ยังทูลเกล้าไม่ได้ รธน.ผ่าน แต่รอศาลวินิจฉัย


ยังทูลเกล้าไม่ได้ รธน.ผ่าน แต่รอศาลวินิจฉัย

"พท."ยื่นตีความ ทำผิดข้อบังคับ ชัยบอกใบ้ 18กพ. จับตา"ยุบ-ไม่ยุบ" มาร์คชี้"แค่มาฆะ"



รธน.ผ่านโหวตวาระ 3 คะแนนเสียงท่วมท้น แต่ยังนำขึ้นทูลเกล้าฯไม่ได้ เพื่อไทยจับมือส.ว.ยื่นประธานรัฐสภาส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยระบุทำผิดข้อบังคับ ประธานชัยทำเมินไม่รับหนังสือคำร้อง แต่เลขาธิการรัฐสภายอมรับฝ่ายค้านได้ยื่นไว้แล้วตั้งแต่บ่าย 3 โมงก่อนปิดประชุม เตรียมทำหนังสือแจ้งนายกฯชะลอนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย "ชัย ชิดชอบ"บอกใบ้ให้จับตาวันที่ 18 ก.พ.ยุบสภาหรือไม่ ด้านอภิสิทธิ์ปัดทันควันอ้างวันดังกล่าวแค่มาฆบูชาเท่านั้น ประธานส.ส.ภูมิใจไทยแจงแทนอ้างประธานชัยแค่พูดเล่นกับสื่อ

"ชัย"บอกใบ้-ให้จับตา18ก.พ.

เวลา 08.30 น. วันที่ 11 ก.พ. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวรัฐบาลไปล็อบบี้เสียงส.ว. เพื่อให้เสียงผ่านเกินกึ่งหนึ่งว่า ไม่จริง ตนไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น หน้าที่ของรัฐบาลเสร็จตั้งแต่รัฐสภารับหลักการไปแล้ว ส่วนการพิจารณาวาระ 2 รัฐบาล ก็ยืนยันตามร่างเดิมที่เสนอ สุดท้ายเป็นเรื่องของสมาชิกที่มีอิสระตัดสินใจ ซึ่งประเทศไทยมีข่าวลือสารพัด จะให้ตนไปแก้ข่าวลือคงทำไม่ได้

เมื่อถามว่าหากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระ 3 รัฐบาล จะไปพูดคุยกับแกนนำพรรคร่วม เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งทันทีหรือไม่ เพราะนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ระบุควรชะลอไว้ก่อน นายสุเทพ กล่าวว่า นายบรรหาร อาจมองอีกมุมหนึ่ง แต่ยังไม่ถึงจังหวะที่ต้องไปปรึกษาหารือกันเรื่องนี้ เมื่อเงื่อนไขทุกอย่างสมบูรณ์ตามที่นายกฯ กำหนดไว้ ตนมีหน้าที่ต้องไปพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาล

เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมร่วมรัฐสภา ถึงเงื่อนไขการยุบสภาจะไม่มีผล หากฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจว่า ขอให้รอฟังวันที่ 18 ก.พ. เมื่อถามว่าวันที่ 18 ก.พ. มีนัยยะอะไร ฝ่ายค้านได้ส่งสัญญาณอะไรหรือไม่ นายชัยกล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล แต่ขอให้รอดูวันที่ 18 ก.พ.

"เสธ.หนั่น"ยันโหวตสวนอีก

นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี กล่าวถึงการโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ว่า ผ่านแน่นอนและผ่านได้อย่างสบาย ส.ว.ที่ยกมือให้ในวาระ 2 ต้องยืนยันตามนั้น คงไม่มีใครกล้าเปลี่ยนแปลง แต่ตนยังยืนยันสนับสนุนสูตร 400+100 เหมือนเดิม ส่วนข่าวล็อบบี้ ส.ว. แลกผลประโยชน์นั้น ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครติดต่อตนให้โหวตสนับสนุน คงเป็นแค่ข่าว ส่วนเรื่องยุบสภา ไม่มีอะไรแน่นอน วันก่อนนายกฯ บอกจะยุบหลังแก้รัฐธรรมนูญเสร็จ แต่พอใกล้วันก็บอกว่ายังไม่ยุบในเวลานี้ ที่ผ่านมานายกฯ ไม่ได้พูดชัดว่าจะยุบเมื่อไหร่คิดว่าเวลาที่จะยุบสภา นายกฯ คงไม่บอกใคร คงนิ่งๆ แล้วยุบเลย

พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกฯ และประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า จะไม่โหวตสนับสุนนร่างรัฐธรรมนูญสูตร 375+125 ซึ่งพรรคร่วมรัฐบาลรู้แล้ว เพราะตนเดินมาตั้งแต่เป็นกรรมาธิการ จะให้ตนเปลี่ยนคงไม่ได้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับพรรค ยืนยันไม่เกิดความคลางแคลงใจ และตนไม่เห็นว่านายกฯ หรือพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งพรรคร่วมจะว่าอะไรตน เพราะตนมีเหตุผล และนายบรรหาร ก็ไม่ได้ขอร้องอะไร เพราะให้อิสระกับ อีกทั้งนายบรรหารทราบเหตุผลดี

ผู้สื่อข่าวถามว่ามีข่าวว่าปัญหาการโหวตรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จะทำให้ตัดสินใจย้ายไปอยู่กับพรรคภูมิใจไทย พล.ต.สนั่น กล่าวด้วยน้ำเสียงแปลกใจว่า อย่างนั้นเลยหรือ แม้แต่ฝันตนก็ยังไม่เคยฝัน เพราะไม่เคยคุยกัน และพรรคภูมิใจไทยคงไม่รับตน เนื่องจากแก่แล้ว หากตนย้ายพรรคเรื่อยๆ คงแย่ ตนยังอยู่พรรคชาติไทยพัฒนา และไม่เคยคิดจะไปไหน ตนสู้มานานแล้ว รู้อะไรดีไม่ดี ดังนั้นอย่าห่วงตน ห่วงว่าทำปรองดองได้สำเร็จหรือไม่ และขอให้ช่วยกัน อนาคตทางการเมืองของตนไม่มีแล้ว มีแต่จะทำให้คนในชาติรักกันไว้

บุญจงโต้ข่าวหนั่นย้ายซบภท.

พล.ต.สนั่น กล่าวว่า หากเลือกตั้งตามสูตร 375+125 ก็ไม่ส่งกระทบต่อฐานเสียงภาคเหนือตอนล่าง แต่จะทำให้ส.ส.พิจิตรลดไป 1 คน ตนคงไม่หารือกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังและเลขาธิการพรรครวมชาติพัฒนา และนายไพฑูรย์ แก้วทอง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ในการแบ่งพื้นที่ คงต้องสู้กัน ซึ่งตนจะยึดหมด ส่วนแนวทางการทำงานร่วมกับนายประดิษฐ์ และนายไพฑูรย์นั้น ขณะนี้แยกกันไปอยู่ 3 พรรค แต่หากกลับมารวมกันได้ก็ดี

เมื่อถามว่าจะดึงนายประดิษฐ์ เข้าพรรคชาติไทยพัฒนาหรือไม่ พล.ต.สนั่น กล่าวติดตลกว่า โลกคือละคร ตนไม่ได้เคลื่อนไหวหาคนเข้าร่วมพรรคเพิ่ม การเลือกตั้งครั้งหน้าคิดว่าพรรคไม่ต้องการเสียงเพิ่มมาก เพราะถ้ามีเสียงมาก การบังคับบัญชาก็ลำบาก เราเอาแค่พออยู่พอกิน

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ปฏิเสธว่าไม่เคยทราบข่าวว่าพล.ต.สนั่น จะย้ายเข้าพรรคภูมิใจไทย แต่หากใครสนใจจะมาร่วมงาน ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคก็ไม่ปิดกั้น

ชทพ.ยัน"หนั่น"มั่นคงกับ"เติ้ง"

ที่พรรคชาติไทยพัฒนา นายวัชระ กรรณิ การ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงข่าวพล.ต.สนั่น จะย้ายไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทยว่า ไม่ทราบว่าข่าวนี้มาได้อย่างไร ความสัมพันธ์ของพล.ต.สนั่นกับพรรคยังแนบแน่น เชื่อว่าไม่มีสัญญาณใดๆ ที่จะทำให้พล.ต.สนั่น ย้ายพรรค ข่าวนี้ไร้สาระ ห่างจากข้อเท็จจริง เท่าที่คุยกับพล.ต.สนั่น บอกว่ามีความสุขกับพรรค และยังมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค โดยยังเข้าร่วมประชุมพรรคและเตรียมการระดมทุนให้พรรค พล.ต.สนั่น ยังบอกด้วยว่าในการเลือกตั้งครั้งหน้าพรรคตั้งเป้าให้ได้ส.ส. 30-50 เสียง โดยจะดึงบุคคลมีชื่อเสียงเข้าพรรค เพียงแต่ต้องรอสัญญาณการยุบสภาก่อนถึงจะเปิดตัวได้

นายวัชระ กล่าวว่า พรรคไม่มีแนวคิดซื้อตัวส.ส.เข้าพรรคด้วยเงินหลายสิบล้านบาท แต่พรรคจะหาสมาชิกพรรคที่มีแนวทางตรงกับพรรคมากกว่า และในการเลือกตั้งครั้งหน้าพรรคยืนยันที่จะชูนายชุมพล ศิลปอาชา หัว หน้าพรรค เป็นนายกฯ ด้วย

"เหลิม"เชื่อมาร์คไม่ยุบสภา

ด้านร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน และประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ฝ่ายรัฐบาลคงชนะด้วยสูตร 375 + 125 เพราะพรรคร่วมรัฐบาลมีข้อตกลงกันล่วงหน้าแล้ว แต่สาเหตุที่ไม่เห็นด้วยแต่แรก เพราะกลัวไม่ได้รับประโยชน์จากงบประมาณกลางปี 2554 ส่วนกระแสข่าวล็อบบี้ส.ว.โดยทุ่มเงินมหาศาลนั้น มีข่าวมาต่อเนื่องแต่ไม่มีหลักฐาน อย่างไรก็ตาม หลังร่างรัฐธรรมนูญผ่านวาระ 3 เชื่อว่านายกฯคงไม่ยุบสภาเพราะ 2 พรรคร่วมคือภูมิใจไทยและชาติไทยพัฒนาบอกว่าอย่ายุบ เพราะต้องการอยู่ไปถึงเดือนต.ค. ด้วยเหตุผลการเมือง แต่งตั้งข้าราชการเดือนเม.ย. และใช้งบกลางปี 2554 และทำงบประมาณประจำปี 2555 อีกครั้ง แต่เชื่อว่าทำงบประมาณปี 2555 เสร็จเขาไปแน่

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลต้องดูเงื่อนเวลายุบสภาสังกัดพรรคด้วย เพราะใช้เวลา 30 วัน แกนนำพรรคร่วมได้เปรียบที่จะเอาสมาชิกมาได้ง่ายในเงื่อนไขเวลาสังกัดพรรค แต่หากอยู่ครบวาระต้องใช้เวลา 90 วัน ระยะเวลายาวนานและเป็นปัญหามากกว่า ตรงนี้คือเหตุผลที่รัฐบาลจะยุบสภาเท่านั้น

ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า รัฐบาลยิ่งอยู่นาน พรรคเพื่อไทยยิ่งได้กำไร รอให้อภิปรายงบประมาณกลางปี 2554 ส่วนอภิปรายไม่ไว้วางใจรอให้นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ไปจัดการ พวกนักรบห้องแอร์วิเคราะห์ผิดหมดที่บอกว่านายกฯจะหนีอภิปรายไม่ไว้วางใจ ความจริงไม่ใช่ เพราะเวทีนี้เป็นโอกาสให้เขาชี้แจง และนายกฯก็เหมือนนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ไม่กลัวเรื่องสภา

เมื่อถามถึงข่าวส.ส.เพื่อไทยภาคเหนือและอีสานจะย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย ร.ต.อ. เฉลิม กล่าวว่า ไม่ทราบจะไปหมิ่นน้ำใจผู้แทนฯไม่ได้ สมมติเขาตัดสินใจออกไปก็มีเหตุผลของเขา ต้องเคารพ ขณะที่ตนไม่มีความคิดจะไป อย่างดีก็หยุดไปเลย

พท.ไม่สังฆกรรมวาระ3

เวลา 13.00 น.ที่รัฐสภา นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน พร้อมคณะส.ส.พรรคเพื่อไทย อาทิ นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. ร่วมแถลงว่า พรรคเพื่อไทยยืนยันจะไม่ร่วมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรม นูญเพิ่มเติม วาระ 3 เนื่องจากเห็นว่าการ พิจารณาร่างแก้ไขในวาระ 2 ที่สมาชิกพรรคเพื่อไทยยื่นญัตติให้พิจารณาว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อบังคับมาตรา 117 และผิดข้อบังคับข้อ 86 ที่ต้องระบุมาตราในร่างแก้ไขด้วย ซึ่งทั้งส.ส.ฝ่ายค้านและส.ว.พยายามทักท้วงว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ประธานรัฐสภากลับไม่ดำเนินการ ดังนั้น ฝ่ายค้านจะติดตามการลงมติในวาระ 3 เพื่อรอให้ความผิดสำเร็จก่อน จึงจะรวบรวมเสียงของสมาชิก 1 ใน 10 ของสภา ยื่นเรื่องถึงประธานรัฐสภา เพื่อส่งศาลรัฐธรรม นูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยข้อบังคับและอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าไม่ผ่านความเห็นชอบ จะหารืออีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

ด้านนายวิชาญ กล่าวว่า มองว่าพรรคประชาธิปัตย์เล่นเกมกับพรรคร่วมรัฐบาล และไม่จริงใจที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีข้อบังคับระบุว่าการแก้ไขเพิ่มเติมต้องระบุมาตราให้ชัดเจน และปล่อยผ่านตั้งแต่แรก จึงตั้งข้อสังเกตว่าพรรคร่วมอาจถูกหลอกให้เห็นด้วย สุดท้ายก็ไม่มีการแก้ไข เพราะหากยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ คงถูกตีตกไป และเข้าทางของพรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้เป็นแบบเดิมคือเขตใหญ่เรียงเบอร์ ส่วนการเสนอแก้ไข 2 มาตรา เพราะรับปากกับพรรคร่วมไว้ว่าจะแก้ไข ทั้งนี้ การยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อพรรคร่วมจะได้ตาส่วางและรู้ธาตุแท้ของพรรคประชาธิปัตย์

สภาโหวตแก้รธน.วาระ3

เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 ในวาระที่ 3 จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ มาตรา 190 ว่าด้วยการทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ และมาตรา 93-98 ว่าด้วยระบบเลือกตั้งส.ส. ในสูตรส.ส.เขตเดียวเบอร์เดียว 375 คน รวมกับส.ส.บัญชีรายชื่อ 125 คน โดยนายชัย แจ้งว่า เป็นการลงมติรายฉบับแบบเปิดเผยด้วยวิธีขานชื่อ ทั้งนี้ นายอิทธิพล เรืองวรบูรณ์ ส.ว.สรรหา ลาออกจากตำแหน่งมีผลวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา ทำให้เหลือส.ว.ทั้งหมด 149 คน ดังนั้น ร่างที่ได้รับความเห็นชอบต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งคือ 313 เสียงจาก 624 เสียง ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 (6) บัญญัติ

จากนั้น นายชัย แจ้งให้ที่ประชุมพิจารณาญัตติที่นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ส.ส.มหาสาร คาม พรรคเพื่อไทย ยื่นญัตติด่วน ขอให้พิจารณาว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดกับข้อบังคับการประชุมข้อ 86 วรรคท้าย ในเรื่องการไม่กำหนดรายมาตราในการแก้ไขให้ชัดเจน โดยนายประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ติดใจและขอถอนญัตติ เพราะนายประสพสุข บุญเดช รองประธานรัฐสภา ได้ใช้อำนาจประธานวินิจฉัยไปแล้วว่าไม่ขัดกับข้อบังคับ

ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา แย้งว่า นายประสพสุขน่าจะวินิจฉัยขัดกับหลักกฎหมาย เพราะข้อบังคับการประชุม ข้อที่ 86 กำหนดแยกกัน คือเหตุผลในการแก้ไข หลักการและเหตุผลต้องกำหนดอย่างชัดแจ้ง การแก้ไขเพิ่มเติมและการยกเลิกมาตราใดต้องระบุไว้ในหลักการ หรือในเหตุผลด้วยก็ได้ แสดงว่าต้องระบุมาตราให้ชัดเจน

วุ่น-ลงมติญัตติผิดข้อบังคับ

นายชัย ได้แจ้งให้ที่ประชุมลงมติว่าเห็นชอบตามญัตติของนายประยุทธ์ ที่ระบุว่าการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับไม่ชอบด้วยข้อบังคับข้อที่ 86 หรือไม่ แต่นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา ประท้วงว่าไม่สามารถลงมติในญัตตินี้ได้ เพราะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยก่อน การบังคับให้ลงมติเท่ากับทำให้สมาชิกรัฐสภาจำนน ขณะที่นายชัย ระบุว่าหากจะส่งศาลรัฐธรรมนูญก็ทำได้ แต่ขอปิดการอภิปราย และให้ที่ประชุมลงมติ ทำให้ที่ประชุมมีมติเห็นตามญัตติของนายประยุทธ์ด้วยคะแนน 230 เสียง ต่อ 302 เสียง งดออกเสียง 51 เสียง ไม่ลงคะแนน 4 เสียง

ทำให้นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา ประท้วงว่า การหามติจากที่ประชุมรัฐสภาจะต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ ดังนั้นเสียงเห็นชอบว่าการแก้ไขรัฐธรรม นูญทั้ง 2 ฉบับเป็นไปตามข้อบังคับข้อ 86 มีเสียงเพียง 302 เสียง ถือว่าไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่ประชุมที่ต้องใช้เสียง 313 เสียง ขณะที่นายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล ระบุว่าเสียงที่สนับสนุนญัตติของนายประยุทธ์ มีเพียง 230 เสียง เท่ากับญัตตินี้ตกไปอยู่แล้ว ดังนั้นจึงประชุมต่อได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุรชัย ได้ประท้วงอีกครั้งโดยระบุว่าถามคำถามไม่ชัดเจน รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ หากผ่านไปอย่างทุกลักทุเลจะทำให้ไม่สง่างาม จึงขอให้ลงมติใหม่อีกครั้งโดยถามคำถามให้ชัดเจนว่า ที่ประชุมเห็นชอบว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ชอบตามข้อบังคับการประชุมข้อที่ 86 หรือไม่

พักประชุม-หารือเครียด3ฝ่าย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นมีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง โดยส.ส.ประชาธิปัตย์ สนับสนุนการทำหน้าที่ของนายชัย ที่วินิจฉัยว่าญัตติของนายประยุทธ์ตกไปถูกต้องแล้ว ขณะที่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ระบุว่า พรรคเพื่อไทยเห็นว่าสิ่งที่ส.ว. ทักท้วงนั้นถูกต้องแล้ว แต่เพื่อรักษาหน้าของประธานและหาทางออก จึงขอให้สั่งพักการประชุมเพื่อหารือกัน ทำให้นายชัยสั่งพักการประชุม 5 นาที จากนั้นจึงเชิญประธานวิปทั้ง 3 ฝ่ายเข้าหารือหลังบัลลังก์

จากนั้นนายชัย ได้เปิดประชุมต่อ แล้วระบุว่า ขอยืนตามคำวินิจฉัยว่ากระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชอบแล้ว แต่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ประท้วงขอให้ทบทวน แล้วระบุว่าการทำอย่างนี้ทำให้สภาเสียหาย ทำให้นายชัย ตวาดกลับว่า "มาหาว่าผมทำสภาเสียหายได้ยังไง คุณนั่นแหละที่พูดให้สภาเสียหาย ต้องถอนคำพูด แล้วนั่งลง ผมไม่ให้พูดอีกแล้ว พูดอย่างนี้เสียชื่อคนเชียงใหม่หมด ถ้าไม่นั่งก็ให้ยืนไปอย่างนั้น ขอให้ดำเนินการประชุมต่อไป ผมรับผิดชอบเอง"

นายสุรพงษ์ จึงประท้วงอีกครั้งว่า การที่ประธานบอกว่ายอมรับผิดคนเดียวจะทำให้สภาเสียหาย หลักเกณฑ์ที่มีมาจะเสียหาย หากยังยืนยันเช่นนี้ ตนก็ร่วมสังฆกรรมด้วยไม่ได้ ขอให้ประธานรัฐสภาคิดใหม่ จะมารับผิดชอบคนเดียวไม่ได้ ขอให้นายกฯถอนร่างกลับไปใหม่ แล้วเสนอกลับมาให้ถูกต้อง เพราะนายกฯคงไม่ยุบสภาในเร็ววันนี้ จากนั้นส.ส.ฝ่ายค้านได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง อาทิ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส. กทม. พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่เห็นด้วยกับที่นายชัยจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา

ชัยงัดคำวินิจฉัย"ประสพสุข"ยัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชัย ได้อ้างคำพูดของนายประสพสุข ที่เคยวินิจฉัยไปแล้วว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับไม่ขัดกับข้อบังคับการประชุมข้อที่ 86 ที่เคยวินิจฉัยไว้เมื่อวันที่ 26 ม.ค. พร้อมระบุว่า ตนเชื่ออดีตผู้พิพากษามากกว่านายทหาร ทำให้นายเรืองไกร ประท้วงว่า อดีตผู้พิพากษาที่นายชัยพูดถึง เคยผิดคำพูดในเรื่องการพิจารณาตัวเองเมื่อดำรงตำแหน่งประธานส.ว.ครบ 1 ปี จึงขอให้พิจารณาให้รอบคอบด้วย แต่นายชัย ยังยืนยันจะดำเนินการประชุมต่อไป โดยได้พิจารณาวาระเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 โดยการขานชื่อ

แต่นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ลุกขึ้นประท้วงอีกครั้ง โดยระบุว่า เมื่อได้มีการประท้วงแล้วประธานไม่รับฟัง ไม่แก้ไข พรรคเพื่อไทยจึงไม่สามารถร่วมพิจารณาต่อด้วยได้ จึงขอออกจากห้องประชุม จากนั้นส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้ทยอยเดินออกจากห้องประชุม ขณะที่นายชัยยังคงดำเนินการประชุมต่อไป

เขตเดียวเบอร์เดียวแบเบอร์

จากนั้นเวลา 12.30 น. นายชัย สั่งลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่บัญญัติให้ต้องมีกฎหมายลูกขึ้นมารองรับการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ในวาระ 3 ด้วยวิธีการขานชื่อ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 397 ต่อ 19 งดออกเสียง 10 ถือว่ารัฐสภามีเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 บัญญัติ ขั้นต่อจากนี้นายกฯ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างแก้ไขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 150 ต่อไป

เวลา 13.45 น. จึงเริ่มลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมฯมาตรา 93-98 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบการเลือกตั้ง มีเนื้อหาสำคัญในการปรับเปลี่ยนจำนวนส.ส. จากแบบแบ่งเขต 400 คน และบัญชีรายชื่อ 80 คน เป็นส.ส.เขต 375 และส.ส.สัดส่วน 125 คน พร้อมทั้งแบ่งเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว และบัญชีรายชื่อใช้เขตใหญ่ทั่วประเทศ ในวาระ 3 ด้วยวิธีการขานชื่อ

ผลปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 347 ต่อ 37 งดออกเสียง 42 เสียง ถือว่ารัฐสภามีเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 บัญญัติ ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้ นายกฯ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 นับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างแก้ไขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 150 ต่อไป จากนั้นนายชัย สั่งปิดประชุมเวลา 15.00 น.

งูเห่าพท.โหวตหนุนตามภท.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงคะแนนในมาตรา 190 แยกเป็นรายพรรค ดังนี้ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วย 169 เสียง งดออกเสียง 1 คน และขาดประชุม 2 คน ที่งดออกเสียงคือน.ส. ปรีชยา ขำเจริญ ส.ส.ราชบุรี ซึ่งแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และงดออกเสียงในการพิจารณาวาระ 2 ที่ผ่านมา ที่ขาดประชุม ได้แก่นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส. สัดส่วน ที่ป่วยรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน แกนนำพันธมิตร ที่ออกมาคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล

สำหรับพรรคเพื่อไทย เห็นชอบ 6 เสียง ขาดประชุม 181 คน เนื่องจากพรรคมีมติวอล์กเอาต์ไม่ร่วมสังฆกรรม ขณะที่ส.ส.ที่เห็นชอบ คือบุคคลที่แสดงตัวจะไปสังกัดพรรคการ เมืองอื่น ประกอบด้วย นายปิยะรัช หมื่นแสน ส.ส.ร้อยเอ็ด นายนที สุทินเผือก ส.ส.สมุทร ปราการ นายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ ส.ส. สัดส่วน นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นคร นายก และนายจิระพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ ส.ส.สมุทรปราการ ที่ประกาศตัวไปอยู่พรรคภูมิใจไทย และนายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ส.ส.สัดส่วน ที่จะย้ายไปอยู่พรรคประชาธิปัตย์

พผ.กลุ่มประชางดออกเสียง

พรรคเพื่อแผ่นดิน เห็นชอบ 26 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง และขาดประชุม 1 คน กลุ่มที่งดออกเสียงเป็นส.ส.ในกลุ่มของพล.ต.อ. ประชา พรหมนอก ส.ส.สัดส่วน ขณะที่นายธีรทัศน์ เตียวเจริญโสภา ส.ส.สุรินทร์ ที่ขาดประชุม เคยประกาศจะกลับมาสังกัดพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งหน้า จึงวอล์กเอาต์ตามมติพรรคเพื่อไทยด้วย

พรรคประชาราช เห็นชอบ 3 คน และขาดประชุม 5 คน กลุ่มที่ขาดประชุมเป็นกลุ่มของนายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.สัดส่วน ที่วอล์ก เอาต์ พร้อมมติพรรคเพื่อไทยเช่นกัน

ในส่วนพรรคร่วมรัฐบาล อาทิ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม พรรคมาติภูมิ ต่างลงมติเห็นชอบทั้งหมด ขาดเพียงนายอัศวิน วิภูศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคชาติไทยพัฒนาที่ป่วยจนไม่สามารถมาประชุมได้

ด้านส.ว. ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 117 เสียง ไม่เห็นชอบ 19 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง และขาดประชุม 8 คน เสียงส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยและขาดประชุม เป็นกลุ่ม 40 ส.ว. อาทิ นายคำนูณ สิทธิสมาน นายไพบูลย์ นิติตะวัน นางรสนา โตสิตระกูล

"ม.93-98"ฉลุย-งูโหวตตามโผ

จากนั้นเวลา 13.50 น. เริ่มการโหวตในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 93-98 ด้วยการขานชื่อเรียงตามตัวอักษร ปรากฏว่าสมาชิกรัฐสภา ให้ความเห็นชอบ 347 ต่อ 37 งดออกเสียง 42 จากการตรวจสอบพบว่าพรรคประชาธิปัตย์ มีส.ส. 172 คน เห็นด้วย 169 งดออกเสียง 1 คือมีน.ส.ปรีชญา ขำเจริญ ส.ส.ราชบุรี ซึ่งเป็นส.ส.เพียงคนที่งดออกเสียงในวาระที่ 2 มาแล้ว และขาดประชุม 2 คน คือ นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส.สัดส่วน ซึ่งป่วยอยู่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ แกนนำพันธ มิตรฯ

พรรคภูมิใจไทย มี ส.ส. 33 คน รับทั้ง 33 คน ไม่มีใครแตกแถว ขณะที่ยังมีส.ส. ที่อยู่พรรคการเมืองอื่นมาลงคะแนนสนับสนุนเหมือนกับการโหวตในวาระ 2 จำนวน 11 คน แยกเป็น จากพรรคเพื่อไทย 6 คน ได้แก่ นายจิรพันธ์ ลิ้มสกุลสิริรัตน์ ส.ส.สมุทรปราการ นายนที สุทินเผือก ส.ส.สมุทรปราการ นายปิยะรัช หมื่นแสน ส.ส.ร้อยเอ็ด นายนิคม เชาวน์กิตติโสภณ ส.ส.สัดส่วน นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก นายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ ส.ส.สัดส่วน

นอกจากนี้ ยังมีส.ส.ไม่สังกัดพรรคอีก 2 คน ได้แก่ นายจุมพฎ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร และ ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร ส.ส.สระบุรี ซึ่งถูกพรรคเพื่อไทยขับออก และยังมี ส.ส.จากพรรคประชาราช อีก 3 คน ได้แก่ นายจักรกฤษณ์ ทองศรี ส.ส.บุรีรัมย์ นางชนากานต์ ยืนยง ส.ส.ปทุมธานี นายติ่งสมชัย เจริญชัยฤทธิ์ ส.ส.นครสวรรค์ ในส่วนนี้ได้ร่วมสนับสนุนตั้งแต่วาระ 1-2 แล้ว

ขณะที่ นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ซึ่งตามารยาทปกติต้องงดออกเสียง แต่นายชัย ใช้สิทธิ์ความเป็นส.ส. อ้างว่าสามารถโหวตสนับสนุนทั้ง 2 ร่างได้ ท่ามกลางความลุ้นระทึกของส.ส.ซีกรัฐบาล

หนั่นโหวตสวน-ลูกตือกลับลำ

ขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนา มีส.ส. 25 คน รับ 20 คน งดออกเสียง 3 คน ได้แก่ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร นายศิริวัตน์ ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร นายพีรเดช ศิริวันสาณฑ์ ส.ส.นครสวรรค์ ทั้ง 3 คน ยังมีจุดยืนเดิมคืองดออกเสียง เหมือนวาระ 2 และขาด 2 คน ได้แก่ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี และนายอัศวิน วิภูศิริ ส.ส.สัดส่วน ไม่ได้เข้าร่วมลงมติ ขณะที่เสียงในกลุ่มนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ทั้งนายภคิน และนายภราดร ปริศนานันทกุล บุตรชาย ที่ก่อนหน้านี้คัดค้านสูตร 375 +125 อย่างหนัก กลับลำหันมาสนับสนุน

ขณะที่พรรคเพื่อแผ่นดิน มีส.ส. 31 คน ปรากฏว่า รับ 26 คน งดออกเสียง 4 คนได้แก่ นายถิรชัย วุฒิธรรม ส.ส.สัดส่วน พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก ส.ส.สัดส่วน น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ส.ส.สัดส่วน น.พ.แวมาฮาดี แวดา โอะ ส.ส.นราธิวาส และขาด 1 คน ได้แก่ นายธีระทัศน์ เตียวโสภา ส.ส.สุรินทร์

สำหรับพรรครวมชาติพัฒนา มี ส.ส. 9 คน พรรคกิจสังคม 5 คน และพรรคมาตุภูมิ 3 คน ล้วนลงมติสนับสนุนวาระ 3 เช่นเดียวกับการสนับสนุนวาระ 2

เผยเสียงส.ว.กระจัดกระจาย

ขณะที่ ส.ว. มีจำนวน 149 คน จากการตรวจสอบพบว่า มีส.ว.เห็นด้วย 71 คน ไม่เห็นด้วย 37 งดออกเสียง 34 รายชื่อส.ว. เห็นด้วย 71 คน กระจัดกระจายทั้งจากส.ว.สรรหา และส.ว.เลือกตั้ง ส่วนส.ว. 37 เสียง ที่ไม่เห็นด้วย นอกจากกลุ่ม 40 ส.ว. แล้วเสียงที่ไม่เห็นด้วยก็กระจายทั้งจากส.ว.สรรหา และส.ว.เลือกตั้ง อาทิ นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.สรรหา นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา

ขณะที่ส.ว. ที่งดออกเสียง 34 คน เสียงกระจัดกระจายเช่นกัน อาทิ นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ นายนิคม ไวยรัชพานิช ส.ว. ฉะเชิงเทรา นายประสพสุข บุญเดช ส.ว. สรรหา พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกลุ่มส.ว.ที่ถูกจับตามองก่อนหน้านี้ว่ามีการวิ่งล็อบบี้กันอย่างหนัก โดยเฉพาะส.ว.จากสายเลือกตั้ง ได้โหวตสนับสนุนร่างทั้ง 2 ฉบับกันอย่างพร้อมเพรียง อาทิ นายจตุรงค์ ธีระกนก ส.ว.ร้อยเอ็ด พ.ต.ท. จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ส.ว.มุกดาหาร นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรมย์ นายบวรศักดิ์ คณาเสน ส.ว.อำนาจเจริญ นายประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ ส.ว.สกลนคร นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร นายรักพงษ์ ณ อุบล ส.ว.หนองบัว ลำภู เป็นต้น

ยื่นชัยส่งศาลรธน.ตีความ

เวลา 15.00 น.ที่รัฐสภา นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย เป็นตัวแทนส.ส.ยื่นหนังสือถึงนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ผ่านสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่มีส.ส.พรรคเพื่อไทยและนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา เข้าชื่อรวม 179 คน เพื่อขอให้ประธานรัฐสภาส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยกรณีการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ พ.ศ. ... (มาตรา 93-98) และร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ พ.ศ. ... (มาตรา 190) รวม 2 ฉบับ

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ส.ส.และส.ว.ที่ร่วมลงชื่อเนื่องจากเห็นว่าทั้ง 2 ฉบับ ไม่ชอบด้วยข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553 ข้อ 86 วรรค 3 เพราะไม่ได้ระบุเลขมาตราที่ต้องการแก้ไข หรือยกเลิกไว้ในหลักการหรือในเหตุผล ซึ่งการดำเนินการต้องเป็นไปตามข้อบังคับ มาตรา 125 และมาตรา 134 ของรัฐธรรมนูญ ย่อมมีผลให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

ชัยไม่รับ-หารือมาร์คเครียด

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ตนพร้อมตัวแทนส.ส. มารอยื่นหนังสือให้กับประธานรัฐสภา แต่ถูกปฏิเสธโดยการไม่ยอมรับ ซึ่งตนรู้ทันเกม จึงไปยื่นไว้ที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่ประธานจะปิดการประชุมไว้ก่อนแล้ว ดังนั้น ประธานรัฐสภาต้องส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรม นูญ เพื่อให้วินิจฉัยและจะปฏิเสธไม่ดำเนินการไม่ได้ นอกจากนั้นยังต้องทำหนังสือถึงนายกฯ เพื่อให้ชะลอการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย จนกว่าศาลวินิจฉัยว่าร่างแก้ไขดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นายสุรพงษ์ ยืนรอยื่นหนังสือถึงนายชัย ที่จะออกจากห้องประชุม ปรากฏนายชัย ปฏิเสธ พร้อมพูดด้วยน้ำเสียงห้วนว่า"ผมไม่รับ ผมมีสิทธิ์ที่จะไม่รับ" จากนั้นได้เดินผ่านส.ส.พรรคเพื่อไทยทันที

อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่า หลังปฏิเสธที่จะรับหนังสือของส.ส.พรรคเพื่อไทย นายชัย ได้หารือกับนายกฯ ที่ห้องรับรองประธานรัฐสภาใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง

ปธ.วิปรัฐบาลเชื่อศาลไม่รับ

เวลา 15.30 น. ที่รัฐสภา นายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล แถลงภายหลังประชุมรัฐสภาว่า ผลการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญถือว่าทั้ง 2 ฉบับผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว ขั้นตอนต่อไปอยู่ที่สภาจะนำกฎหมายดังกล่าวเสนอต่อรัฐบาล เพื่อกราบบังคมทูลให้ทรงลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน หากผู้ใดจะยื่นคัดค้าน สามารถทำได้ ก่อนรัฐบาลจะนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ยืนยันว่าการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญมีสภาพบังคับเหนือข้อบังคับ จึงเชื่อว่าหากยื่นตีความ ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับพิจารณา แต่หากยื่นตีความจริง คงใช้เวลาไม่นาน และต้องยื่นก่อนรัฐบาลนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ

นายวิทยา กล่าวว่า ขั้นตอนการออกกฎหมายลูกหลังทรงลงพระปรมาภิไธยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว เป็นเรื่องกกต.ต้องเสนอเข้าสู่สภา คาดว่าสภาจะใช้เวลาพิจารณา 2 เดือน แต่หากเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง สามารถใช้ระเบียบกกต.เดิมได้

ส่วนส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่โหวตสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายวิทยา กล่าวว่า ตนกำลังตรวจสอบและจะใช้กระบวน การในพรรคพิจารณาต่อไป ส่วนที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ไม่โหวตให้นั้น ถือเป็นเอกสิทธิ์ จะไปบังคับหรือไล่ออกไม่ได้

นายวิทยา กล่าวว่า ในการประชุมสภาวันที่ 16 ก.พ. ที่ประชุมจะพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2554 หรืองบกลางปี โดยวางกรอบการพิจารณา 10 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00 -24.00 น. และจะถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที จากนั้นวันที่ 24 ก.พ. ที่ประชุมจะรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และจะถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเช่นกัน หากฝ่ายค้านอยากใช้ 2 เวทีดังกล่าวซ้อมอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ทำได้

รธน.สะดุด-ต้องยื่นตีความ

วันเดียวกัน นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงขั้นตอนการส่งร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาไปยังรัฐบาล เพื่อยื่นทูลเกล้าฯว่า ขณะนี้ทางสภากำลังตรวจทานความถูกต้องอยู่ คาดว่าอย่างช้าจะส่งเรื่องให้รัฐบาลได้ภายในวันจันทร์ที่ 14 ก.พ.นี้ จากนั้นรัฐบาลจะยื่นทูลเกล้าฯต่อไป ส่วนที่ฝ่ายค้านยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น สภาจะต้องทำเรื่องถึงนายชัยเพื่อให้ทำหนังสือแจ้งให้นายกฯรับทราบก่อน เพื่อชะลอการทูลเกล้าฯต่อไป

เมื่อถามว่าจะเกิดเหตุการณ์เหมือนยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิ

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์