มธ.เปิดผลสอบชุมนุม 10 ส.ค. ปมข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสถาบัน
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง มธ.เปิดผลสอบชุมนุม 10 ส.ค. ปมข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสถาบัน
เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ออกเอกสารชี้แจงเรื่อง "ธรรมศาสตร์" เปิดผลสอบคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงการชุมนุมวันที่ 10 ส.ค. 2563
โดยมีเนื้อหาระบุว่า
จากกรณีที่สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้มอบหมายให้อธิการบดี มธ.แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและรวบรวมข้อเท็จจริงการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 โดยล่าสุดคณะกรรมการฯได้พิจารณาพยานหลักฐานเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีสาระสําคัญ 2 ประเด็น ประกอบด้วย
ยังมีข้อห่วงใยเพิ่มเติมอีก 2 ประเด็น ได้แก่
1.มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาควรกําหนดแนวปฏิบัติภายในอย่างรอบคอบและรัดกุม เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองตามสิทธิพลเมืองที่ได้กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
2.การแสดงออกต่างๆ ถือเป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ทุกฝ่ายจึงพึงระมัดระวังการใช้คําว่า "ธรรมศาสตร์" หรือคําใดๆ ที่ทําให้สังคมเข้าใจว่า เป็นตัวแทนหรือเป็นเจตจํานงร่วมกันของประชาคม ธรรมศาสตร์ทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงการนําไปสู่ประเด็นโต้แย้งและความเสียหายในวงกว้างต่อไป
โดยมีเนื้อหาระบุว่า
จากกรณีที่สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้มอบหมายให้อธิการบดี มธ.แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและรวบรวมข้อเท็จจริงการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 โดยล่าสุดคณะกรรมการฯได้พิจารณาพยานหลักฐานเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีสาระสําคัญ 2 ประเด็น ประกอบด้วย
1.การขออนุญาตชุมนุม พบว่า มหาวิทยาลัยเป็นผู้อนุญาตให้กลุ่มนักศึกษาจัดกิจกรรมการชุมนุมตามเงื่อนไขที่หารือและตกลงร่วมกัน 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายมหาวิทยาลัย ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตํารวจในพื้นที่ และฝ่ายนักศึกษาผู้ขอจัดการชุมนุม ซึ่งจะอยู่บน 3 ข้อเรียกร้อง คือ ยุบสภา ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และหยุดคุกคาม ประชาชน ส่วนประเด็นข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พบว่า มหาวิทยาลัยและเจ้าหน้าที่ตํารวจในพื้นที่ไม่ทราบล่วงหน้าแต่อย่างใด
2.การระงับการชุมนุมเมื่อได้เกิดเหตุการณ์สุ่มเสี่ยง พบว่า การกระทําดังกล่าวอยู่เหนือความคาดหมาย และการป้องกันของมหาวิทยาลัยและเจ้าหน้าที่ตํารวจ โดยเจ้าหน้าที่ตํารวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ได้ เลือกใช้วิธีนุ่มนวลตามแนวทางการปฏิบัติกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุม คือ การรวบรวมข้อมูลและพยานหลักฐาน เพื่อใช้ในการพิจารณาดําเนินคดีกับผู้ที่ละเมิดกฎหมายต่อไปในอนาคตเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งระหว่างกันนอกจากนี้คณะกรรมการฯยังมีข้อห่วงใยเพิ่มเติมอีก 2 ประเด็น ได้แก่
1.มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาควรกําหนดแนวปฏิบัติภายในอย่างรอบคอบและรัดกุม เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองตามสิทธิพลเมืองที่ได้กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
2.การแสดงออกต่างๆ ถือเป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ทุกฝ่ายจึงพึงระมัดระวังการใช้คําว่า "ธรรมศาสตร์" หรือคําใดๆ ที่ทําให้สังคมเข้าใจว่า เป็นตัวแทนหรือเป็นเจตจํานงร่วมกันของประชาคม ธรรมศาสตร์ทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงการนําไปสู่ประเด็นโต้แย้งและความเสียหายในวงกว้างต่อไป
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น