ศาลรธน.ตีตกคำร้องสนธิญาร้องกลุ่มปชช.ปลดแอกชุมนุมล้มล้างการปกครอง
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง ศาลรธน.ตีตกคำร้องสนธิญาร้องกลุ่มปชช.ปลดแอกชุมนุมล้มล้างการปกครอง
ศาลรธน.ตีตกคำร้อง"สนธิญา"ร้องกลุ่มประชาชนเยาวชนปลดแอกชุมนุมล้มล้างการปกครอง ชี้ต้องแสวงข้อเท็จจริงเพิ่มยังไม่เพียงพอแก่การพิจารณา
ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมปรึกษาพิจารณาคดี เรื่องพิจารณาที่ 16/2563 นายสนธิญา สวัสดี ในฐานะผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 โดยกล่าวอ้างว่ากลุ่มผู้ชุมนุมนักเรียน นิสิต นักศึกษา และกลุ่มประชาชนเยาวชนปลดแอก (Free Youth) ในฐานะผู้ถูกร้องว่ากระทำการจัดการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2563 และวันที่ 10 สิงหาคม 2563 โดยไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ. ศ.2558 และผู้ถูกร้องมีข้อเรียกร้องหลายประการ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ผลการพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องยังไม่เพียงพอเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาให้แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่
ส่วนเรื่องพิจารณาที่ 7/2562 ตามที่ ศาลปกครองนครราชสีมา ส่งคำโต้แย้งของผู้ฟ้องคดีนายชัยมงคล รักษ์มณี ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 212 ว่าพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ 2457 มาตรา 12( 11) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 หรือไม่ ผลการพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญโดยเสียงข้างมาก 6 ต่อ 2 วินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ 2457 มาตรา 12( 11) ที่บัญญัติคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านว่าต้องไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรม นูญมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำผิด ขัดต่อหลักนิติธรรมเป็นการเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิ์หรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ
ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมปรึกษาพิจารณาคดี เรื่องพิจารณาที่ 16/2563 นายสนธิญา สวัสดี ในฐานะผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 โดยกล่าวอ้างว่ากลุ่มผู้ชุมนุมนักเรียน นิสิต นักศึกษา และกลุ่มประชาชนเยาวชนปลดแอก (Free Youth) ในฐานะผู้ถูกร้องว่ากระทำการจัดการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2563 และวันที่ 10 สิงหาคม 2563 โดยไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ. ศ.2558 และผู้ถูกร้องมีข้อเรียกร้องหลายประการ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ผลการพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องยังไม่เพียงพอเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาให้แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่
ส่วนเรื่องพิจารณาที่ 7/2562 ตามที่ ศาลปกครองนครราชสีมา ส่งคำโต้แย้งของผู้ฟ้องคดีนายชัยมงคล รักษ์มณี ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 212 ว่าพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ 2457 มาตรา 12( 11) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 26 หรือไม่ ผลการพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญโดยเสียงข้างมาก 6 ต่อ 2 วินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ 2457 มาตรา 12( 11) ที่บัญญัติคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านว่าต้องไม่เป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรม นูญมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำผิด ขัดต่อหลักนิติธรรมเป็นการเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิ์หรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น