ทวี สอดส่อง ชี้ ตร.วิ่งไล่ใช้กระบองทุบตีประชาชน ไม่ชอบด้วยกม.


ทวี สอดส่อง ชี้ ตร.วิ่งไล่ใช้กระบองทุบตีประชาชน ไม่ชอบด้วยกม.

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคประชาชาติ เผยแพร่บทความสืบเนื่องจากการชุมนุมของกลุ่ม REDEM เรื่อง ภารกิจตำรวจ คือ รักษาความสงบตามรัฐธรรมนูญ บำบัดทุกข์บำรุงสุขและพิทักษ์สันติราษฎร์

ระบุว่า ปฏิบัติการตำรวจสลายการผู้ชุมนุมที่มีสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เมื่อค่ำวันที่ 20 มีนาคม 2564 มีการเผยแพร่ภาพผ่านสื่อต่างๆ ปรากฏภาพข้าราชการตำรวจใช้กระบองเข้าไปรุมทุบตีประชาชนทั้งๆ ที่บุคคลดังกล่าวล้มนอนกับพื้นอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถหลบหนีได้แล้ว เป็นภาพที่สะเทือนใจ และเป็นการกระทำน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ตำรวจไทยมี อัตลักษณ์ และค่านิยม ที่ดีงาม ตาม อุดมคติตำรวจ ได้แก่ เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ กรุณาปราณีต่อประชาชน อดทนต่อความเจ็บใจ ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก ไม่มักมากในลาภผล มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ดำรงตนในความยุติธรรม กระทำการด้วยปัญญา รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต

และคำปฏิญาณตำรวจ ตอนหนึ่งที่ว่า จะยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อระงับทุกข์และบำรุงสุขให้แก่ประชาชนตามหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ อุดมคติและคำปฏิญาณดังกล่าว ได้เป็นวัฒนธรรมองค์กรในวิชาชีพตำรวจที่เป็นเอกลักษณ์ตำรวจทุกคนที่ยึดถือปฏิบัติ ได้ถูกทำลายไปจนเป็นปัญหารากเหง้าที่เป็นสาเหตุที่สำคัญที่เคยแสดงความเห็นไปแล้ว คือ

1.หลักคิดปรัชญาและอุดมการณ์ของตำรวจได้เปลี่ยนแปลงไปจาก ตำรวจคือประชาชน ประชาชนคือตำรวจ หรือการรักษาความสงบคือประชาชน ประชาชนคือผู้รักษาความสงบ ซึ่งโจเซฟ กัปตันซามูเอล โจเซฟ โรเบิร์ต ชาวอังกฤษที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ทรงให้มาปฏิรูปตำรวจในครั้งแรก ที่ยังเป็นปรัชญาสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เปลี่ยนไปจากรับใช้ประชาชนเป็นการรับใช้ผู้มีอำนาจและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

2.อิทธิพลอำนาจเผด็จการของนักปฏิวัติ รัฐประหาร และอิทธิพลทางการเมืองระดับประเทศครอบงำดึงตำรวจที่เคยเป็นตำรวจของประชาชนไปอยู่ในมือของผู้มีอำนาจ

3.ภาวะผู้นำตำรวจ อาจกล่าวได้ว่า ตั้งแต่การปฏิวัติยึดอำนาจ พ.ศ.2490 เป็นต้นมา ตำรวจถูกใช้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ และผู้มีอำนาจจะไม่ไว้วางใจ ต้องแต่งตั้งพวกพ้องเป็นอธิบดีกรมตำรวจ (อ.ตร) หรือ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร ) ในปัจจุบัน ล้วนต้องได้รับความเชื่อใจส่วนตัวจากผู้มีอำนาจก่อนและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ภาวะผู้นำตำรวจจึงอ่อนแอ

ถูกผู้มีอำนาจใช้เป็นเครื่องมือ การรัฐประหารเมื่อปี 2557 ประกาศและคำสั่ง หน.คสช. ก็ให้อำนาจ ผบ.ตร. แต่งตั้งโยกย้ายเพียงคนเดียว ทำให้ระบบการบริหารงานบุคคลตำรวจ ที่ถูกพัฒนามานานเป็นระบบคุณธรรม ได้พังทลายหายไป อำนาจตรวจสอบถ่วงดุลไม่มี ภารกิจหลักของตำรวจในการรักษาความสงบสุข ที่เป็นสุดยอดความปรารถนาของประชาชน ถูกเปลี่ยนเป็นอิทธิพลของผู้มีอำนาจ ปรัชญาของตำรวจไทยที่ดีงามในอดีต ที่ว่า ตำรวจคือประชาชน ประชาชนคือตำรวจ ได้สูญหายไป

4.ปัญหากฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ทั้งพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ตาม มาตรา 6 ) ที่สภากำลังพิจารณา กำหนดภารกิจบทบาทอำนาจหน้าที่ตำรวจ ตาม (6) ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย" เห็นควรแก้ไขเปลี่ยนหลักการสำคัญยิ่งคือ หน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และดูแลรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ ที่เป็นปรัชญาตำรวจออกไปจากภารกิจของตำรวจ และตำรวจต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ

มีกฎหมายจำนวนมากที่ขัดหลักการสิทธิมนุษยชน ต้องการบังคับกดทับให้คนในสังคมอยู่ในความสงบเรียบร้อย ที่กฎหมายมักจำกัดการสิทธิเสรีภาพไม่เป็นประชาธิปไตย ตำรวจจึงถูกมองว่าเป็นผู้รับใช้ผู้มีอำนาจไม่รับใช้ประชาชน เช่น พ.ร.บ.ฉุกเฉินในมาตรา 16 และ 17 ที่ให้อำนาจไปจับกุมคุมขัง จำกัดสิทธิเสรีภาพ คุ้มครองทางแพ่ง ทางอาญา ทางวินัย และไม่สามารถฟ้องศาลปกครองได้ เป็นต้น

5.การแต่งตั้งโยกย้ายที่เป็นระบบอุปถัมภ์ ยังมีการแสวงหาผลประโยชน์ เพื่อตำแหน่ง มีการสำรวจพบว่าตำรวจชั้นประทวนที่ทำงานในภูมิลำเนาบ้านเกิดจะมองว่า ทำอย่างไรให้สังคมมีความสุข แต่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ทำอย่างไรให้ตำแหน่งของเราอยู่ ทำยังไงให้รักษาตำแหน่งหรือไปตำแหน่งที่ดีขึ้น เพราะว่าความมั่นคงไม่ได้อยู่ที่ประชาชน แต่อยู่ที่ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง

งานตำรวจไม่ได้ทำงานใน สุญญากาศ ตำรวจคือประชาชน และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม กระบวนการยุติธรรมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ภารกิจตำรวจต้องถูกกำหนดโดยประชาชนและสังคม ไม่ใช่จากนายกรัฐมนตรีและผู้มีอำนาจเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันตำรวจถูกใช้ในภารกิจควบคุมและสลายการชุมนุมที่เป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เป็นการใช้กฎหมายเล็กอยู่เหนือรัฐธรรมนูญและเหนือความยุติธรรม

หวังผลการจับกุม คุมขังจำกัดอิสรภาพ ข่มขู่ ให้ออกจากสังคม ไม่ได้หวังผลในการสั่งฟ้องผู้กระทำผิดตามกระบวนการยุติธรรม มุ่งรักษาความสงบเพื่อให้ผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศ ไม่ได้มุ่งความยุติธรรมและความเสมอภาคเท่าเทียม ภาพพจน์ตำรวจตกต่ำมาก

บุคคลากรในองค์กรตำรวจส่วนใหญ่เป็นคนดี มีความรู้ความสามารถ แต่วิกฤติที่เกิดกับองค์กรตำรวจในขณะนี้ มาจากเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์และหลักการตำรวจไปจากรับใช้ประชาชน เป็นรับใช้ผู้มีอำนาจและใช้กฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ถึงเวลาที่ทุกฝ่ายต้องหันมาร่วมแก้ปัญหาปรัชญาที่ถูกต้องและเป็นสากลสู่องค์กรตำรวจ ได้แก่ ตำรวจคือประชาชน ประชาชนคือตำรวจ เพื่อรักษาความสงบตามรัฐธรรมนูญ บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนตามหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10:15 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์