ตะลึง! พบรอยเท้าสัตว์ดึกดำบรรพ์กลางป่าก๋อย

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


อบต.ยางเปียงเตรียมเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่



ตำบลยางเปียง เดิมอยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอฮอด ราษฎรส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอฮอดในปัจจุบัน

เพื่อหาที่ราบลุ่มในการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม

เมื่อพบที่ราบซึ่งเป็นเนินที่อยู่ปัจจุบันเห็นว่าเหมาะสมดี จึงได้หยุดพักตั้งถิ่นฐานขึ้นโดยใช้ชื่อว่า ยั้งเปียง จนกระทั่งได้มีการจัดตั้งอำเภอแยกออกมาจากอำเภอฮอด เป็นกิ่งอำเภออมก๋อย ในปี พ.ศ.2473

ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภออมก๋อย

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2501 และตำบลยางเปียงจึงเป็นตำบลหนึ่งที่อยู่ภายใต้การปกครองของอำเภออมก๋อย สภาพทั่วไปของตำบล เป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีเนื้อที่ 302,077.65 ไร่ พื้นที่น้ำ 1,517.97 ไร่

อาณาเขตตำบล ทิศเหนือ ติดกับ ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

ทิศใต้ ติดกับ ต.แม่ตื่น ต.ม่อนจอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ทิศตะวันออก ติดกับ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ทิศตะวันตก ติดกับ ต.สบโขง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ จำนวนประชากรของตำบล จำนวนประชากรในเขต อบต. 8,041 คน

และจำนวนหลังคาเรือน 2,092 หลังคาเรือน

ข้อมูลอาชีพของตำบล อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่อาชีพเสริม เลี้ยงหมู และเลี้ยงสัตว์ทั่วไป


ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



นายเรืองฤทธิ์ โทนแก้ว เลขานุการนายกองค์การ

บริหารส่วนตำบลยางเปียง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ทางอบต.โดยการนำของนายอนันต์ อินต๊ะเรือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางเปียง ได้เข้าไปสำรวจป่าเขตพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอำเภออมก๋อย

ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ อบต.ยางเปียง

โดยพื้นที่ดังกล่าวต้องนั่งรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อจาก ถนนสายอมก๋อย-แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ กิโลเมตรที่ 21 เลี้ยวซ้ายไปตามห้วยโปงปาง ต.ยางเปียง อ.อมก๋อย จ.เชียง ใหม่

สภาพถนนเป็นหินขรุขระสลับเนินระยะทาง

กว่า 7-8 กิโลเมตร จากนั้นเป็นช่วงที่รถยนต์ไม่สามารถเดินทางเข้าไปได้ เดินขึ้นภูเขาที่มีความลาดชันอีกกว่า 2 กิโลเมตรจึงไปถึง

เมื่อขึ้นไปถึงพบบริเวณลานกว้าง

ที่มีขนาดพื้นที่กว้างกว่า 1,000 ไร่ มีหินน้อยใหญ่เรียงรายสวยงาม และมีรูปทรงที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ยังมีผนังหินย้อยนั่งชมความงามด้านติดภูเขาได้อีกด้วย โดยลานหินโบราณนอกจากจะมีหินน้อยใหญ่รูปทรงแตกต่างกันไป

หลากหลายสีสันแล้วทั้งสีเทา สีน้ำตาล สีดำ

ยังมีลักษณะพิเศษคือมีร่องรอยเท้าสัตว์หลากหลายชนิดประทับอยู่ทั่วไปหมด โดยเป็นรอยกีบของวัว ควาย หรือกระทิง รอยกีบขนาดเล็กของเก้ง กวางป่า รอยเท้าของหมูป่า


ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต



รวมไปถึงรอยเท้าของเสือที่มีอุ้งเท้า

ที่มีขนาดมหึมายาวกว่าครึ่งฟุต โดยทุกรอยมีขนาดที่ใหญ่มากจนชาวคณะที่ไปต้องเกิดอาการตกตะลึง และลงความเห็นว่าน่าจะเป็นสัตว์ป่าดึกดำบรรพ์ที่ไม่สามารถพบเห็นได้แล้ว ซึ่งทาง อบต.ยางเปียง

มีมติว่าจะพัฒนาสถานที่ดังกล่าว

ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ เมื่อโครงการนี้สำเร็จจะส่งผลดีต่อประชาชนในพื้นที่สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ต่อไป

ทางด้าน รศ.พงษ์พอ อาสนจินดา

หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ก่อนที่ดินจะเป็นหินนั้น เกิดจากดินตะกอนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำไหลมาทับถมกันอาจใช้เวลาเป็นหมื่นหรือแสนปีจึงกลายเป็นหิน

รอยเหยียบย่ำของสัตว์ที่มีนั้น

อาจเกิดจากการเหยียบในตะกอนดังกล่าวในขณะที่เป็นดินตะกอนที่ยังคงมีความเปียกอยู่ทำให้เห็นรอยได้ชัดเจน แล้วอาจมีตะกอนหรือดินมาทับถมบังไว้เวลาผ่านเกิดการพัดพาเอาตะกอนหรือดินผิวหน้าที่ปกปิดอยู่หลุดลอยไป

หรือถูกชะล้างไป หรืออาจเกิดจากการ

ยกตัวของผืนดินเผยให้เห็นการสร้างสรรค์ของธรรมชาติร่องรอยเท้าสัตว์ขึ้นมาก็ได้ ซึ่งอายุต่าง ๆเหล่านี้ต้องตรวจสภาพของตะกอนดินให้แน่ชัดอีกครั้งว่าอยู่ในปีใดต้องมีการสำรวจกันอีกครั้งหนึ่ง

นับได้ว่าเราได้พบสถานที่ท่องเที่ยว

ตามธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภออมก๋อย ซึ่งเป็นสถานที่ที่น่าสนใจและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รอวันและเวลาที่ทุกฝ่ายจะร่วมมือกันพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาท่องเที่ยวในดินแดนแห่งขุนเขาอำเภออมก๋อยแห่งนี้.



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์