เจาะประวัติ ‘ธรรมนัส’ กับเส้นทางการเมืองที่ไม่ธรรมดา
จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้ง ปี 2562 และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขตที่ 1 โดยชนะ อรุณี ชำนาญยา เจ้าของพื้นที่เดิมจากพรรคเพื่อไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 ใน ครม.ประยุทธ์ 2/1
และต่อมาในปี พ.ศ. 2564 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญสำหรับพรรคการเมือง รองจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค
ประกาศลั่นเส้นเลือดใหญ่รัฐบาล
ซึ่งครั้งหนึ่งเขาเคยกล่าวกับสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 11 ก.ค.2562 ว่า "ผมคือเส้นเลือดใหญ่ เลี้ยงหัวใจรัฐบาล ผมกุมความลับ ดีลต่อรอง หากล้มผมได้ รัฐบาลก็สั่นคลอน"
สำหรับข้อวิพากษ์วิจารณ์ ธรรมนัส นั้น เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถูกฝ่ายค้านหยิบยกมาอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่บ่อยครั้ง เช่นกรณีการถูกถอดยศ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2541 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ถอดยศ ร้อยโท พชร พรหมเผ่า (ชื่อในขณะนั้น) เนื่องจากประพฤติตนไม่เหมาะสมตามพระราชบัญญัติวินัยทหาร พุทธศักราช 2476
โดยก่อนหน้านั้น ธรรมนัส เคยถูกปลดออกจากราชการในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และในปี พ.ศ. 2536 เนื่องจากหนีราชการในเวลาประจำการ แต่ธรรมนัสก็ทำเรื่องขอกลับเข้ารับราชการใหม่ทั้งสองครั้ง
โซเชียลตั้งข้อสงสัยปมวุฒิการศึกษา
ด้าน ธรรมนัส ได้นำหลักฐานมาแสดงเพื่อตอบโต้ นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าเว็บไซต์ที่เผยแพร่วิทยานิพนธ์ของธรรมนัสและคณะนั้น ถูกระบุว่าเป็นสำนักพิมพ์ที่เปิดเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยการเก็บค่าตีพิมพ์จากผู้เขียน โดยไม่ได้ให้บริการในการแก้ไขและตีพิมพ์ตามหลักของวารสารวิชาการ และเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าว อาจเข้าข่ายการคัดลอกงานวิชาการ
รวมถึงกรณีที่เคยถูกกล่าวหาว่า คนใกล้ชิดของธรรมนัส เกี่ยวข้องกับการกักตุนหน้ากากอนามัย ช่วงโควิด ระบาด ระลอก 1 แม้ตัวผู้ช่วยคนดังกล่าวจะแถลงต่อสื่อว่าเขาไม่รู้จักกับ ศรสุวีร์ ภู่รวีรรัศวัชรี ซึ่งอ้างว่ากักตุนหน้ากากอนามัยไว้ขายหลายล้านชิ้น แม้มีภาพถ่ายออกมาว่าทั้งสองพบกัน
นอกจากนี้ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ยังมีกรณีของ ธนพร ศรีวิราช อดีตนางสาวไทย คู่ชีวิตของธรรมนัส ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
แจงยืนยัน ‘มันคือแป้ง’
ศาลยังระบุว่าเป็นผู้มีความใกล้ชิดกับผู้จัดหา "เฮโรอีน" ในประเทศไทยในการลักลอบนำเข้าประเทศออสเตรเลียด้วย
ในปี 2564 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าธรรมนัสรับว่าตนได้กระทำผิดตามคำพิพากษาของศาลออสเตรเลียจริง แต่สมาชิกภาพ ส.ส. และความเป็นรัฐมนตรีไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ โดยอ้างหลักอธิปไตยทางศาลและหลักต่างตอบแทน
และครั้งหนึ่ง ฝ่ายค้านเคยหยิบกรณีดังกล่าวมาอภิปรายไม่ไว้วางใจเขา โดยเขาได้ลุกขึ้นตอบว่า "ถุงดังกล่าวไม่ใช่เฮโรอีน แต่มันคือแป้ง" อีกด้วย