คดีคิงส์เกต ไทม์ไลน์ “บิ๊กตู่” ใช้ม.44 สู้คดีฯ ค่าเสียหายสามหมื่นล้าน
*ปี 2543 คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด จากประเทศออสเตรเลีย ชนะสิทธิสัมปทานการขุดเหมืองในพื้นที่รอยต่อจังหวัดพิจิตร, พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ รวม 5 แปลง บนพื้นที่กว่า 1,259 ไร่
*จากนั้นส่งต่อให้ บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด เป็นผู้ดำเนินกิจการในประเทศไทย
*เกิดความเจริญในพื้นที่ การจ้างงาน และกลายเป็นหน่วยธุรกิจระดับมหภาคที่ส่งให้ชาวบ้านมีงานรองรับ
*ภาครัฐก็ๆด้ประโยชน์โดยเฉพาะภาษีที่ผู้เอาสัมปทานจ่ายให้ตามกฎหมายทุกปี
*ปี 2550 เกิดการชุมนุมต่อต้านการทำเหมืองแร่ทองคำจากชาวอ้างที่ได้รับผลกระทบเป็นมลพิษทางเสียง และสารปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติ
*ปัญหาเรื้อรังตลอดหลายปี มีการตรวจพบสารปนเปื้อน อาทิ แมงกานีส, ไซยาไนต์ และโลหะหนัก ในร่างกายของชาวบ้านละแวกนั้น
*ปี 2559 คสช. มีคำสั่งให้ปิดกิจการเพื่อยุติความขัดแย้ง ให้ระงับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560 เป็นต้นไป
*5 พ.ย. 2560 คิงส์เกท เจ้าของสัมปทานตัวจริง เรียกร้องให้รัฐบาลไทยชดเชยค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
*คิงส์เกต ยกข้อตกลง TAFTA (Thailand-Australia Free Trade Agreement: TAFTA) ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับเสรีด้านการค้าสินค้าบริการและการลงทุน
*รัฐบาลไทย ชูผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การสั่งยุติการทำเหมืองทองอัครา เป็นการทำเพื่อความปลอดภัยของประชาชนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้คดีคิงส์เกต ถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้งหลังมีการเผยแพร่เอกสารวิเคราะห์งบปี 64 ของกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุ "งบดำเนินการระงับข้อพิพาท" 111 ล้านบาท รวมงบ 3 ปี กว่า 388 ล้านบาท ซึ่งหากแพ้คดีจะเกิดคำถามว่า "ค่าชดเชย 3 - 4 หมื่นล้านบาท" ผู้ใดจะจ่าย? เนื่องจากคำสั่งระงับกิจการเหมืองออกมาโดย ม.44 โดย คสช. ซึ่งพลเอกประยุทธ์ เคยกล่าวในที่ประชุมครม.ว่า "ผมจะรับผิดชอบเรื่องนี้เอง"