20 ปี คดีมรดก “4 พันล้าน” ของบ้าน “คงสมพงษ์”


20 ปี คดีมรดก “4 พันล้าน” ของบ้าน “คงสมพงษ์”

มองสัมพันธ์ ทักษิณ-บิ๊กจ๊อด ผ่านรายงานการตรวจสอบทรัพย์สิน 3.9 พันล้านบาท

ผลการศึกษาของกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ วุฒิสภา เมื่อปี 2546 เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินของ พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ มีหลายเรื่องที่น่าสนใจและยังทันสมัยจนปัจจุบัน 

ความเป็นมา
15 ก.ย. 2542 นางอัมพาพันธ์ ธนเดชสุนทร ภรรยาของ พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และหัวหน้าคณะรัฐประหาร 23 ก.พ. 2534 และ พล.อ.สมโภชน์ สุนทรมณี อดีตนายทหารคนสนิทของ พล.อ. สุนทร ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้ศาลมีคำสั่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พล.อ. สุนทร แต่ พ.อ.(หญิง) คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์ อดีตภรรยา และบุตรชาย 2 คน คือ พ.ท. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ และ พ.ต. ณัฐพร คงสมพงษ์ (ยศขณะนั้น) เป็นผู้คัดค้าน เนื่องจากก่อน พล.อ. สุนทร เสียชีวิต เขาได้ทำพินัยกรรม 2 ฉบับ มอบให้นางอัมพาพันธ์ และ พล.อ. สมโภชน์ เป็นผู้ดำเนินการจัดการมรดกและดำเนินการจัดพิธีศพ นอกจากเป็นผู้คัดค้านแล้ว พ.อ. (หญิง) คุณหญิงอรชร และบุตรชายทั้งสอง ก็เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนางอัมพาพันธ์กับพวกรวม 12 คน เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมและเรียกคืนทรัพย์สินมูลค่ารวม 3.9 พันล้านบาท ครบรอบ 28 ปีรัฐประหาร 23 ก.พ. จากพ่อสู่ลูก "คงสมพงษ์" ที่ยืนยง "ปกป้องราชบัลลังก์" พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์: 7 ประเด็นวางรากฐานกองทัพมั่นคง ทักษิณ ชินวัตร กับ 3 ความผิดพลาดราคาแพง
คดีที่มีมูลค่าสูงเกือบ 4 พันล้านบาท ดึงดูดความสนใจจากสื่อมวลชนจำนวนมาก ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมมากมายถึงที่มาของทรัพย์สินจำนวนดังกล่าวของ พล.อ. สุนทร อดีตประธานสภาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) หรือ "บิ๊กจ๊อด" ที่โค่นล้มรัฐบาลของ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อ 23 ก.พ. 2534 ในข้อหาเป็น "รัฐบาลมีพฤติการณ์ฉ้อราษฎร์บังหลวง"

คดีดังกล่าวยืดเยื้อไปกว่า 3 ปี และสิ้นสุดลงเมื่อ 18 พ.ย. 2545 เมื่อทนายความของทั้งสองฝ่ายทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาล มีสาระสำคัญ รวม 5 ข้อ หนึ่งในนั้นคือ นางอัมพาพันธ์ ตกลงแบ่งทรัพย์มรดกของ พล.อ. สุนทรให้แก่ พ.อ. (หญิง) คุณหญิงอรชร และบุตรทั้งสองคน เป็นเงินสด 21 ล้านบาท ที่ดิน จ.จันทบุรี จำนวน 21 ไร่ 2 งาน 77 ตารางวา โดยไม่ติดใจเรียกร้องทรัพย์สินอื่นจากคู่กรณี 



20 ปี คดีมรดก “4 พันล้าน” ของบ้าน “คงสมพงษ์”

ปฏิกริยารัฐบาลทักษิณ
9 ก.พ. 2544 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ท่ามกลางความกังขาของสื่อมวลชนต่อสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างเขาและ พล.อ. สุนทร  หนังสือพิมพ์หลายฉบับโยงภาพการปรากฏตัวของ พล.อ. สุนทร ที่ประเทศเฟรนช์กีอานา เมื่อ 18 ธ.ค. 2536 วันที่ดาวเทียมไทยคมถูกยิงขึ้นฟ้าพร้อมวรรคทองของทักษิณที่บอกในวงสนทนาของงานเลี้ยงรับรองว่า "ถ้าไม่มี พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ก็คงไม่มีวันนี้" ผนวกกับภาพ "ทักษิณ-คุณหญิงพจมาน" ยืนเคียงคู่กับ พล.อ. สุนทร และนางอัมพาพันธ์ ในอดีต ถูกนำมาขยายความถึงสายสัมพันธ์ของเขากับ "บิ๊กจ๊อด" ปฏิกิริยาที่นิ่งเพื่อประเมินกระแสของ "ทักษิณ" ถูกตีความว่าไม่กล้าทำอะไรเพราะบุญคุณที่ พล.อ. สุนทร เคยช่วยเหลือ ขณะที่หลายฝ่ายพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลทักษิณ ตรวจสอบทรัพย์สินของ บิ๊กจ๊อด อย่างจริงจัง สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักวิจารณ์ปากกล้าให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในเวลานั้นว่า รสช. เข้ามาทำลายประชาธิปไตย มีผลพลอยได้หลายอย่าง นอกจากได้เมียแล้วยังได้ทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล รัฐบาลต้องทำหน้าที่ตรวจสอบว่าเงินเหล่านั้นได้มาอย่างไรและเสียภาษีหรือไม่ มีหนทางที่จะริบทรัพย์สินเหล่านั้นได้หรือไม่ เพื่อเอามาเป็นของบ้านเมือง ภายหลังถูกกดดันอย่างหนัก ทักษิณ ชี้แจงว่า "รัฐบาลติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด แต่กำลังดูว่าควรจะเข้าไปมากน้อยแค่ไหนอย่างไร และเมื่อไร รัฐบาลไม่ได้นิ่งดูดาย เพียงแต่การเป็นรัฐบาล จะคิดพูดหรือทำอะไรต้องเหมาะสม เราคงทำตามกระแสอย่างเดียวไม่ได้ ขณะเดียวกันถ้าไม่ฟังกระแสก็ไม่ได้" ด้านพรรคฝ่ายค้านเตรียมตั้งกระทู้ถามเรื่องเงิน 3.9 พันล้านบาท แต่ทักษิณกลับเลี่ยงไม่ไปตอบกระทู้ จน สาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งสร้างความชัดเจน



20 ปี คดีมรดก “4 พันล้าน” ของบ้าน “คงสมพงษ์”

"นายกฯ ควรทำเรื่องนี้ให้ชัด อย่าไปกลัวว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์กับใคร หรือกระทบต่อบุญคุณ เพราะท่านเป็นนายกฯ แล้วต้องทิ้งอดีตให้ได้" ต่อข้อซักถามถึงสัมพันธ์อันแนบแน่นและอาจเกี่ยวพันไปถึงเรื่องสัมปทานดาวเทียมนั้น ทักษิณชี้แจงว่ารู้จักกับคนทั่วไปหมด การพูดจารู้จักกันเป็นเรื่องธรรมดา และในขณะนั้น พล.อ. สุนทร ก็ไม่มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีชุดของ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี "ผมไม่เคยขอให้ท่านช่วย และไม่เคยให้หุ้นบริษัทในราคาพาร์แก่ใคร และไม่ทราบความเป็นมาของทรัพย์สิน พล.อ. สุนทร ซึ่งการตรวจสอบทรัพย์สินของ พล.อ. สุนทร รัฐบาลจะทำหน้าที่ตามที่มีอำนาจ" ทักษิณ กล่าว  จนกระทั่ง 27 มี.ค. 2544 คณะรัฐมนตรีได้มีมติตั้งคณะกรรมการตรวจสอบกรณีการร่ำรวยผิดปกติในภาพกว้างไม่ได้เจาะจงกรณีใดเป็นพิเศษ ซึ่งถูกมองว่าเพื่อเป็นการลดกระแสกดดันจากสังคม แต่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ยุติธรรมขณะนั้น ชี้แจงว่า การตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าว ไม่ใช่การกลบเกลื่อนหรือจงปกปิดใดๆ กรรมการชุดนี้มี ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รมว. มหาดไทย เป็นประธาน หลังการแต่งตั้งไม่นาน ร.ต.อ. ปุระชัย กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าส่งเรื่องให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ตรวจสอบ โดยขอเวลา 6 เดือนพิจารณา แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีข่าวความคืบหน้าออกมา  



20 ปี คดีมรดก “4 พันล้าน” ของบ้าน “คงสมพงษ์”

วุฒิสภาตั้งกรรมการสอบ
30 มี.ค. 2544 พ.อ. สมคิด ศรีสังคม ส.ว.อุดรธานี ที่มาจากการเลือกตั้งขณะนั้นได้ เสนอเป็นญัตติด่วนต่อที่ประชุมวุฒิสภา ให้พิจารณาเรื่องกองมรดกของ พล.อ. สุนทร ว่ามากมายอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวหรือไม่และมีที่มาที่ไปอย่างไร ซึ่งในที่ประชุมมีทั้งฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการหยิบยกเรื่องนี้มาตรวจสอบ ในที่สุดต้องใช้การลงมติตัดสินโดยที่ประชุมได้มีมติ 86 ต่อ 56 เสียงให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ซึ่งมี ทองใบ ทองเปาด์ ส.ว.มหาสารคาม เป็นประธาน พร้อม กมธ. 20 คน อาทิ การุณ ใสงาม, ชุมพล ศิลปอาชา, พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพ, ภูมิธรรม เวชยชัย, แก้วสรร อติโพธิ, เตือนใจ ดีเทศน์, พ.อ. สมคิด ศรีสังคม รวมทั้ง พล.ต.ท. วาสนา เพิ่มลาภ (ยศขณะนั้น) ซึ่งต่อมา ภูมิธรรม และ พล.ต.ท. วาสนา ได้ขอลาออกจากตำแหน่งใน กมธ.แต่การทำงานของ กมธ. ชุดนี้ดูจะไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งด้วยอำนาจหน้าที่ที่มีจำกัด ตลอดจนกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคจนไม่อาจเรียกข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ทำให้ กมธ. ชุดนี้ต้องขยายเวลาการพิจารณาออกไปถึง 6 ครั้ง รวมเวลากว่า 2 ปี จนสรุปเป็นรายงาน 172 หน้า เสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อ 14 พ.ย. 2546



20 ปี คดีมรดก “4 พันล้าน” ของบ้าน “คงสมพงษ์”

ภารกิจที่ได้รับมอบหมายคือให้หาคำตอบให้สาธารณะให้ได้ว่า "กรณีที่เป็นข่าวตามคำฟ้องนั้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร จำนวนทรัพย์สินที่ปรากฏตามคำฟ้องมีอยู่จริงหรือไม่ ถ้ามีอยู่จริงมีที่มาอย่างไร และได้มาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่"
3.9 พันล้านบาทมีอยู่จริงไหมรายงานของ กมธ. สรุปว่า มูลค่าทรัพย์สิน 3.9 พันล้านบาท "เป็นตัวเลขที่เกิดจากการประเมินทรัพย์สินที่สูงเกินความเป็นจริง และห่างจากราคาที่ฟ้องร้องมาก" โดยมีสาเหตุเพราะผู้ฟ้องร้องคดีต้องการให้ประเมินราคาสูงที่สุด เพราะศาลจะตัดสินให้คืนทรัพย์สินไม่เกินจำนวนที่เรียกร้อง ในกรณีที่ชนะคดี และการฟ้องร้องเรียกทรัพย์สินคืนเท่าไหร่ก็เสียค่าธรรมเสียงไม่เกิน 2 แสนบาทเท่ากัน ตัวอย่างเช่น การประเมินรายการที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างตามคำฟ้อง 9 รายการ กมธ. พบว่า มียอดคำฟ้องสูงถึง 675,532,000 บาท ในขณะที่ กรมที่ดินประเมินไว้เพียง 67,506,300 บาท ซึ่งราคาคำฟ้องสูงกว่าถึง 10 เท่า อีกทั้งในส่วนของยอดเงินในบัญชีเงินฝาก 15 บัญชี ที่มีจำนวนสูงถึง 2,755,350,456 บาท จากการตรวจสอบพบว่า "น่าจะเป็นการนำรายการฝากเงินและรายการถอนเงินทั้งหมดมารวมกันหมดทุกรายการ ตั้งแต่เปิดบัญชีจนถึงวันฟ้อง จึงทำให้ตัวเลขเงินฝากในบัญชีธนาคารสูงเป็นสองพันกว่าล้าน"

"ไม่ปรากฏ...มีทรัพย์สินเกินฐานะความเป็นอยู่"
ส่วนประเด็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิน กมธ.แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. ทรัพย์สินของ พล.อ.สุนทร และ 2. ทรัพย์สินของ นางอัมพาพันธ์ 


ในส่วนทรัพย์สินของ พล.อ. สุนทร นั้น กมธ. สรุปว่า รายการทรัพย์สินที่มีอยู่ของ พล.อ. สุนทร ที่เป็นรูปธรรมนั้น มีจำนวนไม่มากและไม่ปรากฏว่า พล.อ. สุนทร มีทรัพย์สินเกินฐานะความเป็นอยู่ หรือเกินกว่าตำแหน่งหน้าที่การงานในราชการ การรับราชการทหารได้รับการเลื่อนยศเป็นพลเอกและดำรงตำแหน่งสูงสุดในกองทัพ และยังดำรงตำแหน่งประธาน รสช. นั้น ย่อมอยู่ในฐานะที่จะมีทรัพย์สินเช่นปรากฏในปัจจุบันได้ 

"คณะกรรมการวิสามัญจึงมีข้อสันนิษฐานพอเชื่อได้ว่า พล.อ. สุนทร มิได้มีทรัพย์สินที่ปรากฏให้เห็นว่าร่ำรวยเกินฐานะหรือผิดปกติแต่อย่างไร" รายงาน กมธ. ระบุ

การตรวจสอบพบทรัพย์สินในส่วนของ พล.อ. สุนทร ที่เป็นรูปธรรม พบเพียง 3 รายการคือ 1. บัญชีธนาคารไทย 5 แห่ง รวม 13 บัญชี เงินคงเหลือทั้งหมด 16,383.33 บาท 2. บัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาลอนดอน รวม 3 บัญชี จำนวนเงิน 1,002,000 ปอนด์ และ 3. รถยนต์ 3 คัน 

อย่างไรก็ตาม กมธ. ได้ตั้งข้อสังเกตว่าจากการตรวจสอบบัญชีเงินฝากของ พล.อ. สุนทร ช่วง 2534-2542 บัญชีเงินฝากของ พล.อ. สุนทร มีกระแสเงินไหลเวียนเข้า 122,607,048 บาท และไหลออก 127,349,059 บาท สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณเงินเข้า-ออก รวมในบัญชีธนาคารสูงเป็นหลักร้อยล้านเนื่องจากมีการนับซ้ำเกิดขึ้น อาทิ มีบัญชีเงินฝากประจำอยู่บัญชีหนึ่งมูลค่า 5 ล้านบาท เป็นบัญชีเงินฝาก 12 เดือน เมื่อครบระยะฝาก 12 เดือน หากผู้ฝากไม่ประสงค์จะถอนเงินออก ธนาคารจะดำเนินการฝากต่อให้อัตโนมัติ ในบัญชีจึงปรากฏการถอนเงินออก 5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยและฝากกลับเข้าไปในยอด 5 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเงินดังกล่าวฝากไว้ 3 ปี ปริมาณเงินเข้าจึงรวมเป็น 15 ล้านบาท ทั้งที่ปริมาณเงินแท้จริงมีอยู่ในบัญชี 5 ล้านบาทเศษเท่านั้น ทำให้ไม่อาจนำเอายอดเงินฝาก-ถอน สะสมของบัญชีเงินฝากมาเป็นแนวทางในการพิจารณาถึงปริมาณเงินว่าเป็นรายรับหรือรายจ่ายได้ 

20 ปี คดีมรดก “4 พันล้าน” ของบ้าน “คงสมพงษ์”


20 ปี คดีมรดก “4 พันล้าน” ของบ้าน “คงสมพงษ์”

อัมพาพันธ์ มีทรัพย์สินน้อยกว่าคำฟ้อง 
แต่สำหรับทรัพย์สินส่วนของ นางอัมพาพันธ์ ในประเด็นความมีอยู่จริงของทรัพย์สินนั้น กมธ. พบว่ามูลค่าจริงของทรัพย์สินที่ปรากฏ กับมูลค่าของทรัพย์สินตามคำฟ้อง 3.9 พันล้านบาทนั้น มีความแตกต่างกัน 3-4 เท่า ตัวอย่างเช่น รายการเงินฝากในสถาบันการเงินตามคำฟ้อง จำนวน 2.75 พันล้านบาท จากการตรวจสอบพบว่ามีจริงเพียงแค่ 977 ล้านบาท รายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามคำฟ้อง 675 ล้านบาท แต่ยอดจริงที่ กมธ.ตรวจสอบมีมูลค่าแค่ 67.5 ล้านบาท แต่รวมแล้วก็ถือเป็นจำนวนที่สูงคือมากกว่าหนึ่งพันล้านบาท จำเป็นต้องดำเนินการตรวจสอบว่าทรัพย์สินเหล่านั้นมีแหล่งที่มาอย่างไร
อีกทั้งจากประวัติ นางอัมพาพันธ์ เคยรับราชการเป็นพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสิงห์บุรี และเมื่อมาใช้ชีวิตร่วมกับ พล.อ. สุนทร ก็ทำหน้าที่ภรรยาในฐานะแม่บ้านเท่านั้น ไม่ได้ประกอบธุรกิจหรือกิจการด้านการค้าใด นอกจากเล่นหุ้นบ้างในบางครั้ง 

ในประเด็นการได้มาของทรัพย์สินถูกต้องหรือไม่ อัมพาพันธ์ ไม่สามารถให้คำตอบกับ กมธ. ได้ชัดเจนว่าทรัพย์สินดังกล่าวมีที่มาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ กมธ. จึงได้ร้องขอให้ ป.ป.ง. ช่วยดำเนินการตรวจสอบ สุดท้ายทาง ป.ป.ง. สรุปว่า ไม่พบหลักฐานหรือข้อมูลส่วนใดที่ชี้ชัดว่า ทรัพย์สินของ อัมพาพันธ์ ได้มาไม่ถูกต้องและเข้าข่ายมูลฐานความผิด 7 ประการ ของกฎหมายฟอกเงิน ป.ป.ง. ทำให้ไม่อาจดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปรามปรามการฟอกเงินได้ 
แต่อีกด้านหนึ่งจากการที่ กมธ. ประสานให้กรมสรรพากรช่วยตรวจสอบว่า อัมพาพันธ์ ได้มีการเสียภาษีเงินได้ย้อนหลัง ปี 2534-2543 ถูกต้องหรือไม่เทียบเคียงกับเงินฝากทั้งหมด 29 บัญชี อัมพาพันธ์ สามารถชี้แจงที่มาของเงินได้ประมาณ 400 ล้านบาท แต่ไม่สามารถชี้แจงและพิสูจน์ถึงแหล่งที่มาของเงินสดได้ประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ถือว่า เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 แห่งประมาลรัษฎากรจะต้องนำเงินดังกล่าวมาคำนวณเสียภาษีพร้อมชดเชยค่าปรับและเงินเพิ่มรวมทั้งสิ้น 75 ล้านบาท 

20 ปี คดีมรดก “4 พันล้าน” ของบ้าน “คงสมพงษ์”

อุปสรรคของการสอบ
กมธ. ได้สรุปปัญหาและอุปสรรคในการตรวจสอบเรื่องนี้ว่า ข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของทางราชการและสถาบันการเงินของภาคเอกชน ซึ่งมีข้อกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าต่อสาธารณะ หรือถ้าจะเปิดเผยหรือเสนอข้อมูลได้ต้องมีการพิจารณาทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลหลายรอบจนทำให้เกิดความล่าช้า รวมทั้งในส่วนของธนาคารประเทศไทยที่เปิดสาขาในต่างประเทศ ซึ่งได้ร้องขอไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ให้ช่วยตรวจสอบนั้น แต่ผลปรากฏว่า ธนาคารของประเทศไทยที่เปิดสาขาในต่างประเทศ ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลรายการเงินฝาก หรือการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าได้ เพราะขัดกับข้อกฎหมายภายในของประเทศ 

รายงานสรุปด้วยว่า จากการติดตามและตรวจสอบของ กมธ. ในส่วนทรัพย์สินของ พ.อ.(หญิง) อรชร พ.ท. อภิรัชต์ และ พ.ต. ณัฐพร ไม่ปรากฏข้อสงสัยว่า ทั้ง 3 คน มีทรัพย์สินที่เกินฐานะและตำแหน่งหน้าที่การงานที่จะมีได้ กมธ. วิสามัญ จึงมิได้วิเคราะห์และกล่าวถึงบุคคลทั้งสามในรายละเอียดไว้ในรายงานของ กมธ.วิสามัญฉบับนี้ บรรยากาศการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณารับทราบรายงานฉบับดังกล่าว ในวันที่ 4 พ.ค. 2547 กมธ. ส่วนหนึ่งได้สะท้อนถึงปัญหาในการทำงานตรวจสอบ ทำให้ไม่อาจแสวงหาข้อเท็จจริงอย่างที่ต้องการได้ในบางส่วน อาทิ เชิญบุคคลที่ถูกอ้างถึงมาชี้แจงหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ พล.ต.อ. ประทิน สันติประภพ รองประธาน กมธ. กล่าวว่า ได้ตรวจสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับนางอัมพาพันธ์จำนวน 15 บัญชี พบว่า มีเงินไหลเข้าออกรวม 2,750 ล้านบาท แต่ ป.ป.ง.ก็ไม่สามารถตรวจสอบยอดเงินดังกล่าวได้ รวมทั้งบัญชีเงินฝาก 60 ล้านบาทของ พล.อ. สุนทร ที่ประเทศอังกฤษ ก็ไม่สามารถตรวจสอบยืนยันได้ว่ามีจริงหรือไม่ สุดท้ายที่ประชุมมีมติให้ส่งรายงานดังกล่าวพร้อมข้อสังเกตของ กมธ. ไปให้คณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไปตามขั้นตอน 

20 ปี คดีมรดก “4 พันล้าน” ของบ้าน “คงสมพงษ์”


20 ปี คดีมรดก “4 พันล้าน” ของบ้าน “คงสมพงษ์”

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี BBC NEWS


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์