ล่าตัวทักษิณกลับ ศาลสั่งเอง ให้ออกหมายจับ

หลังจากที่ตุลาการรัฐธรรมนูญ


มีมติสั่งยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคทั้ง 111 คน 5 ปี ก็ได้มีเสียงเรียกร้องให้ยกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 และ 27 เพื่อให้พรรคการเมือง ทำกิจกรรมได้นั้น

ล่าสุดนายกรัฐมนตรีได้หารือ

ร่วมกับประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการยกเลิกประกาศ คปค.ทั้ง 2 ฉบับ

สุรยุทธ์ ถกเลิกประกาศ คปค.


เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. เวลา 11.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. พร้อมด้วย พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม ได้เดินทางเข้าพบและหารือกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ตึกไทยคู่ฟ้า

โดยใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง

จึงเดินทางกลับออกไป ต่อมาเวลา 13.30 น. พล.อ.สุรยุทธ์ แถลงถึงผลการหารือว่าได้มีการหารือถึงการพิจารณา ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 15 และ 27

โดยต้องรอทางฝ่ายกฎหมาย

ที่จะศึกษารายละเอียดอีกเล็กน้อยก่อน แต่ในส่วนของรัฐบาลมองว่าน่าจะมีการผ่อนคลายหากไม่มีความจำเป็นอะไรแล้วก็คงจะยกเลิกได้ โดยคาดว่าจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้


ให้ ทรท.รับคำตัดสินของศาล


ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะอดีตองคมนตรีมองว่าสมาชิกพรรคไทยรักไทยจะยื่นถวายฎีกาเพื่อขออภัยโทษให้แก่กรรมการบริหารพรรค 111 คน ไม่ให้โดนตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี สามารถทำได้หรือไม่อย่างไร พล.อ. สุรยุทธ์ตอบว่า ในฐานะองคมนตรีเราไม่ได้เป็นผู้รับฎีกา เราเป็นผู้พิจารณา และคนที่จะรับหรือไม่คือราชเลขาธิการ อยู่ที่ราชเลขาธิการ


ปล่อย ทักษิณ ปลุกใจลูกพรรคสู้


เมื่อถามว่า กรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาเรียกร้องให้กลุ่มไทยรักไทยสู้ต่อไปมองอย่างไร พล.อ.สุรยุทธ์ตอบว่า ก็คงดูความเคลื่อนไหวต่างๆ หากเป็นการต่อสู้ทางการเมืองตนไม่ได้คิดว่ามีอะไรที่เป็นปัญหา

แต่ไม่ควรทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น

ในบ้านเมืองของเรา อย่างการรวมกลุ่มของนักการเมืองเพื่อจัดตั้งกลุ่มไทยรักไทยก็ถือเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ หากไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ

ผบ.ทอ.เปิดทาง ทักษิณ กลับไทย


วันเดียวกัน เมื่อเวลา 13.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข รองประธาน คมช. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มารับทราบการไต่สวนมูลฟ้อง

เพื่อที่จะมาปรากฏตัวต่อศาลว่า

จะปฏิเสธหรือยอมรับการชี้มูลความผิดว่า ยังไม่ทราบประเด็นดังกล่าว แต่ถ้าเป็นเรื่องทางคดีคงต้องเป็นไปตามนั้น เมื่อถามว่าถึงเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยในเรื่องนี้หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิตตอบว่า มันขึ้นอยู่กับตัวคดี ถ้าโดยทั่วๆไปถ้าคดีถึงจุดที่ต้องมาชี้แจงก็ต้องมา

ทักษิณ ต้องมาขึ้นศาลคดีที่ดินฉาว


ขณะเดียวกัน นายประพันธ์ ทรัพย์แสง ประธานแผนกคดีอาญา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้สัมภาษณ์ ว่า ในคดีที่ คตส.ส่งสำนวนทุจริตซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และภรรยา เป็นผู้ถูกกล่าวหา ส่งให้พนักงานอัยการสูงสุด พิจารณาส่งฟ้องต่อศาลใน 30 วัน นับจากวันที่รับสำนวนนั้น

โดยหลักกฎหมาย ป.วิอาญาซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท

ในการดำเนินคดีอาญา อัยการจะต้องนำตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมคำฟ้อง ศาลจึงจะดำเนินกระบวนการพิจารณาได้ ส่วนที่เคยเป็นข่าวว่าอัยการไม่ต้องเอาตัวมาในวันฟ้อง แต่จำเลยต้องมาในนัดพิจารณานัดแรก เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็เป็นเพียงกฎหมายลูก ไม่ใช่กฎหมายแม่บท ที่ผ่านมาอาจตีความกฎหมายโดยเอาข้อยกเว้นมาเป็นหลัก

อัยการต้องขอออกหมายจับ ทักษิณ


ประธานแผนกคดีอาญาฯเผยต่อไปว่า หากได้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณมาดำเนินคดี ก็จะเป็นผลดีต่อ คมช. และรัฐบาล เพราะจำเลยอยู่ในอำนาจของศาลแล้ว ยังเป็นผลดีต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ไปรับตัวผู้ถูกกล่าวหามา เพราะยืนยันได้ว่ารับตัวมาจริง ไม่ได้พาไปไหน เป็นผลดีต่อผู้ถูกกล่าวหาเอง เพราะมาศาลแล้วหากได้ประกันตัว เขาก็กลับไปอยู่บ้านได้ เว้นแต่ว่าไปก่อความยุ่งเหยิงให้คดี อาจต้องถอนประกัน

สำหรับขั้นตอนการจับนั้น

ตามหลัก ป.วิอาญา ถ้าผู้ถูกกล่าวหามาปรากฏตัวเอง โดยยังไม่เคยมีหมายจับ ใครจะ ไปจับ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ เพราะคดีนี้ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า แต่จะจับได้ก็ต่อเมื่อมีหมายจับแล้วเท่านั้น ถ้าถามว่าใครจะเป็นผู้ขอออกหมายจับต่อศาล ก็ตอบได้ว่า คือ คตส. และพนักงานอัยการ ตนถือว่าเป็นหน้าที่เลย ที่ต้องเอาตัวมาศาลในวันฟ้อง อัยการจะละเว้นกฎหมาย ป.วิอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทไม่ได้

อยู่ ตปท.ถือเป็นผู้ร้ายข้ามแดน


ต่อข้อถามว่า มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณยินดีมาศาล นายประพันธ์ย้อนถามว่า แล้วทราบได้อย่างไรว่าเขาจะมาจริงๆ คดีทุจริตที่ดิน ต้องมีตัวจำเลยเป็นๆมาศาล จะปรากฏตัวผ่านจอวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ก็ไม่ได้ เป็นหน้าที่ อัยการไปขอหมายจับต่อศาล หรือ ถ้าตัวอยู่ต่างประเทศก็ไปขอตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนมา ต้องขอออกหมายจับ เอาตัวมาแต่แรกก่อนจะฟ้องคดี หากออกหมายจับแล้ว ตัวจะได้มาหรือไม่ก็อีกเรื่อง เพราะถ้าได้ตัวมาก็อาจให้ ประกันตัวไป คาดว่าวงเงินประกันตัวน่าจะเท่าคดีทุจริตซื้อยา คือประมาณ 5 ล้านบาท

อาจเป็นไปได้ว่า

ถ้าไม่ได้ตัวมา ก็อาจดำเนินคดีเฉพาะคุณหญิงพจมานคนเดียว แล้วจำหน่ายคดีเฉพาะของ พ.ต.ท.ทักษิณไปก่อน

นายประพันธ์กล่าว ต่อข้อถามว่า

คดีนี้คาดว่าจะดำเนินคดีได้เร็วแค่ไหน นายประพันธ์กล่าวว่า อัยการคงใช้เวลาพิจารณาสำนวนนาน 30 วัน เพื่อยื่นฟ้อง จากนั้นก็ขอปิดหมายเรียก ขยายเวลาได้รวมแล้ว 22 วัน จากนั้นศาลฎีกาจะประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาเลือกองค์คณะ 9 คน ต่อมาองค์คณะจะกำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐาน ตัวพยานก็ต้องมาศาล จำเลยก็ต้องอยู่ในศาล ไม่เช่นนั้นจะพิจารณาไม่ได้ สนธิ ย้ำเลิกคำสั่ง คปค.ต้องดูรอบคอบ


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย:

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์