ดูหมูมีเอว เลี้ยงแบบคอกบังเกอร์ ที่อุบล

ดูหมูมีเอว เลี้ยงแบบคอกบังเกอร์ ที่อุบล


"เลี้ยงหมูให้มีเอว เนื้อเยอะ ไขมันน้อย"



มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีเมื่อวันก่อนกับคุณสุวิทย์ สิงหจันทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์

และคุณสามารถ ภู่ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฯ

อดีตหัวหน้าโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดูงานในพื้นที่หลายรายการหนึ่งในนั้นก็คือการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีเลี้ยงหมูแบบคอกบังเกอร์

ในตอนแรกก็คิดว่าน่าจะมีอะไร

ที่ไม่แตกต่างกันกับการส่งเสริมการเลี้ยงขององค์กรอื่น ๆ ที่ ผ่านมา แต่เมื่อถึงสถานที่ก็อดแปลกใจไม่ได้ที่พบว่า หมูที่นี่สมบูรณ์แลดูสะอาดแถมปราดเปรียวสดชื่นอันต่างจากหมูที่เลี้ยงดูในสภาพทั่ว ๆ ไป

พิจารณาชั่วครู่ก็พบอีกว่าหมูที่นี่มีเอว

คือสามารถมองเห็นเอวอย่างมีทรวดทรงชัดเจนทีเดียว ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่า หมูที่นี่ต้องมีไขมันน้อย ขณะที่การให้เนื้อแดงดีแถมเป็นเนื้อที่มีกล้ามทะมัดทะแมงแข็งแรงดีเยี่ยมทีเดียว

แน่นอนว่า หากหมูที่ผ่านการเลี้ยงดู

จนรูปร่างเป็นดังที่กล่าวมานี้ก็ย่อมที่จะเป็นการพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมได้ว่า หมูที่นี่จะไม่มีไขมันส่วนเกินให้มาเป็นปัญหากับผู้บริโภคที่คำนึงถึงด้านสุขภาพอย่างแน่นอน


ดูหมูมีเอว เลี้ยงแบบคอกบังเกอร์ ที่อุบล



สอบถามผู้เกี่ยวข้องถึงลักษณะการเลี้ยงเช่นนี้

ว่ามีความเป็นมาและดำเนินการอย่างไร ก็ได้รับคำตอบว่าเป็นการเลี้ยงแบบใหม่ที่มีเป้าหมายเพื่อสุขภาพของหมูก่อนที่จะมาเป็นอาหารของคนเราซึ่งก็คือเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคนั่นเอง และเรียกการเลี้ยงหมูแบบนี้ว่า การเลี้ยงหมูแบบคอกบังเกอร์

ลักษณะของการเลี้ยงหมูแบบคอกบังเกอร์นี้

เดิมทีทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ ให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานีทำการ ศึกษา โดยมีเงื่อนไขอยู่ 5 ประการ คือ สร้างคอก แบบง่าย ๆ ราคาถูก ไม่มีกลิ่น

และมลพิษจากการเลี้ยง

เนื้อมีคุณภาพ ขายได้ง่าย ราคาสูง อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว และมีปุ๋ยคอกสำหรับเป็นอาหารพืชและปรับปรุงดิน หลังทำความเข้าใจได้ลงตัวของส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโครงการก็ดำเนินการ

และได้รับข้อสรุปเมื่อเสร็จสิ้นโครงการศึกษาวิจัย

เป็นผลที่น่าพึงพอใจ จากนั้นก็มีการขยายผลนำมาดำเนินการในพื้นที่ของเกษตรกรหลายแห่งด้วยกันในขณะนี้

จากการสังเกตในวันที่มีโอกาสเข้าไปดูงานนั้น

พบว่าสภาพคอกที่เลี้ยงแลดูธรรมดา สร้างขึ้นมาตามวัสดุที่สามารถหาได้ในพื้นที่ ขบวนการจัดการคอกก็เป็นไปแบบเรียบง่าย มีการใช้กระสอบทรายจัด วางรอบ ๆ เป็นบังเกอร์


ดูหมูมีเอว เลี้ยงแบบคอกบังเกอร์ ที่อุบล



มีโรงเรือนจากแฝกมีรางให้อาหาร

มีระบบท่อให้น้ำที่หมูสามารถดูดกินได้ตลอดเวลา มีการรองพื้นด้วยวัสดุธรรมชาติที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นมีการใช้อีเอ็ม เพื่อการช่วยย่อยสลายของเสียที่หมูขับถ่ายออกมา

สอบถามผู้เลี้ยงเพิ่มเติมว่าทำไมหมูที่เลี้ยงเช่นนี้

จึงมีการให้เนื้อดีมีไขมันน้อย ก็ ได้รับคำตอบว่า หมูมีความสุขกับชีวิตความเป็นอยู่ ในคอกแบบนี้ มีการเดินเล่นออกกำลังกายภายใน คอก วัสดุรองคอกก็ไม่สร้างปัญหาด้าน สุขภาพของหมู การถ่ายเทอากาศดี

หมูจึงไม่เครียดและสามารถออกกำลังตามธรรมชาติ

ได้ตลอดเวลา มีการดุนขุดหาบริเวณพื้นคอกตลอดเวลา จึงทำให้ ร่างกายมีกล้ามเนื้อมากกว่าไขมัน อันเป็นเนื้อหมูที่ผู้บริโภคมีความต้องการอย่างมากในขณะนี้

สอบถามไปทางผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์

กฟผ. ถึงความคืบหน้าของโครงการ ก็ได้รับคำตอบว่า ณ เวลานี้มีเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลฯได้แสดงความจำนงขอเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้เห็นด้วยตัวเองว่าสามารถให้ผลประโยชน์อย่างคุ้มทุน

และคุ้มค่าต่อตนเองและครอบครัว

ส่วนทาง กฟผ.นั้นไม่คาดหวังอะไรมากนักจากเกษตรกรในพื้นที่นอกจากต้องการเห็นเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เดือดร้อน โดยที่การประกอบอาชีพ


ดูหมูมีเอว เลี้ยงแบบคอกบังเกอร์ ที่อุบล



นั้นไม่ได้ทำลายสิ่งแวดล้อมและก่อปัญหาด้านมลพิษ

ให้กับชุมชน ก็เป็นที่น่ายินดีและภาคภูมิใจของ กฟผ. แล้ว จึงได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาวิจัย และเมื่อผลสรุปออกมาแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ก็จะนำมาขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป

ส่วนท่านที่สนใจในกรรมวิธีและขบวนการบริหารจัดการ

เพื่อเลี้ยงหมูให้มีเอวแล้วขายได้ราคาดีดังที่กล่าวมาข้างต้นของการเลี้ยงหมูแบบคอกบังเกอร์ โอกาสหน้าจะนำมาเปิดเผยให้ได้รับทราบนะครับ.



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์