แพทย์ชาวอเมริกันติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นคนที่ 3 ด้านยูเอ็นหวั่นเกิดภาวะขาดแคลนอาหารในพื้นที่ระบาด
ได้ชื่อเป็นชาวอเมริกันสองคนแรก ที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ขณะปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกรุงมอนโรเวีย เมื่อเดือนกรกฎาคม และถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลในเมืองแอตแลนต้า ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผู้ป่วยอีโบลา ได้รับการรักษาที่สหรัฐ และออกจากโรงพยาบาลแล้วเมื่อสองสัปดาห์ก่อน แต่ไม่มีการเปิดเผยว่าแพทย์ที่ป่วยล่าสุดจะถูกส่งตัวไปยังสหรัฐหรือไม่
เมื่อเดือนมีนาคม ด้านกลุ่มแพทย์ไร้พรมแดน หรือ MSF ระบุว่า โลกกำลังพ่ายแพ้ในการต่อสู้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของอีโบลา ขณะที่สหประชาชาติ เตือนว่า จะเกิดภาวะขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงในประเทศที่เผชิญการระบาดของไวรัส
และเรียกร้องให้รีบรับมืออย่างเร่งด่วนต่อหายนะทางชีววิทยาของโลก ทั้งในเรื่องการบรรเทาทุกข์และบุคลากรต่อแอฟริกาตะวันตก โดยโจแอน ลิว ประธาน MSF อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า ในช่วง 6 เดือน ที่นำไปสู่การระบาดที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของอีโบลา โลกได้พ่ายแพ้ในการยับยั้ง บรรดาผู้นำต่างล้มเหลวในการรับมือกับไวรัสอันตรายข้ามชาติชนิดนี้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ประกาศเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมว่า การระบาดของอีโบลา เป็นความวิตกด้านสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ แต่กลับไม่มีการตัดสินใจเพื่อดำเนินการที่แตกหักใด ๆ ที่มีรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ เป็นหลัก
ท่ามกลางความวิตกว่า อาจจะต้องใช้เวลาอีก 6-9 เดือน และค่าใช้จ่ายอีกอย่างน้อย 490 ล้านดอลล่าร์ ในการควบคุมการระบาดของโรค ซึ่งขณะนั้นจะมีผู้ติดเชื้อสูงถึงกว่า 2 หมื่นคน ส่วนองค์การอาหารและเกษตรกรรมของสหประชาชาติ ได้เตือนว่า การจำกัดการเคลื่อนย้ายในกินี, ไลบีเรียและเซียร่า เลโอน จะนำไปสู่ความตื่นตระหนกในการซื้ออาหาร, การขาดแคลนอาหารและราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น