ไพบูลย์ จี้สอบนักการเมืองร่วมชุมนุม ส่อผิดถึงยุบพรรค
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง ไพบูลย์ จี้สอบนักการเมืองร่วมชุมนุม ส่อผิดถึงยุบพรรค
ไพบูลย์ แนะ กกต. ตรวจสอบพรรคการเมือง-นักการเมือง เข้าข่ายล้มล้างการปกครองด้วยหรือไม่ ชี้หากเข้าข่าย จะโยงมาตรา 92(1)และ(2) มีความผิดถึงยุบพรรค
เมื่อวันที่ 10 พ.ย.2564 นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวถึงศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย สั่งให้ข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันของแกนนำคณะราษฎร เข้าข่ายการกระทำที่ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสั่งให้เลิกการกระทำว่า คำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นเชื่อว่าจะทำให้เกิดความมั่นคงในสถาบันของชาติ และผลคำวินิจฉัยจะมีผลผูกพันต่อทุกองค์กร ทั้งตำรวจ อัยการ และศาลยุติธรรมด้วย
ดังนั้น ในความเห็นทางกฎหมาย ตนมองว่าหากพบบุคคลที่กระทำพฤติกรรมตามที่ศาลวินิจฉัย เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะพิจารณาว่ามีพรรคใดที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายด้วยหรือไม่ เพราะจะโยงกับลักษณะของมาตรา 92(1) และ (2) ของพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งจะมีผลถึงยุบพรรค
ส่วนที่มีผู้เตรียมเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ต้องพิจารณารายละเอียดว่า มีผลกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์หรือไม่
เมื่อถามว่ากรณีก่อนหน้านี้มีนักการเมืองเข้าร่วมการชุมนุมที่เข้าข่ายเป็นพฤติกรรมตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย จะมีความผิดด้วยหรือไม่
นายไพบูลย์ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของกกต.พิจารณา แต่จะเข้าข่ายผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี
โดยทางกฎหมายนั้น มีฐานที่พิจารณาได้คือ ความผิดตามกฎหมายอาญา และผิดจริยธรรมของนักการเมือง ที่กำหนดให้เป็นค่านิยมหลัก ต่อการยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
เมื่อวันที่ 10 พ.ย.2564 นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) กล่าวถึงศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย สั่งให้ข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันของแกนนำคณะราษฎร เข้าข่ายการกระทำที่ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสั่งให้เลิกการกระทำว่า คำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นเชื่อว่าจะทำให้เกิดความมั่นคงในสถาบันของชาติ และผลคำวินิจฉัยจะมีผลผูกพันต่อทุกองค์กร ทั้งตำรวจ อัยการ และศาลยุติธรรมด้วย
ดังนั้น ในความเห็นทางกฎหมาย ตนมองว่าหากพบบุคคลที่กระทำพฤติกรรมตามที่ศาลวินิจฉัย เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะพิจารณาว่ามีพรรคใดที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายด้วยหรือไม่ เพราะจะโยงกับลักษณะของมาตรา 92(1) และ (2) ของพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งจะมีผลถึงยุบพรรค
ส่วนที่มีผู้เตรียมเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ต้องพิจารณารายละเอียดว่า มีผลกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์หรือไม่
เมื่อถามว่ากรณีก่อนหน้านี้มีนักการเมืองเข้าร่วมการชุมนุมที่เข้าข่ายเป็นพฤติกรรมตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย จะมีความผิดด้วยหรือไม่
นายไพบูลย์ กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของกกต.พิจารณา แต่จะเข้าข่ายผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี
โดยทางกฎหมายนั้น มีฐานที่พิจารณาได้คือ ความผิดตามกฎหมายอาญา และผิดจริยธรรมของนักการเมือง ที่กำหนดให้เป็นค่านิยมหลัก ต่อการยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น