2 รองนายกฯ ประสานเสียง เกาะกูดของไทย ไม่มีวันเอาเขตแดน ไปแลก
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง 2 รองนายกฯ ประสานเสียง เกาะกูดของไทย ไม่มีวันเอาเขตแดน ไปแลก
"ปานปรีย์" ยัน เกาะกูดเป็นของไทย ไม่มีใครคิดเอาชาติไทยไปยกให้ใคร เรื่องพลังงานใต้ทะเลกำลังแก้ปัญหาอยู่ "พีระพันธ์" ลั่นไม่มีวันเอาทรัพยากรของชาติแลกกับเส้นเขตแดน
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาการอภิปรายทั่วไป เพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 นั้น
ต่อมา เวลา 20.10 น. นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ชี้แจงว่า ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเกิดขึ้นมาช้านานแล้ว มีการแบ่งเขตไหล่ทวีประหว่างไทยและกัมพูชาเริ่มมาตั้งแต่ปี 2513 จนกระทั่งทั้งสองประเทศไม่สามารถลงตกเรื่องไล่ทวีปได้ เพราะต่างคนต่างไปกำหนดเขตไหล่ทวีปกันเอง โดยกัมพูชาเริ่มก่อน โดยกำหมดเมื่อพ.ศ. 2515 ส่วนประเทศไทยได้กำหนดในปี 2516 ต่อมาในปี 2544 ได้มีการลงนามบันทึกความตกลง (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทย และกัมพูชา และได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างไทยกัมพูชาด้านเทคนิคหรือเจทีซี ในปี 2557 รัฐบาลได้อนุมัติการเจรจาบนพื้นฐานเอ็มโอยู 2544 ซึ่งเอ็มโอยูยังคงดำรงต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ และทำไมการเจรจาไม่เสร็จสิ้นใช้เวลายาวนานมาก ซึ่งนายคำนูณพูดว่าตรงนี้เป็นขุมทรัพย์ทางทะเลที่มีมูลค่ามหาศาล อาจจะเป็นเพราะเนื้อหาในการเจรจามีประเด็นที่ละเอียดอ่อนซับซ้อน และอ่อนไหวทั้งทางการเมืองภายในและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ของชาติ
นายปานปรีย์ กล่าวต่อว่า ตนทราบมาว่า ภายหลังปี 2544 มีการเจรจาที่เป็นทางการเพียง 4 ครั้ง และไม่เป็นทางการอีก 8 ครั้ง แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่ประการใด และเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นโอกาสที่นายกฯกัมพูชา มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และได้มีการหารือเจรจาในเรื่องของทวิภาคีหลายเรื่องระหว่างประเทศ ในเรื่องโอซีเอ ก็ได้มีการพูดคุยกันและสองฝ่ายก็มีการตกลงกันว่าเห็นพ้องที่จะประสานการหารือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรใต้ทะเล ในพื้นที่ทับซ้อน โดยหารือควบคู่กับการแบ่งเขตทะเล ซึ่งคิดว่า มีความชัดเจนในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการด้านเทคนิคที่จะต้องพิจารณาว่าการเดินต่อตามเอ็มโอยูจะเดินต่อหรือไม่ ส่วนเรื่องแบ่งเขตแดน จะต้องเจรจาควบคู่กับการแบ่งผลประโยชน์หรือไม่ ตนคิดว่าควรจะเจรจาควบคู่กันไป ซึ่งเวลานี้กระทรวงการต่างประเทศไม่มีอำนาจในการที่จะเข้าไปตัดสินใจหรือจะให้ความเห็นใดๆ เนื่องจากคณะกรรมการเจรจายังไม่ได้รับการแต่งตั้งเพราะต้องผ่าน ครม.
รมว.ต่างประเทศ กล่าวต่อว่า ส่วนเขตหลักทะเลเส้นลาดผ่านทับเกาะกูดนั้น ไม่มีข้อสังสัยอยู่แล้ว เนื่องจากหนังสือยืนยันระหว่างกรุงสยามกับฝรั่งเศส คศ.1907 ข้อ2ระบุชัดเจนว่ารัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนด้านซ้ายและเมืองตราด เกาะทั้งหลาย ซี่งอยู่ภายใต้แหลมสิงไปจนถึงเกาะกูดนั้น ตนคิดว่าจึงไม่มีประเด็นโต้แย้งใดๆเหนือเกาะกูดของไทย ดังนั้นเกาะกูดเป็นของไทยแน่นอน และคงต้องแบ่งเขตไล่ทวีปให้ชัดแน่นอน เพราะ ถ้าแบ่งไม่ชัดก็จะไม่มีใครทราบว่า พื้นที่ของของกัมพูชาหรือของไทย ส่วนที่เป็นห่วงว่า จะมีขายชาติ เสียดินแดน ละเมิดอธิปไตย สิ่งเหล่านี้ตนเชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน รักชาติเท่ากันหมด ไม่มีใครคิดที่จะเอาชาติไทย หรือดินแดนของไทยไปยกให้ใครทั้งสิ้น และการที่เราจะใช้พลังงานที่อยู่ใต้ทะเลนำขึ้นมาใช้คงต้องใช้เวลาอีกประมาณ 10ปี ในเวลานี้เรื่องพลังงานเราก็กำลังมีปัญหาอยู่ เพราะฉะนั้นการเจรจาจะต้องเร่งดำเนินการภายใต้ความรอบคอบ ไม่ให้เราเสียผลประโยชน์ของชาติต่อไป
ด้าน นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้แจงว่า ขอยืนยันไม่ว่าจะเป็นตนหรือนายกฯ รองนายกฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เราทุกคนรักประเทศไทยและเราก็หวงดินแดนไทย โดยเฉพาะตนวันนี้ตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ไม่ต้องห่วงตน จะไม่มีวันเอาทรัพยากรของชาติมาแลกกับเส้นเขตแดน ผลประโยชน์ของชาติ ความเป็นไทย เขตแดน อาณาเขตของประเทศไทยเป็นอย่างไรต้องเป็นอย่างนั้น ตนทราบว่า ปัญหาเรื่องพลังงานเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับประเทศ การต้องเตรียมพร้อมเรื่องความพร้อมของพลังงาน แก๊ส เป็นเรื่องสำคัญ แต่ไม่ว่าจะสำคัญอย่างไร ขอให้ท่านมั่นใจว่า ไม่มีอะไรสำคัญกว่าความเป็นไทย เอกราชและอาณาเขตของประเทศไท
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาการอภิปรายทั่วไป เพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 นั้น
ต่อมา เวลา 20.10 น. นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ชี้แจงว่า ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเกิดขึ้นมาช้านานแล้ว มีการแบ่งเขตไหล่ทวีประหว่างไทยและกัมพูชาเริ่มมาตั้งแต่ปี 2513 จนกระทั่งทั้งสองประเทศไม่สามารถลงตกเรื่องไล่ทวีปได้ เพราะต่างคนต่างไปกำหนดเขตไหล่ทวีปกันเอง โดยกัมพูชาเริ่มก่อน โดยกำหมดเมื่อพ.ศ. 2515 ส่วนประเทศไทยได้กำหนดในปี 2516 ต่อมาในปี 2544 ได้มีการลงนามบันทึกความตกลง (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทย และกัมพูชา และได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างไทยกัมพูชาด้านเทคนิคหรือเจทีซี ในปี 2557 รัฐบาลได้อนุมัติการเจรจาบนพื้นฐานเอ็มโอยู 2544 ซึ่งเอ็มโอยูยังคงดำรงต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ และทำไมการเจรจาไม่เสร็จสิ้นใช้เวลายาวนานมาก ซึ่งนายคำนูณพูดว่าตรงนี้เป็นขุมทรัพย์ทางทะเลที่มีมูลค่ามหาศาล อาจจะเป็นเพราะเนื้อหาในการเจรจามีประเด็นที่ละเอียดอ่อนซับซ้อน และอ่อนไหวทั้งทางการเมืองภายในและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ของชาติ
นายปานปรีย์ กล่าวต่อว่า ตนทราบมาว่า ภายหลังปี 2544 มีการเจรจาที่เป็นทางการเพียง 4 ครั้ง และไม่เป็นทางการอีก 8 ครั้ง แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่ประการใด และเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นโอกาสที่นายกฯกัมพูชา มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และได้มีการหารือเจรจาในเรื่องของทวิภาคีหลายเรื่องระหว่างประเทศ ในเรื่องโอซีเอ ก็ได้มีการพูดคุยกันและสองฝ่ายก็มีการตกลงกันว่าเห็นพ้องที่จะประสานการหารือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรใต้ทะเล ในพื้นที่ทับซ้อน โดยหารือควบคู่กับการแบ่งเขตทะเล ซึ่งคิดว่า มีความชัดเจนในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการด้านเทคนิคที่จะต้องพิจารณาว่าการเดินต่อตามเอ็มโอยูจะเดินต่อหรือไม่ ส่วนเรื่องแบ่งเขตแดน จะต้องเจรจาควบคู่กับการแบ่งผลประโยชน์หรือไม่ ตนคิดว่าควรจะเจรจาควบคู่กันไป ซึ่งเวลานี้กระทรวงการต่างประเทศไม่มีอำนาจในการที่จะเข้าไปตัดสินใจหรือจะให้ความเห็นใดๆ เนื่องจากคณะกรรมการเจรจายังไม่ได้รับการแต่งตั้งเพราะต้องผ่าน ครม.
รมว.ต่างประเทศ กล่าวต่อว่า ส่วนเขตหลักทะเลเส้นลาดผ่านทับเกาะกูดนั้น ไม่มีข้อสังสัยอยู่แล้ว เนื่องจากหนังสือยืนยันระหว่างกรุงสยามกับฝรั่งเศส คศ.1907 ข้อ2ระบุชัดเจนว่ารัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนด้านซ้ายและเมืองตราด เกาะทั้งหลาย ซี่งอยู่ภายใต้แหลมสิงไปจนถึงเกาะกูดนั้น ตนคิดว่าจึงไม่มีประเด็นโต้แย้งใดๆเหนือเกาะกูดของไทย ดังนั้นเกาะกูดเป็นของไทยแน่นอน และคงต้องแบ่งเขตไล่ทวีปให้ชัดแน่นอน เพราะ ถ้าแบ่งไม่ชัดก็จะไม่มีใครทราบว่า พื้นที่ของของกัมพูชาหรือของไทย ส่วนที่เป็นห่วงว่า จะมีขายชาติ เสียดินแดน ละเมิดอธิปไตย สิ่งเหล่านี้ตนเชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน รักชาติเท่ากันหมด ไม่มีใครคิดที่จะเอาชาติไทย หรือดินแดนของไทยไปยกให้ใครทั้งสิ้น และการที่เราจะใช้พลังงานที่อยู่ใต้ทะเลนำขึ้นมาใช้คงต้องใช้เวลาอีกประมาณ 10ปี ในเวลานี้เรื่องพลังงานเราก็กำลังมีปัญหาอยู่ เพราะฉะนั้นการเจรจาจะต้องเร่งดำเนินการภายใต้ความรอบคอบ ไม่ให้เราเสียผลประโยชน์ของชาติต่อไป
ด้าน นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้แจงว่า ขอยืนยันไม่ว่าจะเป็นตนหรือนายกฯ รองนายกฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เราทุกคนรักประเทศไทยและเราก็หวงดินแดนไทย โดยเฉพาะตนวันนี้ตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ไม่ต้องห่วงตน จะไม่มีวันเอาทรัพยากรของชาติมาแลกกับเส้นเขตแดน ผลประโยชน์ของชาติ ความเป็นไทย เขตแดน อาณาเขตของประเทศไทยเป็นอย่างไรต้องเป็นอย่างนั้น ตนทราบว่า ปัญหาเรื่องพลังงานเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับประเทศ การต้องเตรียมพร้อมเรื่องความพร้อมของพลังงาน แก๊ส เป็นเรื่องสำคัญ แต่ไม่ว่าจะสำคัญอย่างไร ขอให้ท่านมั่นใจว่า ไม่มีอะไรสำคัญกว่าความเป็นไทย เอกราชและอาณาเขตของประเทศไท