ลูกสาวผู้ก่อตั้งหัวเว่ย ถูกจับที่สหรัฐ ตั้งข้อหาฉ้อโกง
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวรอบโลก ลูกสาวผู้ก่อตั้งหัวเว่ย ถูกจับที่สหรัฐ ตั้งข้อหาฉ้อโกง
ศาลแคนาดา อ่านคำพิจารณาคดีกรณีการจับกุมนางเมิ่ง หว่านโจว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินบริษัท หัวเว่ย บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีน และลูกสาวของผู้ก่อตั้ง โดยตั้งข้อหาฉ้อโกงจากพฤติกรรมการตั้งบริษัทขึ้นมาบังหน้าเพื่อลักลอบทำธุรกิจกับอิหร่าน
นางเมิ่ง หว่านโจว ถูกจับกุมที่นครแวนคูเวอร์ของแคนาดาและอยู่ระหว่างกระบวนการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากถูกกล่าวหาว่า ละเมิดมาตรการคว่ำบาตรห้ามทำการค้ากับอิหร่านของสหรัฐฯ ขณะที่ทางการจีน เรียกร้องให้ปล่อยตัวนางเมิ่ง และยืนยันว่าเธอไม่ได้ละเมิดกฎหมายใด ๆ
ศาลใช้เวลาในการอ่านคำพิจารณาคดีราว 5 ชั่วโมง ก่อนแจ้งข้อหาแก่นางเมิ่ง แต่การพิจารณาการให้ประกันตัวถูกเลื่อนออกไปในวันจันทร์หน้า
การควบคุมตัวลูกสาวผู้ก่อตั้งหัวเว่ย เป็นที่รับรู้แก่สาธารณะเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ในระยะแรกยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของการจับกุมเนื่องจากนางเมิ่ง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลไม่ให้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่ในเวลาต่อมาศาลได้เพิกถอนคำร้องดังกล่าว
การพิจารณาคดีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ศาลสูงสุดแห่งบริติชโคลัมเบีย ในแคนาดา อ่านพฤติการณ์ความผิดว่า นางเมิ่ง ผู้บริหารหัวเว่ย ได้ตั้งบริษัทย่อยของหัวเว่ยที่ชื่อ สกายคอม ขึ้นมา เพื่อทำการค้ากับอิหร่าน ซึ่งเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ โดยเหตุเกิดในช่วงระหว่างปี 2009-2014
ศาลยังระบุอีกว่า นางเมิ่งได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อสาธารณะว่า บริษัทสกายคอม ไม่มีความเกี่ยวข้องกับหัวเว่ย พร้อมระบุว่า หากศาลพิพากษาว่ามีความผิด นางเมิ่งอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดเป็นเวลาถึง 30 ปี ในสหรัฐฯ
ด้านอัยการแห่งรัฐของแคนาดา ระบุว่านางเมิ่งถูกกล่าวหาว่า กระทำการสมคบคิดฉ้อโกงด้วยการตั้งบริษัทมาบังหน้าหลายกรณี แต่เธอได้ปฏิเสธต่อธนาคารสหรัฐฯ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทสกายคอม และหัวเว่ย แต่ในความเป็นจริงแล้ว "สกายคอม ก็คือ หัวเว่ย" ส่วนการให้ประกันตัวนางเมิ่ง อัยการระบุว่า ศาลอาจไม่อนุญาตให้ประกันตัว เนื่องจากเกรงว่าจะมีการหลบหนี
นางเมิ่ง หว่านโจว ถูกจับกุมที่นครแวนคูเวอร์ของแคนาดาและอยู่ระหว่างกระบวนการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากถูกกล่าวหาว่า ละเมิดมาตรการคว่ำบาตรห้ามทำการค้ากับอิหร่านของสหรัฐฯ ขณะที่ทางการจีน เรียกร้องให้ปล่อยตัวนางเมิ่ง และยืนยันว่าเธอไม่ได้ละเมิดกฎหมายใด ๆ
ศาลใช้เวลาในการอ่านคำพิจารณาคดีราว 5 ชั่วโมง ก่อนแจ้งข้อหาแก่นางเมิ่ง แต่การพิจารณาการให้ประกันตัวถูกเลื่อนออกไปในวันจันทร์หน้า
การควบคุมตัวลูกสาวผู้ก่อตั้งหัวเว่ย เป็นที่รับรู้แก่สาธารณะเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ในระยะแรกยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของการจับกุมเนื่องจากนางเมิ่ง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลไม่ให้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่ในเวลาต่อมาศาลได้เพิกถอนคำร้องดังกล่าว
การพิจารณาคดีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ศาลสูงสุดแห่งบริติชโคลัมเบีย ในแคนาดา อ่านพฤติการณ์ความผิดว่า นางเมิ่ง ผู้บริหารหัวเว่ย ได้ตั้งบริษัทย่อยของหัวเว่ยที่ชื่อ สกายคอม ขึ้นมา เพื่อทำการค้ากับอิหร่าน ซึ่งเป็นการละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ โดยเหตุเกิดในช่วงระหว่างปี 2009-2014
ศาลยังระบุอีกว่า นางเมิ่งได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อสาธารณะว่า บริษัทสกายคอม ไม่มีความเกี่ยวข้องกับหัวเว่ย พร้อมระบุว่า หากศาลพิพากษาว่ามีความผิด นางเมิ่งอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดเป็นเวลาถึง 30 ปี ในสหรัฐฯ
ด้านอัยการแห่งรัฐของแคนาดา ระบุว่านางเมิ่งถูกกล่าวหาว่า กระทำการสมคบคิดฉ้อโกงด้วยการตั้งบริษัทมาบังหน้าหลายกรณี แต่เธอได้ปฏิเสธต่อธนาคารสหรัฐฯ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทสกายคอม และหัวเว่ย แต่ในความเป็นจริงแล้ว "สกายคอม ก็คือ หัวเว่ย" ส่วนการให้ประกันตัวนางเมิ่ง อัยการระบุว่า ศาลอาจไม่อนุญาตให้ประกันตัว เนื่องจากเกรงว่าจะมีการหลบหนี
ทำไมการจับกุมผู้บริหารหัวเว่ย จึงสำคัญ ?
กล่าวได้ว่า การจับกุมผู้บริหารคนสำคัญของหัวเว่ย และยังเป็นลูกสาวผู้ก่อตั้ง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ได้ทำให้ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีมากขึ้น แม้ว่าทั้งสองชาติจะเพิ่งมีข้อตกลงระงับสงครามการค้าชั่วคราวในการประชุม จี 20 เลื่อนการใช้มาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าระหว่างกันออกไปอีก 90 วัน เมื่อสัปดาห์ก่อนก็ตาม
หัวเว่ย เป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคม ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์ไร้สาย เมื่อเร็ว ๆ นี้ หัวเว่ย เพิ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดแซงหน้าแอปเปิล และเป็นรองก็แต่ซัมซุง
คริสเทีย ฟรีแลนด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของแคนาดา กล่าวยืนยันว่า
ได้ให้ความเชื่อมั่นกับฝ่ายจีนว่ากระบวนการทางกฎหมายจะถูกติดตามในทุกขั้นตอน และนางเมิ่งสามารถเข้าถึงสิทธิ์ทางกระบวนการกงสุลทุกประการระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
"แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้หลักนิติรัฐ และเราทำตามกระบวนการ กฎหมาย และข้อตกลงสนธิสัญญาต่าง ๆ" นอกจากนี้เธอยังกล่าวย้ำถึงคำพูดของนายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ที่ระบุว่า การจับกุมนางเมิ่ง "ไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง"
กล่าวได้ว่า การจับกุมผู้บริหารคนสำคัญของหัวเว่ย และยังเป็นลูกสาวผู้ก่อตั้ง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ได้ทำให้ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีมากขึ้น แม้ว่าทั้งสองชาติจะเพิ่งมีข้อตกลงระงับสงครามการค้าชั่วคราวในการประชุม จี 20 เลื่อนการใช้มาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าระหว่างกันออกไปอีก 90 วัน เมื่อสัปดาห์ก่อนก็ตาม
หัวเว่ย เป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคม ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์ไร้สาย เมื่อเร็ว ๆ นี้ หัวเว่ย เพิ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดแซงหน้าแอปเปิล และเป็นรองก็แต่ซัมซุง
คริสเทีย ฟรีแลนด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของแคนาดา กล่าวยืนยันว่า
ได้ให้ความเชื่อมั่นกับฝ่ายจีนว่ากระบวนการทางกฎหมายจะถูกติดตามในทุกขั้นตอน และนางเมิ่งสามารถเข้าถึงสิทธิ์ทางกระบวนการกงสุลทุกประการระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
"แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้หลักนิติรัฐ และเราทำตามกระบวนการ กฎหมาย และข้อตกลงสนธิสัญญาต่าง ๆ" นอกจากนี้เธอยังกล่าวย้ำถึงคำพูดของนายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ที่ระบุว่า การจับกุมนางเมิ่ง "ไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง"
อะไรคือ มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ได้เริ่มมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านรอบใหม่ หลังจากมาตรการเคยมีผลไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ที่มหาอำนาจหลายประเทศลงนามร่วมกับอิหร่านเมื่อปี 2015
มาตรการคว่ำบาตรครั้งล่าสุด ได้สร้างผลกระทบต่อธุรกิจส่งออกน้ำมัน การเดินเรือ และภาคการเงินการธนาคาร ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอิหร่าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เคยกล่าวไว้ว่า สหรัฐฯ จะมุ่งเป้าไปยังบริษัทหรือองค์กรใดก็ตามที่ละเมิดมาตรการคว่ำบาตรนี้
Cr:: BBC THAI
เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ได้เริ่มมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านรอบใหม่ หลังจากมาตรการเคยมีผลไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ที่มหาอำนาจหลายประเทศลงนามร่วมกับอิหร่านเมื่อปี 2015
มาตรการคว่ำบาตรครั้งล่าสุด ได้สร้างผลกระทบต่อธุรกิจส่งออกน้ำมัน การเดินเรือ และภาคการเงินการธนาคาร ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอิหร่าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เคยกล่าวไว้ว่า สหรัฐฯ จะมุ่งเป้าไปยังบริษัทหรือองค์กรใดก็ตามที่ละเมิดมาตรการคว่ำบาตรนี้
Cr:: BBC THAI
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น