ต่อกลุ่ม"คนอยากเลือกตั้ง"
ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่บริเวณสกายวอล์ก แยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 27 มกราคม ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่บนถนนราชดำเนินเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์
หรือแม้กระทั่งล่าสุดที่บริเวณลานย่าโม นครราชสีมา เมื่อตอนค่ำของวันที่ 18 กุมภาพันธ์
น่าจะดำรงมาตรการ"เข้ม"ในแบบ"ไม้แข็ง"
เป็นไปได้ว่าหลังวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ก็จะมีการแจ้งความร้องทุกข์เหมือนกรณีที่แยกปทุมวันและบนถนนราชดำเนิน
นั่นก็คือจัดการตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558
ข้อน่าเป็นห่วงอยู่ตรงที่ขอบเขตในการแจ้งความร้องทุกข์ของคสช.ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีกรอบอย่างไร
จะเอาแต่เพียง "แกนนำ"
หรือขยายออกไปอย่างกว้างขวางเหมือนอย่างที่เคยทำมาแล้วต่อ 39 คนที่แยกปทุมวันและ 60 กว่าคนบนถนนราชดำเนิน
หากดำเนินไปอย่างมีลักษณะขยายวงก็"อ่อนไหว"อย่างเป็นพิเศษ
เพราะเท่ากับกวาดรวมเอา"ไทยมุง"เข้าไปด้วย
หมายความว่า "เป้าหมาย"ของคสช.ก็คือ จากคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 จะไม่ยอมให้มีใครเข้าร่วมกับการชุมนุมทั้งสิ้น
ไม่ว่า "แกนนำ" ไม่ว่า"มวลชน"ล้วนมีโอกาสถูก"รวบ"
ความจริงมีกระบวนการประกันตัวอันเป็นขั้นตอนการพิจารณาของศาล หากย้อนดูคดีลักษณะนี้ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นศาลแขวงหรือศาลอาญาออกมาแล้วในเบื้องต้น
นั่นก็คือ ไม่มีการคุมขัง
ตรงกันข้าม ไม่ว่า "แกนนำ" ไม่ว่า "มวลชน"ล้วนได้รับการประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีทั้งสิ้น
บรรทัดฐานนี้เห็นได้จาก MBK 39