เจิมศักดิ์ ขอแปรญัตติหนุน ม. 68

ทางด้านการพิจารณาแก้ไขประเด็นล่อแหลมในร่างรัฐธรรมนูญนั้น


วันที่ 24 พ.ค. มีการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อรับฟังข้อมูลจากการจัดเวทีระดับจังหวัดของคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ ที่มี นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นประธาน

โดยนายเจิมศักดิ์กล่าวว่า การรับฟังความเห็นของประชาชนช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่เห็นด้วยกับมาตรา 68 วรรค 2 ที่มีองค์กรแก้วิกฤติ แม้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะตัดทิ้ง แต่ตนจะเอา

เนื่องจากเคยฟังการชี้แจงของ นายจรัญ ภักดีธนากุล รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ทำให้เข้าใจชัดแจ้งว่ามาตรานี้เป็นทางออกที่ดีในยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤติ

ดังนั้น จะขอแปรญัตติ ปรับเพิ่มและแก้ให้การกำหนดบทบังคับในมาตรานี้ให้ชัดเจนก่อนประกาศใช้ ทั้งนี้ ในกลุ่ม ส.ส.ร.ที่สนับสนุนมาตรานี้มีถึง 40 เสียง


เล็งออกกฎลงโทษคนขายเสียง


ขณะเดียวกันมีการประชุมคณะอนุกรรมาธิการจัดทำร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนัดแรก มีนายชัยยศ เหมะรัชตะ ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ เป็นประธานการประชุม เพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน โดยที่ประชุมมีความเห็นให้แบ่งกลุ่มคณะทำงาน 3 คณะ

เพื่อดูแลการจัดทำร่างกฎหมายประกอบด้วย

1. คณะทำงานจัดทำร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีนายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม เป็นหัวหน้าคณะ

2. คณะทำงานจัดทำ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มีนายวุฒิสาร ตันไชย เป็นหัวหน้า คณะ

3. คณะทำงานจัดทำร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีนายประพันธ์ นัยโกวิท เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งที่ประชุมกำหนดระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 21 ส.ค.นี้

โดยฝากให้การร่างกฎหมายเหล่านี้กำหนดกลไกป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงด้วยอาจจะต้องมีบัญญัติบทลงโทษ ผู้ขายเสียง และวางแนวทางติดตามเส้นทางการเงินของพรรคการเมืองที่อาจนำงบประมาณของรัฐมาใช้ในการเลือกตั้งด้วย


"จรัญ" ลุยเล่นงาน กก.บริหารพรรค


นายจรัญ ภักดีธนากุล รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ถึงการเสนอให้เพิ่มคุณสมบัติต้องห้ามของผู้สมัคร ส.ส. โดยห้ามกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปีว่า

ต้องการทำให้รากฐานระบอบประชาธิปไตยตั้งอยู่บนการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ เพราะที่ผ่านมามีการซื้อสิทธิขายเสียงอย่างโจ๋งครึ่ม นักการเมืองที่เข้ามาด้วยระบบนี้จะมาถอนทุน ทำให้ การเมืองล้มเหลว เป็นเงื่อนไขให้เกิดการปฏิวัติล้มล้างอำนาจ การเสนอประเด็นดังกล่าวไม่ได้มองคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และประกาศคปค.ฉบับที่ 27

เมื่อถามว่า การห้ามกรรมการบริหารพรรคลงเลือกตั้ง ทำให้กรรมการที่ไม่รู้เห็นกับการซื้อเสียงโดนลงโทษไปด้วย

นายจรัญตอบว่า ถ้ากรรมการทำดี พรรคก็ดีด้วย ถ้าพรรคทำสิ่งที่ชั่วร้ายส่งเสริมการทุจริตซื้อสิทธิขายเสียงจนถูกยุบพรรค คณะกรรมการบริหารพรรคจะไม่ต้องรับผิดชอบเลยหรือ จะอ้างว่าไม่ รู้ไม่เห็นก็อย่ามาเป็นกรรมการบริหาร



ขอขอบคุณ : ข้อมูลข่าวที่มีคุณภาพจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์