ที่ประชุม กกร. ย้ำชัดไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ระบุควรเป็นไปตามกลไกไตรภาคีและกลไกตลาด ขู่หากขึ้นจริงอาจมีบางอุตสาหกรรมต้องปลดพนักงาน ...
เมื่อวันที่ 20 ก.ค. นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. นัดพิเศษ เพื่อพิจารณาผลกระทบจากนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ของรัฐบาลชุดใหม่ว่า ภาคเอกชนเห็นความสำคัญของแรงงาน โดยเฉพาะความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต แต่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้ผู้ประกอบการ แรงงาน และประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล กกร. จึงยังคงยืนยันข้อเสนอเดิม คือ ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ เพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำควรเป็นไปตามกลไกตลาด และเป็นไปตามกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง และหากรัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน รัฐบาลก็ควรหาแนวทางจ่ายส่วนต่างของค่าจ้างดังกล่าว โดยเมื่อมีรัฐบาลใหม่ กกร. ก็จะยื่นข้อเสนอดังกล่าวในทันที
ประธาน ส.อ.ท. กล่าวต่อว่า ยังมีหลายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ อาหาร อัญมณี เฟอร์นิเจอร์ และรองเท้า ซึ่งจากการสำรวจผลกระทบการปรับขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวันจากผู้ประกอบการในภาพรวม พบว่า ร้อยละ 60-70 จะมีผลกระทบปานกลางถึงมาก และยังพบว่า ร้อยละ 85 ของผู้ประกอบการระบุว่า อาจจำเป็นต้องปลดคนงาน ออกร้อยละ 15 นอกจากนี้ การปรับขึ้นค่าแรงในระดับดังกล่าว จะกระทบต้นทุนจนผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับราคาสินค้าขึ้นอีกร้อยละ 10
ด้าน นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กังวลกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งเอกชนเห็นด้วยกับการปรับค่าแรงขั้นต่ำ แต่ควรดำเนินการในระดับที่เหมาะสม เพราะในระยะสั้น ธุรกิจของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็ก หรือ SME จะได้รับผลกระทบอย่างมากต่อการปรับค่าจ้าง และผู้ประกอบการส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ไม่สามารถที่จะแบกรับภาระต้นทุนดังกล่าวได้ ส่วนระยะยาวจะทำให้ค่าจ้างแรงงานของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ จากปัจจุบันที่มีเงินลงทุนประมาณ 300,000-400,000 ล้านบาท หากปรับขึ้นค่าแรงในอัตราดังกล่าว อาจทำให้นักลงทุนตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านแทน อย่างเช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และทำให้เงินลงทุนของไทยหายไปถึงร้อยละ 25 หรือประมาณ 100,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ยังทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น กระทบมายังราคาสินค้าที่จะปรับตัวสูงขึ้นตาม
เอกชนขู่ขึ้นค่าแรง300บ. อาจปลดแรงงานบางอุตสาหกรรม
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง เอกชนขู่ขึ้นค่าแรง300บ. อาจปลดแรงงานบางอุตสาหกรรม
นาย พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!