ย้อนดู9เปาบุ้นจิ้น พิจารณาคดี ยิ่งลักษณ์

ย้อนดู9เปาบุ้นจิ้น พิจารณาคดี ยิ่งลักษณ์

ย้อนดู9เปาบุ้นจิ้น พิจารณาคดี "ยิ่งลักษณ์" จากทักษิณ-สมชาย-บิ๊กจิ๋ว ถึงอดีตนายกฯปู

วันที่ 24 ก.พ. 2558 ที่ศาลฎีกา มี นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานการประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 170 คน เพื่อที่จะเลือกองค์คณะในการพิจารณาคดีที่อัยการสูงสุด หรืออสส. ยื่นฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท

ซึ่งผลสรุปของที่ประชุม ได้9 องค์คณะ มีรายชื่อดังนี้

1.นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา

นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา มีชื่อเป็นหนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษา จากองค์คณะรวม 9 คน ในคดีหมายเลขแดง อม.30/2557 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินของ น.ส.นฤมล หรือ ณัฐกมล หรือ ณฐกมล หรือ อินทร์ริตา นนทะโชติ หรือ นนทะวัชรศิริโชติ ตกเป็นของแผ่นดิน

โดย เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2557 องค์คณะศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ชุดนี้ ได้พิจารณาพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนแล้ว จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียง เห็นว่าทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหาตามคำร้องนั้น เป็นทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ จึงพิพากษาให้ทรัพย์สินของผู้กล่าวหาทั้งหมด 68,104,000 บาท ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินที่ ป.ป.ช. ได้เคยมีคำสั่งอายัดไว้ชั่วคราวตามคำสั่งที่ 8-11/2556 ลงวันที่ 15 ม.ค. 2556 พร้อมดอกและผลให้ตกเป็นของแผ่นดิน และหากไม่ส่งมอบทรัพย์สินหรือชำระเงิน ให้บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินจากผู้ถูกกล่าวหาแต่ต้องไม่เกินมูลค่าของ ทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินโดยให้ผู้ถูกกล่าวหาส่งมอบเอกสาร สิทธิและเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินแก่กระทรวงการคลังส่วนคำขอ อื่นนอกจากนี้ให้ยกคำร้อง

สำหรับ น.ส.นฤมล หรือ ณฐกมล เป็นบุตรสาวของ พล.อ.สัมฤทธิ์ นนทะโชติ อดีต ผบช.มณฑลทหารบกที่ 24 อุดรธานี, อดีตที่ปรึกษา รมว.กลาโหม พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ โดย น.ส.นฤมล เคยได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วย พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเป็นผู้ช่วยนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประมาณปี 2548 ทั้งนี้ คดีนี้ ป.ป.ช. ยื่นสำนวนให้อัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2556 เพื่อดำเนินการตามฟ้อง ซึ่งเป็นกรณีที่ ป.ป.ช. ตรวจสอบการยื่นบัญชีหนี้สินและทรัพย์สินของ น.ส.นฤมล ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

2.นายวิรุฬห์ แสงเทียน ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา

เป็นผู้เข้ารับการอบรม บ.ย.ส.รุ่น 17 ปี 2555-2556 ตามประกาศในเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรมมี 90 คน ในจำนวนนี้มีผู้พิพากษาที่ปรากฏรายชื่อ เช่น นายวิรุฬห์ แสงเทียน นางอุบลรัตน์ ลุยวิกกัย

ซึ่ง หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง บ.ย.ส. จัดโดยสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ขึ้นกับสำนักงานศาลยุติธรรม


3.นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา

นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือเจ้าของสำนวนคดี พร้อมด้วยผู้พิพากษารวม 9 คน ได้มีคำสั่งประทับรับฟ้อง คดีหมายเลขดำ อม.2/2558 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. (ทั้งหมดเป็นตำแหน่งเมื่อปี 2551) เป็นจำเลยที่ 1-4

ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 295 และ 302

จากกรณีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 รัฐบาลนายสมชายได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่ปิดล้อมทางเข้ารัฐสภา กระทั่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 471 ราย

นายธนฤกษ์เจ้าของสำนวนคดี และผู้พิพากษาองค์คณะรวม 9 คน มีคำสั่งนัดพิจารณาครั้งแรก เพื่อสอบคำให้การจำเลย ในวันที่ 11  พฤษภาคมนี้ เวลา 09.30 น.


4.นายธนสิทธิ์ นิลกำแหง ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา

5.นายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา

6.นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552  ศาลอาญาได้พิพากษาให้ยกฟ้องคดีที่อัยการเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร, นายวิชัย จึงรักเกียรติ อดีตผู้อำนวยการ.สำนักงานกฎหมาย กรมสรรพากรและอดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, น.ส.สุจินดา แสงชมพู อดีตนิติกร 9, น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีตนิติกร 8และอดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย และ น.ส.กุลฤดี แสงสายัณห์ อดีตนิติกร 7 ว. เป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับ

ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เรียกเก็บ หรือตรวจสอบภาษีอากร ร่วมกันละเว้นไม่เรียกเก็บภาษีอากร และเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลอาญา 154 และ 157 กรณีงดเว้นการคำนวณภาษีกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในการโอนหุ้นบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด(มหาชน)หรือชินคอร์ป 4.5 ล้านหุ้น มูลค่า 738 ล้านบาท ให้นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน เมื่อปี 2540

ซึ่งนายชีพ จุลมนต์ สมัยนั้นดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีศาลอาญา ได้ทำความเห็นแย้งความเห็นขององค์คณะผู้พิพากาษาที่ พิพากษาให้ยกฟ้อง"นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์" อดีตอธิบดีสรรพากรกับพวก 5 คน คดีละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ไม่เก็บภาษี"พจมาน"โอนหุ้นชินคอร์ป มูลค่า 738 ล้านให้"บรรณพจน์"

ซึ่งการที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีบันทึกแย้งท้ายคำพิพากษาเช่นนี้ ถือว่า มีน้ำหนักมาก ดังนั้นพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ต้องอุทธรณ์คดีดังกล่าวอย่างแน่นอน

การ ทำบันทึกความเห็นแย้งคำพิพากษานั้นเป็นระบบการตรวจสอบกันเองของศาลในการ พิพากษาคดีซึ่งจะทำให้คู่ความและสาธารณชนเห็นว่าระหว่างคำพิพากษาและบันทึก แย้งการใช้เหตุผลและตรรกะในทางกฎหมายอย่างไหนดีกว่ากัน


7.นายวีระพลตั้งสุวรรณ รองประธานศาลฎีกา

(หนึ่งในองค์คณะผู้ พิพากษาคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี-พวก กรณีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด และบริษัทในเครือ)

สำหรับ 5 ท่านนี้ เมื่อวันที่ 21 ม.ค.58 ที่ผ่านมา มีการประชุมใหญ่ของศาลฎีกา โดย นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา ได้เป็นประธานที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อเลือกผู้พิพากษา 9 คน เป็นองค์คณะพิจารณาคดีหมายเลขดำ อม.2/2558 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี , พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี , พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร.และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น.เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 295 และ 302

โดย ป.ป.ช.ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา กรณีเมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 รัฐบาลนายสมชาย ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่ปิดล้อมทางเข้ารัฐสภา กระทั่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 471 ราย

ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้มีมติเลือก น.ส.เพลินจิต ตั้งพูลสกุล , นายวีระพล ตั้งสุวรรณ , นายศิริชัย วัฒนโยธิน และนายชีพ จุลมนต์ ทั้งหมดเป็นรองประธานศาลฎีกา,นายชาติชาย อัครวิบูลย์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคฯ , นางพฤษภา พนมยันตร์ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวฯ,นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฯ,นายนิยุต สุภัทรพาหิรผล ประธานแผนกคดีแรงงานฯ และนายธนสิทธิ์ นิลกำแหง ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง เป็นองค์คณะ เพื่อพิจารณาคดีดังกล่าว โดยหลังจากนี้ผู้พิพากษาทั้ง 9 คน ซึ่งเป็นองค์คณะจะประชุมกันเป็นการภายใน เพื่อเลือกผู้พิพากษา1 คน เป็นเจ้าของสำนวน ขณะที่ศาลฎีกาฯ นัดฟังคำสั่งว่าจะประทับรับฟ้องเป็นคดีหรือไม่ในวันที่ 24 ก.พ.นี้ เวลา 10.00 น.


ซึ่งในจำนวน 9 รายชื่อ ในองค์คณะคดีมีปรากฏ รายชื่อผู้พิพากษาจำนวน 5 รายชื่อ คือ 1.นายวีระพล ตั้งสุวรรณ 2.นายศิริชัย วัฒนโยธิน 3.นายชีพ จุลมนต์ 4.นายธนฤกษ์ นิติเศรณี 5.นายธนสิทธิ์ นิลกำแหง

ซึ่งเป็นองค์คณะเดียวกับคดีจำนำข้าวของนางสาวยิ่งลักษณ์


8.นางอุบลรัตน์ ลุยวิกกัย ประธานแผนกคดีสิ่งเเวดล้อมในศาลฎีกา

เป็นผู้เข้ารับการอบรม บ.ย.ส.รุ่น 17 ปี 2555-2556 ตามประกาศในเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรมมี 90 คน ในจำนวนนี้มีผู้พิพากษาที่ปรากฏรายชื่อ เช่น นายวิรุฬห์ แสงเทียน นางอุบลรัตน์ ลุยวิกกัย

ซึ่ง หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง บ.ย.ส. จัดโดยสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ขึ้นกับสำนักงานศาลยุติธรรม

9.นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา


นายธานิศ เกศวพิทักษ์ สมัยที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกานั้น ในช่วงหนึ่งของการเป็นข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เข้าไปปฏิบัติหน้าที่เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว ปี 2549 หลังจากมีการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 ซึ่งขณะนั้นนายธานิศ ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา

โดยระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ตุลาการรัฐธรรมนูญ นายธานิศ ได้ร่วมพิจารณาพิพากษาคดียุบพรรคไทยรักไทยด้วย ขณะที่การทำหน้าที่ตัดสินคดียุบพรรคไทยรักไทยแม้ตุลาการรัฐธรรมนูญจะมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคการเมือง

แต่นายธานิศ เป็น 1 ใน 3 ตุลาการรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยว่าจะนำประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 มาย้อนหลังใช้บังคับเพื่อกำหนดโทษการตัดสิทธิ์การเมืองกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี และหลังจากทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ได้โอนย้ายกลับมาเป็นข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม และได้รับเลือกปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา เมื่อปี 2552และได้รับเลือกที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามาเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 4.6 หมื่นล้านบาท

ซึ่งนายธานิศนั้น ในช่วงชีวิตการรับราชการเคยเป็นอัยการผู้ช่วย และได้สอบจนเป็นผู้พิพากษา ซึ่งระหว่างรับราชการนายธานิศได้เป็นหัวหน้าศาลจังหวัดมุกดาหาร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลภาษีอากรกลาง ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา เลขานุการศาลฎีกาในยุคนายศักดา โมกขมรรคกุล อดีตประธานศาลฎีกาและอดีตองคมนตรี เป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งธนบุรีและผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์

โดยนายธานิศ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้พิพากษา ถือเป็นปรมาจารย์ทางประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาผู้แต่งตำรา ป.วิอาญา และเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนติบัณฑิตยสภา เขียนคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐานไว้ 86 คดี


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์