นายกรัฐมนตรี ย้ำจุดยืน ค้านแผนบริหารจัดการเขาพระวิหารของกัมพูชา จนกว่าปัญหาเรื่องเขตแดนจะสิ้นสุด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ...
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ ถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการ 3 จี ว่า ในปัจจุบันต้องยอมรับโครงการมีความล่าช้า หลายต่อหลายประเทศ โดยในปัจจุบัน คณะกรรมการกำกับกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.ได้มีการกำหนดกติกาในเรื่องของการประมูล คลื่นความถี่ในระบบ 3 จี เอาไว้แล้ว และกำลังส่งประกาศต่าง ๆ มาเพื่อที่จะส่งพิมพ์ในราชกิจกานุเบกษา เพื่อจะได้เชิญชวนให้ภาคเอกชนนำข้อเสนอต่าง ๆ ในเรื่องของการประมูลเข้ามาได้ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณเดือนกว่า ๆ ที่ทางภาคเอกชน จะมีโอกาสในการยื่นเข้ามาตามปฏิทินของทาง กทช.
ในส่วนของรัฐบาล ที่สนับสนุนให้มีการเดินหน้าในการประมูล 3 จีโดยเร็ว มีความกังวลการที่ยังมีผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในระบบ 2 จี ที่เป็นสัญญาสัมปทาน จาก ทีโอที และ กสท. ซึ่งทั้ง 3 ผู้ประกอบการและ 2 องค์กร ยังอยู่ในระบบของบริษัทสัปทานก็จะมีปัญหาในเรื่องการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งในขณะนี้ เป็นของ ทีโอทีและ กสท. ตามสัญญาสัมปทาน แต่แม้เป็นเจ้าของก็ให้สิทธิในการใช้กลับไปที่ผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับสิทธิตามสัปทาน สัปทานนี้ก็ยังเหลืออยู่แล้วแต่กรณี ตั้งแต่ 3 ปี 5 ปี 8 ปี สิ่งที่รัฐบาลวิตกกังวลก็คือ รัฐบาลก็มีหน้าที่ในการดูแลให้การแข่งขันในกิจการต่าง ๆ เป็นไปด้วยคามเป็นธรรมเพื่อที่จะนำไปสู่สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนผู้ได้รับบริการ กังวลว่ากติการของการประมูลที่จะเกิดขึ้นและสภาพของสัญญาสัมปทานในปัจจุบัน
อาจจะทำให้ การทำงานของกลไกต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับโทรคมนาคม ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น จึงมีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา ในการประชุมของคณะรัฐมนตรี ซึ่งก็ทำให้เห็นว่าตามแผนแม่บทของโทรคมนาคม ตามเจตนารมย์ของ รธน. ก็พยายามเขียนไว้อยู่แล้วว่า จะต้องดำเนินการปรับหรือแปลงสัญญาสัมปทานเพื่อที่จะให้ในที่สุดผู้ประกอบการทุกราย เข้ามาเป็นผู้ประกอบการในลักษณะของการรับใบอนุญาติ จะได้ไม่มีลักษณะของการผูกขาด ไม่ได้มีลักษณะของความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพย์สินบางประการ ยิ่งไปกว่านั้น มีความเป็นไปได้ว่าผู้ประกอบการในปัจจุบัน ก็จะเข้าไปร่วมประมูล 3 จี ด้วย
ซึ่งหากกำหนดกติกาไม่ดี ก็จะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการตรวจสอบในการใช้ทรัพย์สิน จนเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันหรือไม่อย่างไร ไปจนถึงว่าเงื่อนไขของการประมูลไปเร่งให้มีการลงทุน ในโครงข่ายของ 3 จี ทั้งที่ทรัพย์สินที่มีในปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ในเรื่องของ 3 จี ได้ด้วย ซึ่งก็จะเป็นการประหยัดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนไปถึงร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 ก็จะเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช้เหตุ ดังนั้น สิ่งที่คณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการ ก็คือ จะมีคณะทำงานขึ้นมาให้เวลา 1 เดือน เพื่อที่จะไม่ให้กระทบกับปฏิทินของ กทช. ที่จะเปิดให้มีการประมูล 3 จี ไปดำเนินการนำเสนอทางเลือก ในการแปลงรูปแบบสัญญาสัปทาน ของผู้ประกอบการทุกราย ไปสู่การขอรับใบอนุญาตจาก กทช. แต่เบื้องต้นการดำเนินการดังกล่าว จะต้องไม่ไปกระทบการดำเนินการด้านกฎหมาย ซึ่งยังคดีความ ความขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งหากใครทำผิดอะไรไว้ก็ต้องไม่ไปลบล้างความผิดตรงนั้น นอกจากนี้ประเด็นสำคัญอีกเรื่องก็คือ สิทธิของทางภาครัฐที่จะได้รับรายได้จากสัปทาน ก็ต้องไม่ได้รับผลกระทบจากการที่แปลงไปเป็นระบบของใบอนุญาต
ส่วนเรื่องการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน นั้น ล่าสุด ครม.ได้มีการประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉินเพิ่มเติมไปอีก 3 จังหวัด ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ก็ได้รับฟังความคิดเห็นจากหลาย ๆ ฝ่าย โดยเฉพาะจากคณะกรรมการปฏิรูปที่เสนอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการยกเลิกภาวะฉุกเฉินโดยเร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่า มีประชาชนและเจ้าหน้าที่ ซึ่งยังเห็นว่าในหลายพื้นที่ยังไม่วางใจและมีความจำเป็นต้องใช้อำนาจ พรก.ฉุกเฉินในการดูแล
สิ่งที่ได้ดำเนินการ ก็คือการให้ทางสภาความมั่นคง สรุปถึงความจำเป็นในการใช้อำนาจตามกฎหมายเป็นอย่างไร และให้ชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อไม่ให้ใช้อำนาจ ตาม พรก.ฉุกเฉินไปในทางที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามตนเองจะได้เร่งรัด ในการทบทวนพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีภาวะฉุกเฉินใน 16 จังหวัดปัจจุบัน ทยอยยกเลิกตามความเหมาะสมโดยเร็วต่อไป
เรื่องถัดมา คือเรื่องการดำเนินการของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งจะมีการพิจารณาเรื่องแผนการบริหารปราสาทพระวิหารตามที่กัมพูชาเสนอ โดยในเรื่องนี้ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจและได้ติดตามสถานการณ์อยู่อย่างใกล้ชิดประการแรก ต้องย้ำว่า เมื่อใดก็ตามที่มีการละเมิดเข้ามาในพื้นที่ ที่ถือว่าเป็ฯของเรา ทางกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะมีการแสดงออกยืนยันถึงสิทธิเหนือพื้นที่ ที่แยกด้วยสันปันน้ำตามสนธิสัญญาซึ่งเป็นจุดยืนของรัฐบาลไทย ว่านั่นคือจุดที่เป็นตัวกำหนดเขตแดน
ทั้งนี้ จุดยืนในส่วนของรัฐบาลไทยและโดยส่วนตัว ของยืนยัน ว่าเราไม่ไ่ด้ยอมรับแผนที่ซึ่งกัมพูชาใช้ โดยเฉพาะที่ใช้ในการฟ้องร้องในคดีปราสาทพระวิหารเป็นการแสดงเขตแดนที่ถูกต้อง และได้อิงคำพิพากษาของศาลโลกมาโดยตลอดว่า คำพิพากษาในขณะนั้นก็ไม่ได้เป็นการตัดสินในเรื่องของเขตแดน ทั้งนี้จุดยืนของรัฐบาลไทย เองก็ยังได้ย้ำมาโดยตลอดว่า การดำเนินการแก้ไขปัญหาใด ๆ ในเรื่องแผนการบริหารจัดการเขาพระวิหาร จะต้องเกิดขึ้นหลังจากสามารถจัดการปัญหาเรื่องเขตแดนเรียบร้อยเสียก่อน
ส่วนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ นั้น มีหลายฝ่ายเสนอว่าไม่ควรที่จะเข้าร่วม แต่ตนเองเห็นว่า มันจะไมไ่ด้ประโยชน์อะไรเลย หากไทยไม่เข้าร่วมการประชุมเพราะจะเป็นการเสียโอกาส ในการแสดงความคิดเห็นแสดงจุดยืนต่าง ๆ ทำให้เกิดการรับข่าวสารด้านเดียว ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
อย่างไรก็ดี หาก คณะกรรมการมรดกโลก ดำเนินการต่อไป ทางรัฐบาลไทยก็ได้มีแผนการรองรับเพื่อรับมือกับเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยล่าสุดทราบจาก นาสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่า ทางรัฐบาลกัมพูชา ได้ยื่นสิ่งที่เขาเรียกว่าเป็นแผนผังพื้นที่บริหารจัดการ เขาพระวิหาร ซึ่งก็จะทำให้มีปัญหาเหมือนที่เคยผ่านมา ซึ่งทาง นายสุวิทย์ ก็ได้แสดงจุดยืนคัดค้านในเบื้องต้นในที่ประชุมยูเนสโก ไปแล้ว ว่าไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ในบริเวณที่เราถือว่าเป็นเขตแดนของเรา