ทักษิณ ชินวัตร กับ 3 ความผิดพลาดราคาแพง เรื่องนี้ต้องอ่าน


ทักษิณ ชินวัตร กับ 3 ความผิดพลาดราคาแพง เรื่องนี้ต้องอ่าน

บ่อยครั้งที่การบริหารประเทศ และการเดินเกมการเมือง ของนายทักษิณ ชินวัตร ถูกเปรียบเปรยกับการดำเนินกิจการในฐานะ "นักธุรกิจ" กล้าได้และกล้าเสีย เราเห็นเขาก้าวขึ้นมาเป็นนักการเมืองที่พลิกประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายหลายครั้ง แต่ขณะเดียวกันก็ต้อง "พ่ายแพ้" เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการถูกก่อรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อปี 2549 และอีกครั้งในสมัยของนางสาวยิ่งลักษณ์ น้องสาว ในปี 2557 

นี่คือ 3 เหตุการณ์ที่หลายฝ่ายมองว่าอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ "คำนวณเกม" พลาด กลายเป็นผลร้ายใหญ่หลวง

1.ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ในสนามการเมือง

ในช่วงเวลาสั้น ๆ การเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) เมื่อ 09:10 น. ของวันที่ 8 ก.พ. ดูเป็นหมากสำคัญของนายทักษิณ ในเกมการแข่งขันเลือกตั้งในครั้งนี้ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ถูกออกแบบมาเพื่อให้คณะรัฐประหารได้ สืบทอดอำนาจต่อ โดยมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ตอบรับการเป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรคพลังประชารัฐ 



ทักษิณ ชินวัตร กับ 3 ความผิดพลาดราคาแพง เรื่องนี้ต้องอ่าน

13 ชั่วโมงผ่านไป ในวันเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า "การนำสมาชิกชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมือง ไม่ว่าจะโดยทางใดก็ตาม ...ถือเป็นการกระทำที่มิบังควร ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง" 

ไม่ถึง 1 สัปดาห์ต่อมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเอกฉันท์ 13 ก.พ. ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยมีคำสั่งยุบ ทษช. โดยเห็นว่า "กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข" 
ไม่ถึง 24 ชั่วโมงต่อมาสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญออกเอกสารข่าวชี้แจงว่า ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์รับคำร้องพิจารณาวินิจฉัยยุบ ทษช. ตามที่ กกต. ยื่นคำร้องให้วินิจฉัยยุบพรรค ทษช. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 92
ศาลรัฐรรมนูญให้เวลาพรรค ทษช. ยื่นชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง มิฉะนั้น ให้ถือว่าไม่ติดใจยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ก่อนที่ศาลจะออกนั่งพิจารณาครั้งต่อไปในวันที่ 27 ก.พ. 



ทักษิณ ชินวัตร กับ 3 ความผิดพลาดราคาแพง เรื่องนี้ต้องอ่าน

2. พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับ "เหมาเข่ง"

ร่างกฎหมาย "นิรโทษกรรมเหมาเข่ง" หรือ "นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย" มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ "ร่าง พระราชบัญญัติ (พรบ.)นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน" 

เว็บไซต์ ของสถาบันพระปกเกล้าอธิบายว่าร่างกฎหมายนี้ เป็นจุดพลิกผันสำคัญอันนำไปสู่การประกาศยุบสภาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในวันที่ 9 ธ.ค. 2556 อันเนื่องมาจากกระแสต่อต้านร่าง พ.ร.บ. ฉบับที่เสนอโดยนายวรชัย เหมะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และคณะ เนื่องมาจากร่าง พ.ร.บ. ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 นั้น เป็นร่างที่คณะกรรมาธิการเสียงข้างมากได้แก้ไขเนื้อหาจากร่าง พ.ร.บ. ฉบับเดิมของนายวรชัย เหมะ ที่มีวัตถุประสงค์ต้องการนิรโทษกรรมผู้ต้องขังจากคดีเผาศาลากลางจังหวัดจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในปี 2553 

ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ประกอบด้วย 7 มาตรา คณะกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่เป็นฝ่ายรัฐบาลได้แก้ไขมาตรา 3 และมาตรา 4 ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้มีผลนิรโทษกรรมครอบคลุมหลายฝ่าย ทั้ง "ฝ่ายพันธมิตรฯ และฝ่าย นปช." ที่สำคัญยังรวมถึง "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ" ซึ่งกรณีหลังนี้ทำให้เกิดเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นญาติผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองปี 2553 พรรคฝ่ายค้าน องค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ รวมทั้งแกนนำ นปช. และกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งเท่ากับเป็นการนิรโทษกรรมให้แก่คดีอาญา "ฆ่า-เผา" และ "ผู้ทุจริตคอร์รัปชั่น" ด้วย 


การเดินเกมดังกล่าวไม่เพียงทำให้เกิดเสียงคัดค้านจากทั้งพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นการทำลายศรัทธาของฝ่ายผู้สนับสนุนทักษิณเองด้วยเนื่องจากร่างพรบ.นี้จะทำให้ผู้รับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 พ้นจากความผิด

หลังจากนั้น แม้ว่า น.ส. ยิ่งลักษณ์ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 ก.พ. 2557 การต่อต้านการผ่านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับ "เหมาเข่ง" ก็ได้ยกระดับเป็นปฏิบัติการขับไล่รัฐบาล นำโดย 8 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ถอดสูท-ทิ้งสภา-เดินหน้าสู่ถนนนำมวลชนที่เรียกตัวเองว่า "คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" (กปปส.) ภายใต้การนำของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 

ยุทธวิธีมากมายของ กปปส. ตั้งแต่การเข้ายึดสถานที่ราชการหลายแห่ง, เปิดปฏิบัติการ "ชัตดาวน์กรุงเทพฯ", ตั้ง 7 เวทีชุมนุมใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ ไปจนถึงการปิดล้อมคูหาเลือกตั้ง ซึ่งทำให้การเลือกตั้งปี 2557 เป็นโมฆะ ล้วนแล้วเป็นแรงกดดันให้คณะทหารในชื่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ขณะนั้น เข้ายึดอำนาจในที่สุด

ทักษิณ ชินวัตร กับ 3 ความผิดพลาดราคาแพง เรื่องนี้ต้องอ่าน

3. ขายหุ้นให้เทมาเส็ก

23 ม.ค. 2549 ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ประกาศขายหุ้นในบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (พีทีอี) จำกัด ซึ่งเป็น กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ จำนวน 1,487 ล้านหุ้น รวมเป็นเงิน 73,271 ล้านบาท โดยไม่เสียภาษี ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไทย และถือเป็นแรงผลักดันสำคัญของการเคลื่อนไหวขับไล่นายทักษิณให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือนถัดมา และการรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย. 2549



ทักษิณ ชินวัตร กับ 3 ความผิดพลาดราคาแพง เรื่องนี้ต้องอ่าน

การตรวจสอบกรณีดังกล่าวเริ่มต้นหลังรัฐประหาร โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ซึ่งสรุปผลการตรวจสอบว่า การขายหุ้นในกรณีดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดฐานร่ำรวยผิดปกติและความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 

วันที่ 26 ก.พ. 2553 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีมติเสียงข้างมากว่า นายทักษิณใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีเอื้อประโยชน์กับชินคอร์ป 5 กรณี โดยสั่งยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท พร้อมดอกผล 

การขายหุ้นโดยไม่ต้องเสียภาษีผิดหรือไม่จะเป็นคำถามที่ไม่มีข้อสรุปจนถึงปัจจุบัน และขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ที่สนับสนุนหรือต่อต้านนายทักษิณ ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งมองว่า เงินที่ได้จากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นได้รับยกเว้นภาษีตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 23 ที่ออกตามประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฝ่ายตรงข้ามก็มองว่าเป็นการใช่ช่องโหว่ของกฎหมาย และารประกาศใช้บังคับ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) 2549 เพื่อขยายสัดส่วนการถือครองหุ้นในกิจการโทรคมนาคมของต่างประเทศ จากเดิมไม่เกิน 25% เป็นไม่เกิน 50% ก่อนการขายหุ้นชินคอร์ปไม่กี่วัน ก็ดูจะไม่ใช่เรื่องบังเอิญ 

ไม่ว่านี่จะเป็น "การอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมาย" หรือ "การถูกกลั่นแกล้ง" ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ากรณีการขายหุ้นในครั้งนี้มีผลทำให้กระแสความคิดของฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลของนายทักษิณ "ทุจริต" และ "ขายชาติ" แข็งแรงขึ้น นำไปสู่การคว่ำบาตรการเลือกตั้งของพรรคฝ่ายค้าน และศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และการก่อรัฐประหารที่ทำให้การประท้วงขับไล่นายทักษิณ สิ้นสุดลง 


เส้นทางเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ปจากทักษิณ

23 ม.ค.2549 นายทักษิณขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกองทุนเทมาเส็ก จำนวน 1,487 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินกว่า 73,271 ล้านบาท หลังซื้อมาจากบริษัท แอมเพิ้ลรัช จำกัด ในราคาเพียงหุ้นละ 1 บาท

หน่วยงานรัฐเคยเห็นต่างเรื่อง "อายุความ" โดยกรมสรรพากรมองว่า หมดไปตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.2555 เนื่องจากกรณีที่ผู้เสียภาษีมาเสียภาษีเงินได้ไม่ครบถ้วน ประมวลรัษฎากรให้กรมสรรพากรออกหมายเรียกมาไต่สวนภายใน 5 ปี ซึ่งที่ผ่านมา ไม่เคยมีการออกหมายเรียกนายทักษิณมาไต่สวนแต่อย่างใด

13 มี.ค.2560 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุม และเห็นว่ากรมสรรพากรเคยออกหมายเรียกนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร นอมินีที่ถือหุ้นแทนนายทักษิณ มาไต่สวนเมื่อปี 2555 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 - 821 ให้ถือว่าเคยออกหมายเรียกนายทักษิณมาไต่สวนแล้ว และทำให้อายุความขยายมาจนถึง 31 มี.ค. 2560
นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังสามารถประเมินภาษีนายทักษิณได้ โดยไม่ต้องออกหมายเรียกมาไต่สวนอีก และทันทีที่ส่งหนังสือประเมินให้นายทักษิณ "อายุความ" ก็จะหยุดลง
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น อ้างคำพูดของนายวิษณุที่รายงานเรื่องนี้ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มี.ค.2560 ว่าเรื่องนี้ถือเป็น "อภินิหารทางกฎหมาย"

แม้ต่อมา นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย จะโต้แย้งว่า ศาลภาษีอากรกลางเคยสั่งเพิกถอนหมายเรียกนายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทามาไต่สวน ทำให้อายุความสิ้นสุดลงไปนานแล้ว ก็ตาม

28 มี.ค.2560 เจ้าหน้าที่จากกรมสรรพากรนำหนังสือแจ้งประเมินภาษีการขายหุ้นชินคอร์ปของนายทักษิณ รวมเป็นเงินกว่า 17,629 ล้านบาท ไปติดไว้บริเวณหน้าบ้านพักของนายทักษิณ

25 เม.ย. 2560 ทีมทนายของนายทักษิณ ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษี

7 พ.ย. 2561 นายยุทธนา หยิมการุณ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีกรมสรรพากรละเว้นการประเมินเก็บภาษี นายทักษิณ เผยว่า ได้ส่งหนังสือให้กรมสรรพากรชี้แจงเรื่องดังกล่าว และติดตามผลต่อเนื่องเพื่อสรุปผลสอบให้ได้ภายในปีนี้

14 ก.พ. 2562 ยังไม่มีความคืบหน้าเรื่องนี้

ทักษิณ ชินวัตร กับ 3 ความผิดพลาดราคาแพง เรื่องนี้ต้องอ่าน

ขอขอบคุณข่าวคุณภาพจาก BBC



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : ไม่ชอบคนเผาเมือง
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 134.236.24.49

134.236.24.49,,134.236.24.49 ความคิดเห็นที่ 43 [อ้างอิง]
ดูไต้หวันเป็นตัวอย่าง


[ วันพุธ ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 11:37 น. ]
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์