ด่วน! ศาลรธน.วินิจฉัยกฎหมายสมรสแค่ชาย-หญิง ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง ด่วน! ศาลรธน.วินิจฉัยกฎหมายสมรสแค่ชาย-หญิง ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกฎหมายแพ่งฯ ที่รับรองสมรสเฉพาะชาย-หญิง ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่สมควรตรากฎหมายรับรองสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ
วันนี้ (17 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ) มาตรา 1448 ที่กำหนดเรื่องการรับรองสมรสเฉพาะชาย-หญิงนั้น ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาค โดยระบุว่า "มิได้มีข้อความใดที่คุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ ไม่จำต้องวินิจฉัยในส่วนนี้"
ทั้งนี้ ศาลฯ ได้มีข้อสังเกตว่ารัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสมควรดำเนินการตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศต่อไป
คดีนี้เริ่มต้นจากการที่คู่รักซึ่งมีเพศตามทะเบียนราษฎร์เป็นหญิง หรือ เพิ่มทรัพย์ แซ่อึ้ง และพวงเพชร เหมคำ ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสแต่ถูกปฏิเสธ ต่อมาได้ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และขอให้ศาลส่งคำร้องโต้แย้งประเด็นข้อกฎหมายไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตามกลไก ม.212
iLaw ระบุว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ป.พ.พ. ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ประชาชนก็ไม่อาจร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ป.พ.พ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญได้อีก เว้นเสียแต่ว่า จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำหนดเนื้อหาบทบัญญัติในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือเรื่องความเสมอภาคแตกต่างไปจากเดิม ประชาชนจึงจะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ว่า ป.พ.พ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเนื้อหาแล้วหรือรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ประเด็นการสมรสของคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องที่ประชาชนในความสนใจ ตลอดบ่ายวันนี้แฮชแท็ก ‘#สมรสเท่าเทียม' ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ ด้วยจำนวนทวีตกว่า 148,000 ทวีต
อย่างไรก็ตาม ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม' ที่เสนอโดย ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้ถูกบรรจุอยู่ในวาระการประชุมสภามานานกว่าหนึ่งปีแล้ว แต่ยังคงไม่เข้าสู่การพิจารณาวาระแรกของสภา ขณะที่อีกแนวทางคือ 'พ.ร.บ.คู่ชีวิต' ที่เสนอโดยกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการแยกกฎหมายอีกฉบับ ดังนั้นคำวินิจฉัยนี้อาจส่งผลต่อการเดินหน้ากฎหมายดังกล่าว
วันนี้ (17 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ) มาตรา 1448 ที่กำหนดเรื่องการรับรองสมรสเฉพาะชาย-หญิงนั้น ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาค โดยระบุว่า "มิได้มีข้อความใดที่คุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ ไม่จำต้องวินิจฉัยในส่วนนี้"
ทั้งนี้ ศาลฯ ได้มีข้อสังเกตว่ารัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสมควรดำเนินการตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศต่อไป
คดีนี้เริ่มต้นจากการที่คู่รักซึ่งมีเพศตามทะเบียนราษฎร์เป็นหญิง หรือ เพิ่มทรัพย์ แซ่อึ้ง และพวงเพชร เหมคำ ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสแต่ถูกปฏิเสธ ต่อมาได้ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และขอให้ศาลส่งคำร้องโต้แย้งประเด็นข้อกฎหมายไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตามกลไก ม.212
iLaw ระบุว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ป.พ.พ. ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ประชาชนก็ไม่อาจร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ป.พ.พ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญได้อีก เว้นเสียแต่ว่า จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำหนดเนื้อหาบทบัญญัติในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือเรื่องความเสมอภาคแตกต่างไปจากเดิม ประชาชนจึงจะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ว่า ป.พ.พ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเนื้อหาแล้วหรือรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ประเด็นการสมรสของคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องที่ประชาชนในความสนใจ ตลอดบ่ายวันนี้แฮชแท็ก ‘#สมรสเท่าเทียม' ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ ด้วยจำนวนทวีตกว่า 148,000 ทวีต
อย่างไรก็ตาม ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม' ที่เสนอโดย ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้ถูกบรรจุอยู่ในวาระการประชุมสภามานานกว่าหนึ่งปีแล้ว แต่ยังคงไม่เข้าสู่การพิจารณาวาระแรกของสภา ขณะที่อีกแนวทางคือ 'พ.ร.บ.คู่ชีวิต' ที่เสนอโดยกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการแยกกฎหมายอีกฉบับ ดังนั้นคำวินิจฉัยนี้อาจส่งผลต่อการเดินหน้ากฎหมายดังกล่าว
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น