‘โบว์’ โพสต์หนุนจุดยืน ‘ไอติม’ เซฟนิวเดมแห่ง ปชป.
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง ‘โบว์’ โพสต์หนุนจุดยืน ‘ไอติม’ เซฟนิวเดมแห่ง ปชป.
น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ "โบว์ แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงกรณีที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือไอติม สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ที่โพสต์ข้อความแสดงจุดยืน ถึงการขอให้พรรคประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายค้านอิสระ
โดยระบุว่า
"วันนี้ไอติมโพสต์จุดยืนซ้ำ และยืนยันด้วยข้อความเพิ่มเติมข้างล่างนี้ เขาคืออีกคนที่ต้องการสู้ให้ถึงที่สุดจนนาทีสุดท้าย เพื่อรักษาหลักการให้บ้านเมือง อย่าให้เยาวชนมากมายที่เฝ้าดูอยู่ต้องสูญเสียศรัทธาจากการเห็นคนที่ควรมีวุฒิภาวะมากกว่ามาทำลายความเชื่อในความสุจริตไป
โดยระบุว่า
"วันนี้ไอติมโพสต์จุดยืนซ้ำ และยืนยันด้วยข้อความเพิ่มเติมข้างล่างนี้ เขาคืออีกคนที่ต้องการสู้ให้ถึงที่สุดจนนาทีสุดท้าย เพื่อรักษาหลักการให้บ้านเมือง อย่าให้เยาวชนมากมายที่เฝ้าดูอยู่ต้องสูญเสียศรัทธาจากการเห็นคนที่ควรมีวุฒิภาวะมากกว่ามาทำลายความเชื่อในความสุจริตไป
ไม่มีอะไรจะเลวร้ายกว่าการเปิดทางให้ความอยุติธรรมได้พิสูจน์ตัวเอง ว่าหากแสดงตนอย่างอุกอาจมากพอ มันสามารถเอาชนะทุกอย่างได้จริง"
โดยก่อนหน้านี้ นาย พริษฐ์ ได้โพสต์ ข้อความประกาศจุดยืนของตนต่อทิศทางทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ว่า
ขออนุญาตย้ำจุดยืนเดิมอีกครั้งในฐานะสมาชิกพรรคตัวเล็กๆคนหนึ่ง ก่อนที่คำพูดของผมจะไม่มีประโยชน์แล้ว...
ผมยื่นข้อเสนอนี้ หลังเลือกตั้งไม่นาน 2 เดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสพูดคุยรับฟังกับหลากหลายความคิดเห็นและอธิบายทุกข้อสงสัย
มาถึงวันนี้ ผมมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศในความคิดเห็นของผม ซึ่งตอนนี้ตกอยู่ในมือของพรรคประชาธิปัตย์ คือการที่พรรคทำหน้าที่เป็น ฝ่ายค้านอิสระ และไม่ร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากโพสต์ดั้งเดิม
1. อย่าบอกว่า "ฝ่ายค้านอิสระไม่มีจริง"
- ถ้าไม่เห็นด้วยไม่เป็นไร ไม่เลือกทางนี้ก็ไม่ว่า แต่อย่าปฏิเสธว่าไม่มีจริง เพราะการที่พรรคฝ่ายค้านมีหลายพรรคและไม่ได้เห็นด้วยกันหมดทุกเรื่อง เป็นเรื่องปกติในระบบรัฐสภา ซึ่งก็มีอยู่จริง ณ ปัจจุบัน ในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ที่มีรัฐบาลเสียงข้างน้อย ที่ต้องพึ่งเสียงสนับสนุนจากบางพรรคฝ่ายค้านเป็นกรณีๆไป
2. อย่าผูกขาดกับคำว่า "ทำเพื่อชาติ"
- ผมเชื่อว่าทุกคนที่ไปใช้สิทธิ์ในวันเลือกตั้ง เชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่าพรรคที่เขาเลือกเป็นพรรคที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ เป็นเรื่องปกติที่คนเรามีความคิดเห็นต่างกันว่าอะไรดีที่สุดสำหรับประเทศ เพราะฉะนั้นอย่ามองว่าถ้าจะทำเพื่อชาติ ต้องเลือกไปด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
3. อย่ามองว่า "ฝ่ายค้านทำประโยชน์ให้กับชาติไม่ได้"
- ถ้าพรรคจะเอาการผลักดันนโยบายของเราเป็นตัวตั้ง ผมก็ยังคิดว่าการเป็นฝ่ายอิสระที่ต่อรองนโยบายกับรัฐบาลที่อาจต้องพึ่งเสียงเราในสภาทุกครั้งที่ผ่านกฎหมาย ยังมีโอกาสต่อรองนโยบายได้ดีกว่าการเข้าร่วมรัฐบาล
4. อย่าให้คุณค่ามากจนเกินไปกับคำว่า "เสถียรภาพ"
- แน่นอนว่าประเทศต้องมั่นคง แต่ถ้าเสถียรภาพเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เราคงไม่เห็นความต้องการของประชาชนที่อยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงสูงเท่ากับที่แสดงออกผ่านผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา เพราะ 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไม่ได้ขาด "เสถียรภาพ" แต่ขาดการ "ตรวจสอบถ่วงดุล" ในระบบรัฐสภาที่เข้มข้น ที่คอยช่วยเตือนสติรัฐบาลเวลาการกระทำไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน (ยิ่งไปกว่านั้น การร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐก็ยังไม่ได้นำมาแม้กระทั่งเสถียรภาพ เพราะจะมีเสียงแค่ปริ่มน้ำ)
5. อย่าปล่อยให้สภาเป็นเพียงเครื่องมือของฝ่ายบริหารอย่างเบ็ดเสร็จ
- เหตุการณ์ต่างๆในวันแรกของสภา ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนประชุมโดยไม่ให้เหตุผลที่ชัดเจนกับประชาชน หรือ การพยายามจะใช้เสียงข้างมากกดดันให้ประธานสภาอนุญาตให้สมาชิกบางคนเปลี่ยนคำตอบที่ลงมติไปแล้ว แสดงให้เห็นว่าพรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้มีความต้องการที่จะให้สภาเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความเห็นและเป็นกระบอกเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง นี่ไม่ใช่หรือคือ "เผด็จการรัฐสภา" ที่พรรคประชาธิปัตย์เคยต่อสู้มาโดยตลอด?
ผมเข้าใจว่าภาพที่ออกไปทำให้ประชาชนหลายคนอดคิดไม่ได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจแล้ว แต่ในเมื่อวันนี้ ท่านชวนได้รับเลือกเป็นประธานสภาและพรรคยังไม่มีมติร่วมรัฐบาล ผมหวังว่ายังไม่สายไป ที่เราจะตัดสินใจเลือกเป็นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเป็นกลาง และทำหน้าที่ฝ่ายค้านอิสระ เพื่อทำให้การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง 500 คน ที่มาจากเสียงของประชาชน และเพื่อทำหน้าที่แทนประชาชนในการตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล ต่อรองนโยบายและกฎหมายเพื่อประชาชน และหยุดการสืบทอดอำนาจที่เราอาจจะยับยั้งไม่ได้ด้วยวิธีอื่นในกรอบของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
ขออนุญาตย้ำจุดยืนเดิมอีกครั้งในฐานะสมาชิกพรรคตัวเล็กๆคนหนึ่ง ก่อนที่คำพูดของผมจะไม่มีประโยชน์แล้ว...
ผมยื่นข้อเสนอนี้ หลังเลือกตั้งไม่นาน 2 เดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสพูดคุยรับฟังกับหลากหลายความคิดเห็นและอธิบายทุกข้อสงสัย
มาถึงวันนี้ ผมมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศในความคิดเห็นของผม ซึ่งตอนนี้ตกอยู่ในมือของพรรคประชาธิปัตย์ คือการที่พรรคทำหน้าที่เป็น ฝ่ายค้านอิสระ และไม่ร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากโพสต์ดั้งเดิม
1. อย่าบอกว่า "ฝ่ายค้านอิสระไม่มีจริง"
- ถ้าไม่เห็นด้วยไม่เป็นไร ไม่เลือกทางนี้ก็ไม่ว่า แต่อย่าปฏิเสธว่าไม่มีจริง เพราะการที่พรรคฝ่ายค้านมีหลายพรรคและไม่ได้เห็นด้วยกันหมดทุกเรื่อง เป็นเรื่องปกติในระบบรัฐสภา ซึ่งก็มีอยู่จริง ณ ปัจจุบัน ในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ที่มีรัฐบาลเสียงข้างน้อย ที่ต้องพึ่งเสียงสนับสนุนจากบางพรรคฝ่ายค้านเป็นกรณีๆไป
2. อย่าผูกขาดกับคำว่า "ทำเพื่อชาติ"
- ผมเชื่อว่าทุกคนที่ไปใช้สิทธิ์ในวันเลือกตั้ง เชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่าพรรคที่เขาเลือกเป็นพรรคที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ เป็นเรื่องปกติที่คนเรามีความคิดเห็นต่างกันว่าอะไรดีที่สุดสำหรับประเทศ เพราะฉะนั้นอย่ามองว่าถ้าจะทำเพื่อชาติ ต้องเลือกไปด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
3. อย่ามองว่า "ฝ่ายค้านทำประโยชน์ให้กับชาติไม่ได้"
- ถ้าพรรคจะเอาการผลักดันนโยบายของเราเป็นตัวตั้ง ผมก็ยังคิดว่าการเป็นฝ่ายอิสระที่ต่อรองนโยบายกับรัฐบาลที่อาจต้องพึ่งเสียงเราในสภาทุกครั้งที่ผ่านกฎหมาย ยังมีโอกาสต่อรองนโยบายได้ดีกว่าการเข้าร่วมรัฐบาล
4. อย่าให้คุณค่ามากจนเกินไปกับคำว่า "เสถียรภาพ"
- แน่นอนว่าประเทศต้องมั่นคง แต่ถ้าเสถียรภาพเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาประเทศและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เราคงไม่เห็นความต้องการของประชาชนที่อยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงสูงเท่ากับที่แสดงออกผ่านผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา เพราะ 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไม่ได้ขาด "เสถียรภาพ" แต่ขาดการ "ตรวจสอบถ่วงดุล" ในระบบรัฐสภาที่เข้มข้น ที่คอยช่วยเตือนสติรัฐบาลเวลาการกระทำไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน (ยิ่งไปกว่านั้น การร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐก็ยังไม่ได้นำมาแม้กระทั่งเสถียรภาพ เพราะจะมีเสียงแค่ปริ่มน้ำ)
5. อย่าปล่อยให้สภาเป็นเพียงเครื่องมือของฝ่ายบริหารอย่างเบ็ดเสร็จ
- เหตุการณ์ต่างๆในวันแรกของสภา ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนประชุมโดยไม่ให้เหตุผลที่ชัดเจนกับประชาชน หรือ การพยายามจะใช้เสียงข้างมากกดดันให้ประธานสภาอนุญาตให้สมาชิกบางคนเปลี่ยนคำตอบที่ลงมติไปแล้ว แสดงให้เห็นว่าพรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้มีความต้องการที่จะให้สภาเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความเห็นและเป็นกระบอกเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง นี่ไม่ใช่หรือคือ "เผด็จการรัฐสภา" ที่พรรคประชาธิปัตย์เคยต่อสู้มาโดยตลอด?
ผมเข้าใจว่าภาพที่ออกไปทำให้ประชาชนหลายคนอดคิดไม่ได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจแล้ว แต่ในเมื่อวันนี้ ท่านชวนได้รับเลือกเป็นประธานสภาและพรรคยังไม่มีมติร่วมรัฐบาล ผมหวังว่ายังไม่สายไป ที่เราจะตัดสินใจเลือกเป็นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเป็นกลาง และทำหน้าที่ฝ่ายค้านอิสระ เพื่อทำให้การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง 500 คน ที่มาจากเสียงของประชาชน และเพื่อทำหน้าที่แทนประชาชนในการตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล ต่อรองนโยบายและกฎหมายเพื่อประชาชน และหยุดการสืบทอดอำนาจที่เราอาจจะยับยั้งไม่ได้ด้วยวิธีอื่นในกรอบของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น