ธนาธร - ปิยบุตร แถลงด่วน 4ข้อเห็นต่าง ปมยุบไทยรักษาชาติ(คลิป)
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวการเมือง ธนาธร - ปิยบุตร แถลงด่วน 4ข้อเห็นต่าง ปมยุบไทยรักษาชาติ(คลิป)
หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติเมื่อช่วงเย็นวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา ล่าสุด นาย ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ออกแถลงต่อสื่อถึงกรณีดังกล่าว โดยมองว่าการยุบพรรคถือเป็นการทำลายเจตจำนงของประชาชนอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับพรรคที่ต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. พร้อมวอนประชาชนให้ร่วมใจใช้สิทธิเลือกตั้ง‘จับปากกาฆ่าเผด็จการ' เพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช.
โดยนาย ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวว่า
1. ในรัฐเสรีประชาธิปไตย บุคคลที่มีแนวคิดอุดมการณ์เดียวกันย่อมมีเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐโดยผ่านการนำเสนอนโยบายเพื่อให้ประชาชนเลือก พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันการเมืองอันสำคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตย การยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น
2. ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา มีกระบวนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง มีการยุบพรรคการเมืองซึ่งครองเสียงข้างมากมาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีต่อระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ตรงกันข้าม การยุบพรรคการเมืองกลับทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยต่อการใช้อำนาจขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ จนทำให้ประเทศไทยเดินทางมาถึงจุดที่ไม่อาจหา ‘ข้อยุติ' ที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้
3. การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลาก่อนถึงวันเลือกตั้งเพียง 17 วัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ด้วย ในประการแรก การยุบพรรคการเมืองเป็นการตัดโอกาสมิให้พรรคการเมืองที่ถูกยุบได้เข้าแข่งขันในการเลือกตั้ง และทำลายเจตจำนงของประชาชนที่ต้องการเลือกพรรคการเมืองที่ถูกยุบ ประการที่สอง การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลานี้อาจทำให้ประชาชนเสียความเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะดำเนินไปอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพรรคที่ถูกยุบเป็นพรรคที่มีจุดยืนต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช.
4. ในรัฐเสรีประชาธิปไตย ประกอบไปด้วยความชอบธรรมสองประการ ประการแรก ความชอบธรรมจากฐานที่มาของอำนาจรัฐ ได้แก่ อำนาจของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การเลือกผู้แทนราษฎรและรัฐบาล ประการที่สอง ความชอบธรรมจากการจำกัดการใช้อำนาจ ได้แก่ การประกันเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกอำนาจรัฐล่วงละเมิด และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พรรคอนาคตใหม่ยืนยันว่า ในรัฐเสรีประชาธิปไตย สถาบันทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องถูกตรวจสอบ เช่นเดียวกัน รัฐเสรีประชาธิปไตยก็ไม่อาจยอมรับให้องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสามารถใช้อำนาจในนามของการตรวจสอบตามอำเภอใจ
ขบวนการ ‘ตุลาการภิวัฒน์' หรือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองตลอดกว่าทศวรรษ ไม่ได้ช่วยให้ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง แต่กลับทำให้ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจถูกตั้งคำถาม จนกลายเป็นว่าฝ่ายหนึ่งก็มองว่ารัฐบาลเสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบ อีกฝ่ายหนึ่งก็มองว่าองค์กรตุลาการและองค์กรอิสระต้องการทำลายฝ่ายเสียงข้างมาก สภาพการณ์เช่นนี้นำมาซึ่งการแตกขั้วทางการเมืองจนถึงที่สุด จนสังคมไทยไม่อาจหาฉันทามติได้
"ถึงเวลาแล้วที่เราจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ ให้ได้ดุลยภาพ เคารพเสียงข้างมากพร้อมกับคุ้มครองเสียงข้างน้อย สร้างระบบ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระที่ได้มาตรฐานตามแบบประชาธิปไตยสากล และสามารถควบคุมมิให้เสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบได้โดยต้องไม่ตกเป็น ‘เครื่องมือ' ในการกวาดล้างทางการเมือง" ปิยบุตร กล่าว
นอกจากนี้ พรรคอนาคตใหม่ยังได้เรียกร้องให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 เพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. พิสูจน์ให้เห็นว่า แม้ระบอบเผด็จการได้วางกลไกการสืบทอดอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญและกฎหมายไว้ แต่ก็ไม่อาจต้านทานอำนาจของประชาชนได้ 24 มีนาคม 2562 "จับปากกาฆ่าเผด็จการ เริ่มต้นยุติวงจรรัฐประหาร เปิดฉากการเมืองแบบใหม่ที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน"
โดยนาย ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวว่า
1. ในรัฐเสรีประชาธิปไตย บุคคลที่มีแนวคิดอุดมการณ์เดียวกันย่อมมีเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐโดยผ่านการนำเสนอนโยบายเพื่อให้ประชาชนเลือก พรรคการเมืองจึงเป็นสถาบันการเมืองอันสำคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตย การยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น
2. ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา มีกระบวนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง มีการยุบพรรคการเมืองซึ่งครองเสียงข้างมากมาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีต่อระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ตรงกันข้าม การยุบพรรคการเมืองกลับทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยต่อการใช้อำนาจขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ จนทำให้ประเทศไทยเดินทางมาถึงจุดที่ไม่อาจหา ‘ข้อยุติ' ที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้
3. การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลาก่อนถึงวันเลือกตั้งเพียง 17 วัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้นนี้ด้วย ในประการแรก การยุบพรรคการเมืองเป็นการตัดโอกาสมิให้พรรคการเมืองที่ถูกยุบได้เข้าแข่งขันในการเลือกตั้ง และทำลายเจตจำนงของประชาชนที่ต้องการเลือกพรรคการเมืองที่ถูกยุบ ประการที่สอง การยุบพรรคการเมืองในช่วงเวลานี้อาจทำให้ประชาชนเสียความเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะดำเนินไปอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพรรคที่ถูกยุบเป็นพรรคที่มีจุดยืนต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช.
4. ในรัฐเสรีประชาธิปไตย ประกอบไปด้วยความชอบธรรมสองประการ ประการแรก ความชอบธรรมจากฐานที่มาของอำนาจรัฐ ได้แก่ อำนาจของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมือง การเลือกผู้แทนราษฎรและรัฐบาล ประการที่สอง ความชอบธรรมจากการจำกัดการใช้อำนาจ ได้แก่ การประกันเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกอำนาจรัฐล่วงละเมิด และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พรรคอนาคตใหม่ยืนยันว่า ในรัฐเสรีประชาธิปไตย สถาบันทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องถูกตรวจสอบ เช่นเดียวกัน รัฐเสรีประชาธิปไตยก็ไม่อาจยอมรับให้องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสามารถใช้อำนาจในนามของการตรวจสอบตามอำเภอใจ
ขบวนการ ‘ตุลาการภิวัฒน์' หรือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองตลอดกว่าทศวรรษ ไม่ได้ช่วยให้ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง แต่กลับทำให้ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจถูกตั้งคำถาม จนกลายเป็นว่าฝ่ายหนึ่งก็มองว่ารัฐบาลเสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบ อีกฝ่ายหนึ่งก็มองว่าองค์กรตุลาการและองค์กรอิสระต้องการทำลายฝ่ายเสียงข้างมาก สภาพการณ์เช่นนี้นำมาซึ่งการแตกขั้วทางการเมืองจนถึงที่สุด จนสังคมไทยไม่อาจหาฉันทามติได้
"ถึงเวลาแล้วที่เราจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ ให้ได้ดุลยภาพ เคารพเสียงข้างมากพร้อมกับคุ้มครองเสียงข้างน้อย สร้างระบบ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระที่ได้มาตรฐานตามแบบประชาธิปไตยสากล และสามารถควบคุมมิให้เสียงข้างมากใช้อำนาจโดยมิชอบได้โดยต้องไม่ตกเป็น ‘เครื่องมือ' ในการกวาดล้างทางการเมือง" ปิยบุตร กล่าว
นอกจากนี้ พรรคอนาคตใหม่ยังได้เรียกร้องให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 เพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. พิสูจน์ให้เห็นว่า แม้ระบอบเผด็จการได้วางกลไกการสืบทอดอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญและกฎหมายไว้ แต่ก็ไม่อาจต้านทานอำนาจของประชาชนได้ 24 มีนาคม 2562 "จับปากกาฆ่าเผด็จการ เริ่มต้นยุติวงจรรัฐประหาร เปิดฉากการเมืองแบบใหม่ที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน"
รับชมคลิป
VVVVVVVV
VVVVV
VVVVVVVV
VVVVVVVVVV
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น