‘ปฏิรูป’ ข้อเสนอการเมืองของยิ่งลักษณ์ ชะลอขัดแย้ง-ลดเผชิญหน้า-เลี่ยงปะทะ
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง ‘ปฏิรูป’ ข้อเสนอการเมืองของยิ่งลักษณ์ ชะลอขัดแย้ง-ลดเผชิญหน้า-เลี่ยงปะทะ
ที่ใครต่อใครคิดกันว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 7 สิงหาคมนี้
สถานการณ์การเมืองจะขัดแย้งถึงขั้นกลายเป็นความรุนแรงนั้น คงไม่น่าจะเกิดขึ้น แม้ในวันดังกล่าวจะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ วรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และคณะเป็นผู้เสนอ
พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะแกนนำฝ่ายค้านชัดเจนแล้วว่าจะทำหน้าที่ “ผู้แทนปวงชนชาวไทย” ในสภาทุกวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย จนกระทั่งถึงการพิจารณาในวาระ 3 จบ
ลงเมื่อไหร่แล้วร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ชัดเจนว่าไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนแต่เพื่อ “คนบางคน” เท่านั้น
สัญญาณ “เป่านกหวีดยาว” อย่างที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ถึงจะเกิดขึ้น
ขณะที่องค์การพิทักษ์สยาม ที่บัดนี้ “รีแบรนด์” ใหม่มาในชื่อว่า “กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ” ก็ประกาศจะชุมนุมในวันที่ 4 สิงหาคม ที่ลานพระรูปรัชกาลที่ 6 สวนลุมพินี เพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ “นอกเหนือ” จาก 3 เขตที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง เข้ามาควบคุมดูแล
อย่างที่รู้ ๆ กัน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นระเบิดเวลาลูกหนึ่งเท่านั้น และการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในวาระที่ 1 นั้นก็เป็นแค่การเริ่มต้น ยังต้องผ่านอีก 2 วาระ และยังต้อง
เข้าที่ประชุมวุฒิสภา ฉะนั้นโอกาสที่จะใช้ “เสียงข้างมาก” ลากกฎหมายที่หมกเม็ดในท่ามกลางที่สังคมจับตาคงเป็นเรื่องที่น่าจะยากแล้ว
ข้อเสนอ “ยุบสภา” ที่ วรชัย ได้แสดงความเห็นออกมาน่าจะเป็นการส่งสัญญาณขู่ ส.ส. ในสภาซึ่งยังไม่หายเหนื่อยจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ทั้ง ๆ ที่หากดูปัจจัยการเมือง หลายต่อหลายเรื่องเป็นความได้เปรียบที่รัฐบาลก็ยังไม่ได้ลงมือทำ ไม่ว่าจะเป็นร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 57 ที่ต้องผ่านก่อนสิ้นปีงบประมาณในเดือนกันยายนนี้ พ.ร.บ.งบประมาณ มีนัยความสำคัญทางการเมืองอยู่ตรงที่ “งบกลาง” วงเงินหลายหมื่นบาทที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการบริหารจัดการ หรือในกรณีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ทหารและตำรวจ
นอกจากนี้ ระเบิดเวลาอย่างร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นอีกเรื่องที่รัฐบาลปรารถนาจะให้เกิดขึ้น ทันทีที่ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผ่านวาระ 1 รัฐบาลจะซื้อใจ “มวลชนคนเสื้อแดง” ได้อีกครั้งหลังจากสร้างความผิดหวัง “สับขาหลอก” ทางการเมืองไปมา เมื่อถึงตอนนั้นการสนับ สนุนให้รัฐบาลเดินหน้าผ่านร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกอ้างว่าต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิป ไตยจะเดินหน้าทันที
ไม่ใช่เรื่องง่ายในระเบิดเวลา 2 ลูกที่ว่า เพราะแม้รัฐบาลจะมีเสียข้างมาก แต่ในกรณีของ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนั้นถูกตั้งข้อสังเกตว่า ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งหมดจะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลพยายามปูพื้นฐานมานานแล้วว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางรัฐบาลพรรค หรือในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะเลือกเอาเฉพาะการแก้ไข “ที่มาของ ส.ว.”
การระบุว่า ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ฟังดูเหมือนเป็นประชาธิปไตย แต่หากดูโครงสร้างสังคมการเมืองในปัจจุบัน ฝ่ายที่ได้เปรียบจากการเลือกตั้ง ส.ส. ก็จะได้เปรียบในการเลือกตั้ง ส.ว. ตามไปด้วย
อย่าลืมว่า ส.ว. หรือวุฒิสภา คือกระบวนการอันหนึ่งของการได้มาซึ่งองค์กรอิสระทางการเมืองที่มีหน้าที่ “ตรวจสอบ” การใช้อำนาจรัฐ หาก “ยึดกุม” เสียงข้างมากได้ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. โอกาสจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตก็จะง่ายและสะดวกอย่างยิ่งแต่ในท่ามกลางสถานการณ์ที่เริ่มเดินมาถึง “จุดขัดแย้ง” รัฐบาลพรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่มี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คอยกำหนดทิศทางอยู่เบื้องหลัง ก็เลือกที่จะยื่นข้อเสนอใหม่เพื่อลดความร้อนแรงของการเผชิญหน้าด้วยการเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทุกกลุ่มทุกสี มาพูดคุยเพื่อหาทางออกในการ “ปฏิรูปการเมือง” ร่วมกัน
อันที่จริงข้อเสนอดังกล่าวควรเกิดขึ้นนับตั้งแต่การเป็นรัฐบาลใหม่ ๆ ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทางหนึ่งก็มองได้ว่าเป็นความพยายามเพื่อลดหรือชะลอความขัดแย้งทางการเมือง “รอบใหม่” แต่อีกทางก็ปฏิเสธได้ยากว่า ในสถานการณ์ที่รัฐบาลกำลังเดินหน้า “ถอดชนวน” ระเบิดเวลา รัฐบาลก็เลือกที่จะสร้างความสนใจใหม่มากลบความสนใจเก่า
ไม่เคยมีมาก่อนที่จะมีการพูดเรื่องการ “ปฏิรูปการเมือง” ในขณะที่ลงมือทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่
ดังนั้น การปฏิรูปการเมืองจึงเป็นเรื่อง “นามธรรม” ที่ยากจะเกิดขึ้นในเวลาอันสั้นนี้ แม้จะได้รับการตอบรับจากทุกฝ่าย แต่นานไปสภาพก็จะไม่แตกต่างจากที่เคยมีการเชิญทุกฝ่ายมาร่วมวงเพื่อสร้างความปรองดอง แต่จนแล้วจนรอดแม้สังคมไทยจะอยากให้เกิดขึ้น แต่จนป่านนี้ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าไปถึงไหน
บางคนบอกว่า ถ้าจะปฏิรูปการเมืองนั้นง่ายนิดเดียว ก็แค่ ปฏิรูปนักการเมือง เท่านั้นก็จบ
ต้องไม่ลืมว่า สถานการณ์ทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ ในขณะที่การเมืองเริ่มนิ่ง เศรษฐกิจก็เดินหน้า แต่หากการเมืองเคลื่อนไหวจนนำไปสู่ “ปัจจัยเสี่ยง” เศรษฐกิจก็จะหยุดชะงัก
ขณะที่ทุกฝ่ายกำลังเน้นความสนใจไปที่การเมือง เรื่องปัญหาเศรษฐกิจระดับปากท้องก็เป็นอีกเรื่องที่จะทำให้การเมืองกระเพื่อมแรงขึ้นได้ สินค้าราคาสูง โครงการรับจำนำข้าวที่ใช้เงินงบประมาณไปหลายแสนล้านบาท ราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น สภาพที่เงินออมน้อยลงแต่เป็นหนี้มากขึ้น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จึงยังไม่ใช่ความขัดแย้งแบบ “แตกหัก” แต่น่าจะเป็นการ “บ่มเพาะ” สถานการณ์เพื่อถ่วงดุลทางการเมืองกับรัฐบาลมากกว่า
เพราะนับวันจะเริ่มปรากฏความต้องการที่แท้จริงของรัฐบาล ออกมามากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ทำอะไรเพื่อใครกันแน่
ข้อเสนอของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ จึงไม่น่าจะใช่การ “ชักฟืนออกจากไฟ” แต่เป็นเพียงการ “ไม่เร่งกระพือลม” เพื่อ “โหมแรงไฟ” ก็เท่านั้นเอง.
พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะแกนนำฝ่ายค้านชัดเจนแล้วว่าจะทำหน้าที่ “ผู้แทนปวงชนชาวไทย” ในสภาทุกวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย จนกระทั่งถึงการพิจารณาในวาระ 3 จบ
ลงเมื่อไหร่แล้วร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ชัดเจนว่าไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนแต่เพื่อ “คนบางคน” เท่านั้น
สัญญาณ “เป่านกหวีดยาว” อย่างที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ถึงจะเกิดขึ้น
ขณะที่องค์การพิทักษ์สยาม ที่บัดนี้ “รีแบรนด์” ใหม่มาในชื่อว่า “กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ” ก็ประกาศจะชุมนุมในวันที่ 4 สิงหาคม ที่ลานพระรูปรัชกาลที่ 6 สวนลุมพินี เพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ “นอกเหนือ” จาก 3 เขตที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง เข้ามาควบคุมดูแล
อย่างที่รู้ ๆ กัน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นระเบิดเวลาลูกหนึ่งเท่านั้น และการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในวาระที่ 1 นั้นก็เป็นแค่การเริ่มต้น ยังต้องผ่านอีก 2 วาระ และยังต้อง
เข้าที่ประชุมวุฒิสภา ฉะนั้นโอกาสที่จะใช้ “เสียงข้างมาก” ลากกฎหมายที่หมกเม็ดในท่ามกลางที่สังคมจับตาคงเป็นเรื่องที่น่าจะยากแล้ว
ข้อเสนอ “ยุบสภา” ที่ วรชัย ได้แสดงความเห็นออกมาน่าจะเป็นการส่งสัญญาณขู่ ส.ส. ในสภาซึ่งยังไม่หายเหนื่อยจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ทั้ง ๆ ที่หากดูปัจจัยการเมือง หลายต่อหลายเรื่องเป็นความได้เปรียบที่รัฐบาลก็ยังไม่ได้ลงมือทำ ไม่ว่าจะเป็นร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 57 ที่ต้องผ่านก่อนสิ้นปีงบประมาณในเดือนกันยายนนี้ พ.ร.บ.งบประมาณ มีนัยความสำคัญทางการเมืองอยู่ตรงที่ “งบกลาง” วงเงินหลายหมื่นบาทที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการบริหารจัดการ หรือในกรณีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ทหารและตำรวจ
นอกจากนี้ ระเบิดเวลาอย่างร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นอีกเรื่องที่รัฐบาลปรารถนาจะให้เกิดขึ้น ทันทีที่ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผ่านวาระ 1 รัฐบาลจะซื้อใจ “มวลชนคนเสื้อแดง” ได้อีกครั้งหลังจากสร้างความผิดหวัง “สับขาหลอก” ทางการเมืองไปมา เมื่อถึงตอนนั้นการสนับ สนุนให้รัฐบาลเดินหน้าผ่านร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกอ้างว่าต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิป ไตยจะเดินหน้าทันที
ไม่ใช่เรื่องง่ายในระเบิดเวลา 2 ลูกที่ว่า เพราะแม้รัฐบาลจะมีเสียข้างมาก แต่ในกรณีของ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนั้นถูกตั้งข้อสังเกตว่า ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งหมดจะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลพยายามปูพื้นฐานมานานแล้วว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางรัฐบาลพรรค หรือในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะเลือกเอาเฉพาะการแก้ไข “ที่มาของ ส.ว.”
การระบุว่า ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ฟังดูเหมือนเป็นประชาธิปไตย แต่หากดูโครงสร้างสังคมการเมืองในปัจจุบัน ฝ่ายที่ได้เปรียบจากการเลือกตั้ง ส.ส. ก็จะได้เปรียบในการเลือกตั้ง ส.ว. ตามไปด้วย
อย่าลืมว่า ส.ว. หรือวุฒิสภา คือกระบวนการอันหนึ่งของการได้มาซึ่งองค์กรอิสระทางการเมืองที่มีหน้าที่ “ตรวจสอบ” การใช้อำนาจรัฐ หาก “ยึดกุม” เสียงข้างมากได้ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. โอกาสจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตก็จะง่ายและสะดวกอย่างยิ่งแต่ในท่ามกลางสถานการณ์ที่เริ่มเดินมาถึง “จุดขัดแย้ง” รัฐบาลพรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่มี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คอยกำหนดทิศทางอยู่เบื้องหลัง ก็เลือกที่จะยื่นข้อเสนอใหม่เพื่อลดความร้อนแรงของการเผชิญหน้าด้วยการเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทุกกลุ่มทุกสี มาพูดคุยเพื่อหาทางออกในการ “ปฏิรูปการเมือง” ร่วมกัน
อันที่จริงข้อเสนอดังกล่าวควรเกิดขึ้นนับตั้งแต่การเป็นรัฐบาลใหม่ ๆ ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทางหนึ่งก็มองได้ว่าเป็นความพยายามเพื่อลดหรือชะลอความขัดแย้งทางการเมือง “รอบใหม่” แต่อีกทางก็ปฏิเสธได้ยากว่า ในสถานการณ์ที่รัฐบาลกำลังเดินหน้า “ถอดชนวน” ระเบิดเวลา รัฐบาลก็เลือกที่จะสร้างความสนใจใหม่มากลบความสนใจเก่า
ไม่เคยมีมาก่อนที่จะมีการพูดเรื่องการ “ปฏิรูปการเมือง” ในขณะที่ลงมือทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่
ดังนั้น การปฏิรูปการเมืองจึงเป็นเรื่อง “นามธรรม” ที่ยากจะเกิดขึ้นในเวลาอันสั้นนี้ แม้จะได้รับการตอบรับจากทุกฝ่าย แต่นานไปสภาพก็จะไม่แตกต่างจากที่เคยมีการเชิญทุกฝ่ายมาร่วมวงเพื่อสร้างความปรองดอง แต่จนแล้วจนรอดแม้สังคมไทยจะอยากให้เกิดขึ้น แต่จนป่านนี้ก็ยังไม่สามารถเดินหน้าไปถึงไหน
บางคนบอกว่า ถ้าจะปฏิรูปการเมืองนั้นง่ายนิดเดียว ก็แค่ ปฏิรูปนักการเมือง เท่านั้นก็จบ
ต้องไม่ลืมว่า สถานการณ์ทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ ในขณะที่การเมืองเริ่มนิ่ง เศรษฐกิจก็เดินหน้า แต่หากการเมืองเคลื่อนไหวจนนำไปสู่ “ปัจจัยเสี่ยง” เศรษฐกิจก็จะหยุดชะงัก
ขณะที่ทุกฝ่ายกำลังเน้นความสนใจไปที่การเมือง เรื่องปัญหาเศรษฐกิจระดับปากท้องก็เป็นอีกเรื่องที่จะทำให้การเมืองกระเพื่อมแรงขึ้นได้ สินค้าราคาสูง โครงการรับจำนำข้าวที่ใช้เงินงบประมาณไปหลายแสนล้านบาท ราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น สภาพที่เงินออมน้อยลงแต่เป็นหนี้มากขึ้น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จึงยังไม่ใช่ความขัดแย้งแบบ “แตกหัก” แต่น่าจะเป็นการ “บ่มเพาะ” สถานการณ์เพื่อถ่วงดุลทางการเมืองกับรัฐบาลมากกว่า
เพราะนับวันจะเริ่มปรากฏความต้องการที่แท้จริงของรัฐบาล ออกมามากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ทำอะไรเพื่อใครกันแน่
ข้อเสนอของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ จึงไม่น่าจะใช่การ “ชักฟืนออกจากไฟ” แต่เป็นเพียงการ “ไม่เร่งกระพือลม” เพื่อ “โหมแรงไฟ” ก็เท่านั้นเอง.