแจ้งคำตัดสินของศาลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยควอลคอมม์บอกว่า คิตัดสินของศาลลงวันที่ 30 พฤศจิกายน ซึ่งคือ 1 วันก่อนหน้าที่จะมีการจับกุม 'เมิ่งหว่านโจว' รองประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่การเงิน (CFO) ของบริษัทหัวเว่ย บุตรสาวของ 'เหรินเจิ้งเฟย' ประธานและผู้ก่อตั้งบริษัทหัวเว่ย
ทิโมธี อาคูรี นักวิเคราะห์ในธนาคารเพื่อการลงทุน ยูบีเอส (the investment bank UBS) กล่าวว่า ช่วงเวลาในการตัดสินก่อให้เกิดความเป็นไปได้ถึงความเกี่ยวข้องกับสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ นายทิโมธีกล่าวต่อไปว่า บริษัท ควอลคอมม์อยู่ในกระบวนการของการตรวจสอบสิทธิบัตรถึง 23 ใบในจีนเป็นเวลาร่วมหนึ่งปี แต่นี่เป็นคำตัดสินแรกที่เอื้อประโยชน์ให้กับควอลคอมม์ในบรรดาสิทธิบัตรเหล่านั้น
"ช่วงเวลาดูน่าสงสัยผิดปกติ นี่เป็นวิธีการที่สะดวกมากวิธีการหนึ่งในการนำแอปเปิลเข้ามาในการต่อสู้ครั้งนี้ เหมือนกับที่รัฐบาลสหรัฐฯ ทำกับหัวเว่ย" นายทิโมธี กล่าว
แอปเปิลและควอลคอมม์นั้นผลัดกันฟ้องร้องในศาลทั่วโลกเป็นมูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือหลายแสนล้านบาท โดยต่างฝ่ายต่างก็ผลัดกันแพ้ละชนะในชั้นศาล
ในปี 2560 แอปเปิลยื่นฟ้องควอลคอมม์ที่ไม่ยอมจ่ายค่าสิทธิในการใส่ชิปในไอโฟน ควอลคอมม์หยุดการจ่ายเงินให้กับไอโฟนหลังสหภาพยุโรปเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ ภายหลัง ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรป มีคำสั่งให้ ควอลคอมม์ จ่ายค่าปรับให้แอปเปิลเป็นเงิน 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3.9 หมื่นล้านบาท
แอปเปิลและควอลคอมม์ยังยื่นฟ้องร้องกันในเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรอีกหลายใบ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า แอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรของควอลคอมม์ในด้านเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ และในเดือนกรกฏาคม ควอลคอมม์ประกาศยุติการใส่โมเด็มในไอโฟน โดยหลังประกาศออกไปยอดคาดประมาณกำไรล่วงหน้าของควอลคอมม์ตกลงอย่างมีนัยสำคัญCr:: voicetv