โดยไม่มีการแก้ไขหลักการ ทั้งนี้ ได้พิจารณาทบทวนถึงที่มานายกรัฐมนตรี ยังเปิดกว้างให้สามารถเสนอ ส.ส. หรือไม่ได้เป็น ส.ส. เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ ส่วนประเด็นบัญชีรายชื่อเปิด มีความเชื่อมโยงกับการพิจารณาสัดส่วนเลือกตั้ง ซึ่งมีความยากต่อการซื้อเสียงของนายทุน อีกทั้งยังให้สิทธิ์พลเมืองมากขึ้นโดยจะคัดสรร ส.ส. ร่วมกับพรรคการเมือง ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นด้วยกับการทำประชามติรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะในฉบับปี 2550 ก็ผ่านการทำประชามติ ดังนั้น กลไกการแก้ไขเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญที่ร่างอยู่ หากเป็นหลักการสำคัญ ต้องผ่านมติ 2 ใน 3 ของวาระ 3 จากรัฐสภา และต้องทำประชามติด้วย เพราะรัฐธรรมนูญก่อเกิดจากประชามติ
นอกจากนี้ นายเจษฎ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่ นายมีชัย ฤทชุพันธ์ สมาชิก คสช. ได้ส่งคำถาม 17 ประเด็นมานั้น ทางกรรมาธิการฯ ได้นำมาพิจารณาประกอบเช่นกัน ถือเป็นรอบแรกในฐานะความเห็นจาก คสช.
กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 1 เปิดเผยกับ สำนักข่าว INN ว่า การประชุมเพื่อพิจารณาทบทวนเนื้อหารายมาตรา
และการทำบันทึกเจตนารมณ์ มีความคืบหน้าไปมากแล้ว โดยล่าสุด 194 มาตรา แต่เชื่อว่า หลังจากทบทวนเสร็จและเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อาจมีการเสนอความเห็น และอาจมีการแก้ไขอีกครั้ง ยืนยันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พยายามแก้ไขความบกพร่องและปัญหาในอดีตด้วยการให้อำนาจกับประชาชนมากยิ่งขึ้น
ส่วนกรณีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องที่มานายกรัฐมนตรีที่กำหนดให้เป็นคนนอกได้นั้น
เพื่อเป็นการเปิดช่องในยามวิกฤตจริงๆ ป้องกันการรัฐประหารเท่านั้น เพราะโดยปกติแล้ว เชื่อว่า ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งมา ก็จะโหวตเลือกหัวหน้าพรรคของตัวเองมาเป็นนายกฯ ทั้งสิ้น หรือ ไม่ใช่หัวหน้าพรรค ก็ยังเป็นคนที่ ส.ส.ทั้งหมดเลือกมา จึงน่าจะเหมาะสมที่สุดแล้ว