ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ ไพบูลย์ ไม่พ้น ส.ส.
ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้ "ไพบูลย์ นิติตะวัน" ยังคงมีสถานะ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ หลัง ส.ส.ฝ่ายค้านร้องให้วินิจฉัยข้อกฎหมาย ปมยุบพรรคประชาชนปฏิรูป แล้วเข้าสังกัดพรรคพลังประชารัฐ เมื่อปี 2562
วันนี้ (20 ต.ค.2564) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคำร้อง 60 ส.ส.ฝ่ายค้าน นำโดย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.พรรคเสรีรวมไทย ที่ขอให้ศาลวินิจฉัยสถานะ ส.ส.ของนายไพบูลย์ นิติตะวัน สิ้นสุดสมาชิกภาพลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (10) ประกอบกับมาตรา 90 และ 91 วรรคหนึ่ง (5) หรือไม่ กรณีนายไพบูลย์เคยเป็น ส.ส.พรรคประชาชนปฏิรูป แล้วยุติดำเนินกิจการพรรค และสมัครเข้าสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองปี 2560 มาตรา 91 วรรคหนึ่ง (7) กำหนดว่าพรรคการเมืองย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรค เมื่อเลิกตามข้อบังคับพรรค
ตุลาการศาลฯ มีมติเสียงข้างมาก วินิจฉัยว่า กระบวนกยุบพรรคประชาชนปฏิรูปเป็นไปตามกฎหมาย และกระบวนการเข้าพรรคใหม่ของนายไพบูลย์ เป็นไปตามกรอบเวลา 60 วัน ที่ต้องสังกัดพรรคใหม่ตามกฎหมาย ดังนั้นนายไพบูลย์ยังเป็น ส.ส. ไม่ได้สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ
เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2562 มติพรรคประชาชนปฏิรูปให้เลิกพรรคและแจ้งนายทะเบียนพรรคการเมือง และ กกต.ประกาศสิ้นความเป็นพรรคการเมืองในวันที่ 6 ก.ย.2562 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และนายไพบูลย์สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐในวันที่ 9 ก.ย.2562 และ 7 ต.ค. หัวหน้าพลังประชารัฐพรรคแจ้งต่อสภาฯ ทราบว่ามี ส.ส.เพิ่ม ด้วยกระบวนการชอบที่ด้วยกฎหมายพรรคการเมือง
ส่วนประเด็นคำร้องว่าหลังยุบพรรคแล้ว แต่นายไพบูลย์ต้องทำหน้าที่หัวหน้าพรรคในการชำระบัญชีพรรคตามกฎหมายแล้วเสร็จภายใน 30 วัน เป็นการทำหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งห้ามเพียงดำเนินกิจกรรมพรรคที่ยุบไปแล้ว แต่ไม่ได้ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในนามพรรคอื่น
สำหรับประเด็นร้องว่า นายไพบูลย์ไม่ได้เป็นบัญชีรายชื่อ ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐแต่แรก ศาลชี้ว่าบัญชีรายชื่อ ส.ส.ของพรรคการเมืองที่ส่ง กกต.ในการสมัครรับเลือกตั้ง เป็นคนละกรณีกับการเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (10)
วันนี้ (20 ต.ค.2564) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคำร้อง 60 ส.ส.ฝ่ายค้าน นำโดย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.พรรคเสรีรวมไทย ที่ขอให้ศาลวินิจฉัยสถานะ ส.ส.ของนายไพบูลย์ นิติตะวัน สิ้นสุดสมาชิกภาพลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (10) ประกอบกับมาตรา 90 และ 91 วรรคหนึ่ง (5) หรือไม่ กรณีนายไพบูลย์เคยเป็น ส.ส.พรรคประชาชนปฏิรูป แล้วยุติดำเนินกิจการพรรค และสมัครเข้าสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองปี 2560 มาตรา 91 วรรคหนึ่ง (7) กำหนดว่าพรรคการเมืองย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรค เมื่อเลิกตามข้อบังคับพรรค
ตุลาการศาลฯ มีมติเสียงข้างมาก วินิจฉัยว่า กระบวนกยุบพรรคประชาชนปฏิรูปเป็นไปตามกฎหมาย และกระบวนการเข้าพรรคใหม่ของนายไพบูลย์ เป็นไปตามกรอบเวลา 60 วัน ที่ต้องสังกัดพรรคใหม่ตามกฎหมาย ดังนั้นนายไพบูลย์ยังเป็น ส.ส. ไม่ได้สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ
เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2562 มติพรรคประชาชนปฏิรูปให้เลิกพรรคและแจ้งนายทะเบียนพรรคการเมือง และ กกต.ประกาศสิ้นความเป็นพรรคการเมืองในวันที่ 6 ก.ย.2562 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และนายไพบูลย์สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐในวันที่ 9 ก.ย.2562 และ 7 ต.ค. หัวหน้าพลังประชารัฐพรรคแจ้งต่อสภาฯ ทราบว่ามี ส.ส.เพิ่ม ด้วยกระบวนการชอบที่ด้วยกฎหมายพรรคการเมือง
ส่วนประเด็นคำร้องว่าหลังยุบพรรคแล้ว แต่นายไพบูลย์ต้องทำหน้าที่หัวหน้าพรรคในการชำระบัญชีพรรคตามกฎหมายแล้วเสร็จภายใน 30 วัน เป็นการทำหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งห้ามเพียงดำเนินกิจกรรมพรรคที่ยุบไปแล้ว แต่ไม่ได้ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในนามพรรคอื่น
สำหรับประเด็นร้องว่า นายไพบูลย์ไม่ได้เป็นบัญชีรายชื่อ ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐแต่แรก ศาลชี้ว่าบัญชีรายชื่อ ส.ส.ของพรรคการเมืองที่ส่ง กกต.ในการสมัครรับเลือกตั้ง เป็นคนละกรณีกับการเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (10)
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น