ลุ้นเนวิน-4อดีตรมต-บิ๊ก ขรก.-ซีพี. รอดไม่รอดคดีกล้ายาง 9 ผู้พิกษาศาลฎีกาฯประชุมลับลงมติเช้า17ส.ค.

ลุ้น"เนวิน-4อดีตรมต-บิ๊ก ขรก.-ซีพี." รอดไม่รอดคดีกล้ายาง 9 ผู้พิกษาศาลฎีกาฯประชุมลับลงมติเช้า17ส.ค.

9 ผู้พิพากษาศาลฎีกา องค์คณะคดีกล้ายาง นัดประชุมลับลงมติเช้า 17 ส.ค.พิจารณา 44 จำเลยรายบุคคลผิดไม่ผิด เผยข่าว ใครหลุดคดีล่วงหน้าแค่คาดเคา ลุ้น"เนวิน" 4 อดีต รมต.รัฐบาล"ทักษิณ" บิกข้าราชการ นักธุรกิจใหญ่เครือซีพีถูกเชือดหรือไม่


 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่  17 สิงหาคม เวลา  14.00 น. นายบุญรอด ตันประเสริฐ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาเจ้าของสำนวนพร้อมองค์คณะทั้ง  9 นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีหมายเลขดำที่ อม.4/2551 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ,นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ในฐานะเป็น คชก. นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรฯ ในฐานะเป็นผู้ริเริ่มโครงการ ,นายสรอรรถ กลิ่นปทุม รมว.เกษตรฯในฐานะเป็นคชก.และนายอดิศัย โพธารามิก อดีตรมว.พาณิชย์ ในฐานะเป็นคชก. ,กลุ่มคณะกรรมการบริหารโครงการกำหนดทีโออาร์ และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา , บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์จำกัด ในเครือซีพี ,บริษัทรีสอร์ทแลนด์จำกัด และ บริษัทเอกเจริญการเกษตรจำกัด ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-44  ในความผิดฐานในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ จัดการ ทรัพย์สินใดใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตเสียหายแก่รัฐ , เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.151, 157, 341  พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11

ผู้สื่อข่าวรรายงานว่า ในช่วงเช้าวันที่  17  สิงหาคม ก่อนมีการอ่านคำพิพากษา องค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนจะประชุมลับเพื่อพิจารณาลงมติในแต่ละประเด็นและจำเลยเป็นรายบุคคลว่า ผู้พิพากษาแต่ละคนเห็นด้วยกับเห็นด้วยหรือไม่เห็นข้อกล่าวหาตามฟ้องหรือไม่อย่างไร ซึ่งผู้พิพากษาแต่ละคนจะเขียนคำพิพากษาส่วนตนมาเสนอต่อที่ประชุม แล้วพิจารณาลงคะแนนแล้วเขียนคำพิพากษากลางซึ่งเป็นมติเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมองค์คณะ และจะอ่านคำพิพากษาในช่วงบ่ายวันเดียวกันทันที

ผู้พิพากษาษศาลฎีการายหนึ่งกล่าวว่า จะเห็นว่า กระบวนการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีการประชุมลับเพื่อลงมติในช่วงเช้า แล้วจึงเขียนคำพิพากษากลางในช่วงบ่ายโดยองค์คณะผู้พิพากษาทั้งหมดจะต้องอยู่ในสถานเดียวกันตลอด ทำให้ที่มีข่าวว่า จำเลยคนนั้น คนนี้จะหลุดคดีเป็นการคาดเดาเอาทั้งสิ้น เพราะไม่มีทางที่จะรู้คำพิพากษาล่วงหน้าได้ จนกว่าจะมีการลงมติกันในช่วงเช้าวันที่ 17 สิงหาคม ซึ่งยากมากเช่นกันที่ความลับจะรั่วไหลเพราะดดยมารยาทแล้งองค์คณะทั้ง 9 คนจะไม่ติดต่อกับบุคคลภายนอกเลยจนกว่าจะมีการอ่านคำพิพากษา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จนขณะนี้ยังไม่มีจำเลยคนใดยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯ เพื่อขอเลื่อนฟังคำพิพากษา แต่หากจะมีจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนฟังคำพิพากษาในช่วงเช้าวันที่  17 สิงหาคม ก่อนอ่านคำพิพากษา ก็เป็นดุลยพินิจขององค์คณะที่จะพิจารณาว่าจะอนุญาติหรือไม่

สำหรับรายชื่อจำเลยในคดีนี้ แยกตามฐานความผิด ได้ 7 กลุ่ม ประกอบด้วย

1.คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตร (คชก.) ประกอบด้วย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการการกลั่นกรองและประธานคชก. นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ในฐานะกรรมการ คชก. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะกรรมการ คชก. นายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ ในฐานะกรรมการ คชก.

นายพิศิษฐ เศรษฐวงศ์ รองปลัดกระทรวงพานิชย์ นายปริญญา อุดมทรัพย์  รองอธิบดีกรมการปกครอง นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ น.ส.บุญมี เลิศพิเชษฐ ผู้อำนวยการกลุ่มงานเงินนอกงบประมาณ นางเสริมสุข ชลวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน นายกรณรงค์ ฤทธิ์ฤาชัย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง และน.ส.สุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ทั้งหมดมีฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 151และ 157 ส่วน น.ส.สุกัญญา โตวิวิชญ์ ผู้บริหารส่วนวิเคราะห์ สาขาเศรษฐกิจและนายพิทยาพล นาถธราดล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 11 ประกอบมาตรา 83 ตามประมวลกฎหมายอาญา

2.นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86, 157 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ มาตรา 11

3.นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายจิรากร โกศัยเสวี นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ นายจำนง คงศิลป์ กรรมการบริหารโครงการและกรรมการพิจารณาโครงการประกวดราคา นายสุจินต์ แม้นเหมือน นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ กรรมการบริหารโครงการ นายสมบัติ ยิ่งยืน นายสมชาย ชาญณรงค์กุล กรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ มาตรา 11, 12 และมาตรา 83, 157 และ 341 ตามประมวลกฎหมายอาญา

 4.นายสกล บุญชูดวง ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธ์ จำกัด นายญาณกร สิงห์ชุม ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด นายสำราญ ชัยชนะ ผู้รับมอบอำนาจจาก บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด บริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด ในฐานะผู้เสนอราคา มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ มาตรา 4, 10, 11, 12, 13 และประมวลกฎหมายอาญา 86, 157, 341

5.นายวัลลภ เจียรวนนท์ นายมิน เธียรวร นายประเสริฐ พุ่งกุมาร นายธีรยุทธ พิทยาอิสรกุล นายพงษ์เทพ เจียรวนนท์ นายเอี่ยม งามดำรง นายบุญเลิศ ประภากมล กรรมการบริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด นายวรวิทย์ เจนธนากุล นางวิไลลักขณ์ รัตนสวัสดิ์  กรรมการบริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด น.ส.พัชรี ชินรักษ์ นางอนงนุช ภรณวลัย  นางเจริญศรี ลือพัฒนสุข กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐมาตรา 4, 9, 10, 11, 12, 13 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86, 157, 341

6.นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ฐานเป็นผู้ริเริ่มโครงการมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดการเสนอความผิดต่อหน่วยงานรัฐ มาตรา 10, 11, 12 ตามประมวลกฎหมายอาญา 83, 84, 157, 341 และ

 7.นายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรฯ ผู้สนับสนุนพรรคภูมิใจไทย มีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดการเสนอความผิดต่อหน่วยงานรัฐ มาตรา 10, 13 ตามประมวลกฎหมายอาญา 83, 157, 341

คดีดังกล่าว ศาลฎีกาฯ เริ่มทำการไต่สวนครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กันยายน  2551  โดยไต่สวนทั้งพยานโจทก์ – จำเลย ประมาณ 30 ปาก เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน  2552 ที่ผ่านมา สำหรับการไต่สวนฝ่ายโจทก์นั้น มีพยานสำคัญประกอบด้วย  นายบรรเจิด สิงคะเนติ ประธานอนุ คตส. สำนวนคดีทุจริตกล้างยาง และเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ( สกย.)

ขณะที่ฝ่ายจำเลยมีนายเนวิน ชิดชอบ อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์ ผู้ริเริ่มโครงการ จำเลยที่ 4 แถลงเปิดคดีด้วยวาจาและเบิกความต่อสู้คดีว่า ดำเนินโครงการนี้ด้วยความสุจริตใจ  ซึ่งมีแนวคิดได้มาจากผลการศึกษา และการวิจัย ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรว่าพื้นที่อีสานสามารถปลูกยางพาราได้ และการดำเนินการอนุมัติโครงการนั้นไปตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รมช. และรักษาตำแหน่ง รมว. เกษตร ซึ่งยังว่างอยู่ เนื่องจากนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รอโปรดเกล้า ฯ ดำรงตำแหน่ง รมว.เกษตร ฯ  และยืนยันว่า การดำเนินโครงการปลูกยางพารา ยกระดับรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ระยะที่ 1 แถบภาคเหนือและภาคอีสาน เพื่อสร้างรายได้และความมั่นคงให้กับเกษตรกร รวมทั้งเป็นนโยบายเพื่อแก้ไขความยากจน ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 จนถึงฉบับปัจจุบัน

9 องค์คณะผู้พิพากษาฟันคดีกล้ายาง

1. นายบุญรอด ตันประเสริฐ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

2. นายชาลี ทัพภวิมล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

3. นายเกษม วีรวงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

4. นายสุรภพ ปัทมะสุคน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

5. นายวิชา มั่นสกุล ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

6. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

7. นายประทีป ปิติสันต์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

8. นายรัตน กองแก้ว ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

9. นายจรัส พวงมนี ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์