‘อดีต กกต.’ สอน ‘กกต.รุ่นน้อง’ พรรคที่ได้ไม่ถึง 71,000 กว่าคะแนน ไม่มีสิทธิ์ได้ ส.ส.พึ่งมี ชี้อ่านกฎหมายให้แตก!
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง ‘อดีต กกต.’ สอน ‘กกต.รุ่นน้อง’ พรรคที่ได้ไม่ถึง 71,000 กว่าคะแนน ไม่มีสิทธิ์ได้ ส.ส.พึ่งมี ชี้อ่านกฎหมายให้แตก!
วันที่ 15 เม.ย. นายสมชัย จึงประเสริฐ อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นกรณีของสูตรในการคำนวนจำนวน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งกำลังเป็น ที่ถกเถียงกันอยู่ ณ.ช่วงเวลานี้ โดยตอนหนึ่ง อดีต กกต.สมชัย จึงประเสริฐ ได้กล่าวต่อนหนึ่งว่า
“ให้ยึดหลักเกณฑ์ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ม.91 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 128 ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ ในการคำนวนหา ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็น 2 กรณี โดยกรณีแรก คือการคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบ “ไม่มีโอเวอร์แฮงค์” (จำนวน ส.ส.เขต น้อยกว่าจำนวน ส.ส.พึงมี) โดยได้วางหลักไว้ว่า ให้เอาคะแนนมาลบกัน โดยผลลบนั้น คือ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ส่วนกรณี ที่ 2 ในกรณีที่เกิด “โอเวอร์แฮงค์” คือ พรรคการเมือง ที่ ส.ส.เขต มากกว่า ส.ส.พึงมีนั้น (ในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือพรรคเพื่อไทย) จะไม่ได้รับจัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยให้มีเฉพาะ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น
และให้นำ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด (150คน) ไปจัดสรร ให้แก่พรรคการเมือง ที่มี ส.ส. แบ่งเขต ที่ได้ต่ำกว่าจำนวน ส.ส.พึงมี โดยจัดสรรกันตามอัตราส่วน ไม่ใช่ให้เอาไปลบกัน เหมือนวิธีแรก ซึ่งตามอัตราส่วนครั้งนี้คือ 1 ส.ส.บัญชีรายชื่อ = 71,000 กว่าของผู้ที่เลือกพรรคการเมืองนั้น ดังนั้น พรรคการเมือง ที่ได้ต่ำจากนี้ ก็จะไม่มีสิทธิ์ ได้ ส.ส. แม้แต่ที่นั่งเดียว เพราะมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 128 (5) ได้ล็อกเอาไว้แล้ว
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ได้บัญญัติไว้ดังนี้
ในกรณีที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งครบทุกเขตเลือกตั้งแล้ว การคํานวณหา จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จะพึงได้รับ ให้คํานวณตามวิธีการดังต่อไปนี้ โดยในกรณีที่มีเศษให้ใช้ทศนิยม สี่ตําแหน่ง
(๕) ถ้าพรรคการเมืองใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
เท่ากับหรือสูงกว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่ีพรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ ให้พรรคการเมืองนั้น มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจํานวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
และไม่มีสิทธิได้รับ การจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และให้นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต่่ำกว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ ตามอัตราส่วน แต่ต้อง ไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมีได้ตาม
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น