ไม่พลิกโผ ก้าวไกล ส่ง วิโรจน์ ลงสมัคร ผู้ว่าฯ กทม.
"ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมก็ใช้เวลาเกือบ 1 ปีเต็ม ในการพูดคุยกับคนที่มีศักยภาพ มีชื่อเสียง เพื่อหาคนมาเป็นแคนดิเดต ผู้ว่าฯ กทม.ของพรรคก้าวไกล แต่ไม่มีใครคนไหนมี DNA ของความเป็นก้าวไกลชัดที่สุด วันนี้ผมตัดสินใจครั้งสำคัญ เอาเสาหลักของ ส.ส. พรรคก้าวไกล ที่ทำงานกับผมเคีบงบ่าเคียงไหล่มาตั้งแต่พรรคอนาคตใหม่ ขอดึงเสาต้นนี้จากสภามาปักลงที่กรุงเทพมหานครทำงานเพื่อประชาชนให้กับคนกรุงเทพมหานคร ขอเสียงปรบมือดังๆ ยาวๆ ให้กับเพื่อนรักของผม คุณวิโรจน์ ลักขณาอดิศร
เมื่อปี 2562 ตอนที่เลือกตั้งใหญ่ ไม่มีใครรู้จักวิโรจน์ ผ่านมา 3 ปี เข้าใจและขอบคุณทุกคนที่บอกว่าเสียดายวิโรจน์ในสภาแต่ผมอยากตอบกลับไปว่า จะเสียดายมากกว่า ถ้าไม่ได้เห็นเพื่อนรักของผมคนนี้ ในบทบาทบริหาร และ ผู้ว่าฯ กทม. คนต่อไปของคนกทม." พิธา กล่าว
นายวิโรจน์ กล่าวว่า หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าทำไมผู้ว่าฯ กทม.ต้องชน ไม่ประสาน เพราะกรุงเทพมหานครมีปัญหา
1.เรื่องส่วยกทม.มีมากถึง 5,000-15,000 หรือ 15% ของงบประมาณ ผู้ว่าฯ กทม. ต้องกล้าประกาศให้ชัดว่าไม่มีการรีดไถ่ในกทม. ถ้าผู้ว่าฯ ชื่อวิโรจน์มาจากพรรค ก้าวไกล กรุงเทพ ต้องหยุดไถทันที ส่วยประสานไม่ได้ ร่วมมือไม่ได้ ผู้ว่าฯ กทม.ต้องจับมือกับข้าราชการน้ำดี เชื่อว่ามีมากถึง 90% ร่วมกันเพื่อแก้ปัญหา
2. การรวมศูนย์ของระบบราชการส่วนกลางและหน่วยงานที่มีเป็นจำนวนมากที่ไม่มีการประสานกัน เช่น การรักษาโควิด การจัดคิวฉีดวัคซีนที่มีการเลื่อนคิวเพราะวัคซีนไม่มาส่ง ถ้าผู้ว่าฯ ชื่อวิโรจน์ จะพร้อมชนกับ รมต.สธ. ถ้าเป็นผู้ว่าฯ กทม. แล้วปกป้องชีวิตประชาชนไม่ได้ก็ไม่ต้องมาเป็นผู้ว่าฯ กทม. ขณะที่ความปลอดภัยบนถนน ล่าสุดเกิดเหตุที่น่าเสียใจที่มีผู้เสียชีวิตบนทางม้าลาย สิ่งที่ผู้ว่าฯ ทำได้ ทันทีคือปรับปรุงทางข้าม 4,000 แห่ง ในกทม. ตีเส้น ติดตั้งกล้อง ติดสัญญาณคนข้าม เรื่องนี้มีกฎหมายบังคับใช้ จะมาบอกว่าไม่ใช่อำนาจผู้ว่าฯ ไม่ได้
"ยืนยันต่อให้นโยบายผู้ว่าฯ กทม.ดีมากขนาดไหน แต่เกรงใจหน่วยงานต่างๆ แต่ไม่เกรงใจประชาชนคนกทม. ปัญหาจะไม่ถูกแก้ ผู้ว่าฯ กทม.จึงต้องกล้าชน" นายวิโรจน์ กล่าว
3. กล้าชนกับนายทุน ต้องพร้อมเป็นกันชน เพื่อป้องผลประโยชน์คนกรุงเทพฯ เช่น แก้ปัญหาค่ารถไฟฟ้าแพง ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสัญญาหลายฉบับ ทำให้คนที่ไม่มีกำลังจ่ายไม่สามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้ จะมีประโยชน์อะไรถ้าประชาชนขึ้นรถไฟฟ้าไม่ได้ทั้งหมด เชื่อว่าวันนี้คนกรุงเทพฯ ไม่ได้ต้องการผู้ว่าฯ กทม.สร้างรถไฟฟ้า แต่ต้องการผู้ว่าฯ กทม.ที่ทำให้ประชาชนขึ้นรถไฟฟ้าได้
"ถ้าผู้ว่าฯ ชื่อวิโรจน์ รู้ว่ามีอำนาจจำกัด แต่พวกเราทุกคนก็รู้ใช่หรือไม่ ว่าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เป็นสัญญาที่ไม่มีใครรู้ ผู้ว่ฯ ชื่อวิโรจน์จะเปิดเผยสัญญาฉบับนี้ทันที เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับคำสั่ง คสช. ถ้าสัญญาไม่ถูกเปิดปัญหาเหล่านี้ แก้ไม่ได้ ต้องเปิดสัญญาก่อน ผู้ว่าฯ กทม.ต้องเป็นหัวหอก" นายวิโรจน์ กล่าว
นายวิโรจน์ กล่าวว่า ส่วนเรื่องที่พักอาศัย ต้องทำเงื่อนไขให้ประชาชนอยู่ได้ ผู้ว่าฯ กทม.ต้องส่งข้อจำกัด ให้อำนาจนิติบัญญํติ เพิ่มอำนาจให้ผู่ว่าฯ ดูแลคุณภาพชีวิตให้คน กทม.ดีกว่านี้ นี่คือเหตุผลสำคัญ ที่ ผู้ว่าฯ กทม.ต้อมี ส.ส.ที่กล้าหาญในสภา เราทำงานเป็นทีม
"ผู้ว่าฯ กทม. ต้องมุ่งมั่นทำงานรายละเอียดเก็บทุกเม็ด เพื่อปกป้องชีวิตคนกทม. ถ้าผู้ว่าฯ ชื่อวิโรจน์ กทม.ไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองอันดับหนึ่ง ที่คนต่างชาติอยากมาใช้ชีวิต แต่คนกทม.ต้องใช้ชีวิต อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ต้องมีสวัสดิการพื้นฐานที่ดี สามารถฝากฝีฝากไข้ได้" นายวิโรจน์ กล่าว
นายวิโรจน์ กล่าวว่า เราสามารถส่งผ่านอนาคตที่ดีให้ลูกหลานได้ พร้อมแก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมาเอาประโยชน์คน กทม.เป็นตัวตั้ง พร้อมปักธงในอนาคตพาคนแตกต่างหลากหลายให้คนในสังคมเดินไปพร้อมๆ กัน พอแล้วกทม. ชีวิตดีๆ ที่คุณต้องจ่าย ถ้าไม่จ่ายต้องเจ็บต้องทนจนชินไปเอง หมดเวลาซุกปัญหาไว้ใต้พรม ถึงเวลาเลือกคนพร้อมชนกับคนในกทม. ต้องการคนที่ชนกับทุกปัญหา พร้อมอาสาเป็นคนๆ นั้น ช่วยกันสะบัดธง กทม.ได้เวลาเก็บกวาดแล้ว
เมื่อถามว่า ตัดสินใจอย่างไรมาลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.อนาคต ส.ส.จะเป็นอย่างไร นายวิโรจน์ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็น ส.ส. ทำงานด้านนโยบาย กทม.มาโดยตลอด อยู่ในทีมวางนโยบาย วิถีการทำงาน ในสนามผู้ว่าฯ กทม. ค้นหาคนที่ขับเคลื่อนนโยบายในวิถีทางการทำงานของก้าวไกล ไม่หวั่นเกรงผลประโยชน์ตรงหน้า จนท้ายที่สุด กก.บห.เลือก ถามว่าพร้อมหรือไม่ว่าจะลง ในฐานะร่วมคิดร่วมทำมาตั้งแต่แรก บนวิถีทางของพรรค เมื่อพรรคมองว่าใช่ ก็ตัดสินใจ ส่วนอนาคตทางการเมืองจะเป็นอย่างไร ขอบคุณที่หลายคนบอกเสียดาย แต่ถ้าจำได้ว่าการเลือกตั้งปี 62 ไม่มีใครรู้จักเลย ใช้เวลา 3 ปี พิสูจน์การทำงาน ดังนั้นที่ประชาชนบอกเสียดาย แปลว่าได้ทำงานพิสูจน์ได้ พร้อมรับภาระการทำงานพิสูจน์ กทม.ให้ดีกว่างาน ส.ส.ในสภาฯ
ส่วนจะลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.เมื่อใด
นายวิโรจน์ กล่าวว่า จะทำงานในฐานะ ส.ส. ในคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร เรื่องที่ประชุมอธิบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) จัดสอบก่อน เป็นงานสุดท้ายและในวันพรุ่งนี้ (23 ม.ค.) จะเริ่มลงพื้นที่ กทม. โดยจะไปดูที่เกิดเหตุรถจักรยานยนต์ชนคนขณะข้ามทางม้าลายที่พญาไท