เอเอฟพี - เพิร์กเผยผลสำรวจ ชี้ความเสี่ยงในไทยทะยานลิ่ว จากปัญหาการเมืองภายในยืดเยื้อ รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดความไม่สงบทางสังคม ขณะที่สิงคโปร์ขึ้นแท่นอันดับ 1 เศรษฐกิจมีความเสี่ยงน้อยที่สุด ด้านอินโดนีเซียรั้งท้ายตารางเศรษฐกิจมีความเสี่ยงสูงสุดในเอเชีย
เพิร์ก ชี้ ปัญหาการเมืองยืดเยื้อเป็นเหตุความเสี่ยงในไทยทะยานลิ่ว
บริษัทที่มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและการเมือง (เพิร์ก) เปิดเผย
บริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและการเมือง (เพิร์ก) เปิดเผยผลการจัดอันดับ 14 ประเทศในเอเชียฉบับล่าสุดวันนี้ (13) เสริมอีกว่า "สภาวการณ์ต่างๆในไทยมีแนวโน้มจะเสื่อมถอยลงอีกในปี 2007"
"ไทยเป็นประเทศที่นักลงทุนต่างชาติอาจพากันจับตามองอย่างใกล้ชิดมากที่สุดต่อไปอีกหลายเดือน เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวที่อาจเป็นภัยเสี่ยงต่อธุรกิจ" เพิร์กกล่าว
ผลสำรวจชิ้นนี้จะให้คะแนนจากดี-เลว ด้วยการให้แต้ม 0-10 โดยแดนลอดช่องได้คะแนนโดยรวมดีที่สุดในเอเชียอยู่ที่ 2.74 แต้ม นำหน้าญี่ปุ่นซึ่งมีคะแนนเป็นอันดับ 2 รวม 3.13
อย่างไรก็ตาม
แม้สิงคโปร์จะมีคะแนนต่ำกว่าออสเตรเลียซึ่งมีคะแนน 2.69 แต้ม แต่ก็ยังสูงกว่าแต้ม 3.15 คะแนนของสหรัฐฯ ทั้งนี้ เหตุที่เพิร์กได้นำออสเตรเลียและสหรัฐฯเข้ามาพิจารณารวมในผลสำรวจชาติเอเชีย เพื่อเป็นพื้นฐานในการเปรียบเทียบข้อมูลเท่านั้น
เมื่อตัด 2 ประเทศนี้ออกจากการพิจารณา ฮ่องกงได้คะแนนมาเป็นอันดับ 3ไล่หลังญี่ปุ่นด้วยคะแนน 3.33 ขณะที่อันดับรองๆลงมา คือมาเลเซีย (4.66) ไต้หวัน (4.76) เกาหลีใต้ (4.78) และเวียดนาม (5.36)
ส่วนจีน (5.44) ได้อันดับ 8 ตามมาคือไทย (5.49) ฟิลิปปินส์ (5.74) อินเดีย (6.24) และสุดท้ายคืออินโดนีเซีย (6.79)
ผลสำรวจฉบับนี้เป็นการจัดอันดับความเสี่ยงด้านต่างๆของแต่ละประเทศ โดยพิจารณาจากสภาวะการเมืองภายในประเทศ ความไร้เสถียรภาพทางสังคม สถาบันต่างๆ รวมไปถึงทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยทางกายภาพไปจนถึงพัฒนาการภายนอกประเทศ นำมาเฉลี่ยเป็นคะแนนโดยรวม
อย่างไรก็ตาม
แม้สิงคโปร์จะมีคะแนนนำในภาพรวม ทว่า ปัจจัยพิจารณาด้านการเมืองภายในประเทศ "ถดถอยลงเล็กน้อย" เมื่อเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเกิดภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ ปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้นด้วย
แนวโน้มที่สิงคโปร์จะตกอยู่ในสภาพเสี่ยงภัยจากพัฒนาการภายนอกนั้น เป็นสาเหตุมาจากการที่ภาคบริษัทของแดนลอดช่องขยายธุรกิจในตลาดต่างประเทศซึ่งมีความเสี่ยงสูง เกินกว่าอำนาจการควบคุมจัดการของรัฐบาลสิงคโปร์
"เห็นได้จากกรณีการเข้าไปลงทุนในบริษัทชินคอร์ปของเทมาเส็ก ส่งผลให้สิงคโปร์ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดปัญหาใหม่ๆด้านเศรษฐกิจและการทูต" เพิร์กกล่าว
ขอขอบคุณ
ข้อมูลที่มีคุณภาพ
จาก หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ