จีนเตือน!! “เกาหลีเหนือ” ถ้าทดสอบนิวเคลียร์อีก ดินถล่ม-กัมมันตภาพรังสีฟุ้งแน่นอน!!
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวรอบโลก จีนเตือน!! “เกาหลีเหนือ” ถ้าทดสอบนิวเคลียร์อีก ดินถล่ม-กัมมันตภาพรังสีฟุ้งแน่นอน!!
เมื่อวันที่ 29 ต.ค. บีบีซีรายงานว่า นายเจมส์ แม็ตทิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ซึ่งเดินทางไปประชุมหารือด้านความมั่นคงประจำปีที่ประเทศเกาหลีใต้ ระบุถึงวิกฤตคาบสมุทรเกาหลีว่ากำลังมีแนวโน้มเลวร้ายลง พร้อมเตือนเกาหลีเหนือว่าจะต้องเผชิญกับการตอบโต้ทางทหารอย่างท่วมท้นหากเกาหลีเหนือตัดสินใจนำอาวุธนิวเคลียร์มาใช้โจมตี พร้อมย้ำว่าสหรัฐจะไม่มีวันยอมรับเกาหลีเหนือเป็นมหาอำนาจอาวุธนิวเคลียร์ ส่วนผู้เชี่ยวชาญจีนเตือนเกาหลีเหนือว่าหากทดสอบระเบิดนิวเคลียร์อีกครั้งที่หุบเขาในหมู่บ้านปุงเก-รี ใกล้ชายแดนจีน อาจทำให้แผ่นดินยุบตัวและรังสีฟุ้งกระจาย
นายแม็ตทิส กล่าวว่า "เกาหลีเหนือกำลังทำให้สถานการณ์ภัยคุกคามเลวร้ายลงในภูมิภาคและต่อประชาคมโลก ผ่านการทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป หรือไอซีบีเอ็ม และการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ที่ผิดระเบียบนานาชาติ และไม่มีความจำเป็น ส่งผลให้ความร่วมมือทางทหารระหว่างสหรัฐกับเกาหลีใต้นั้นได้รับการยกระดับขึ้นสู่สภาวะฉุกเฉิน
วันเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาของจีนเตือนเกาหลีเหนือว่าหุบเขาในหมู่บ้านปุงเก-รี ซึ่งเกาหลีเหนือใช้เป็นสถานที่ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่ 6 เสี่ยงต่อการยุบตัวหากเกาหลีเหนือทดสอบระเบิดดังกล่าวซ้ำอีก โดยจะส่งผลให้กัมมันตภาพรังสีฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณและลุกลามเข้ามาในประเทศจีน เนื่องจากสถานที่ทดสอบอยู่ห่างจากชายแดนจีนไปเพียง 80 กิโลเมตร
คำเตือนดังกล่าวของผู้เชี่ยวชาญจีนได้รับการรายงานผ่าน เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ สื่อท้องถิ่นของจีน ระบุว่าการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลให้พื้นที่หุบเขาดังกล่าวอยู่ในสภาวะอ่อนไหว เนื่องจากระเบิดมีความรุนแรงเป็น 7 เท่าของระเบิดนิวเคลียร์ที่สหรัฐเคยใช้โจมตีจังหวัดฮิโรชิมะ ของจักวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า หากเกาหลีเหนือทดสอบระเบิดดังกล่าวที่เดิมอีกอาจส่งผลให้ภูเขาในพื้นที่เกิดการพังทลายและยุบตัว ทำให้กัมมันตภาพรังสีจากระเบิกฟุ้งกระจายไปทั่วพื้นที่และส่งผลกระทบต่อจีนด้วย
ที่มา : ข่าวสด
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น