ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปอำลาตำแหน่ง ผบ.ทบ. ที่ค่ายวชิราวุธ จ.นครศรีธรรมราช ถึงกรณีที่นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ อดีต ส.ว.ยโสธร และผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จ.ยโสธร ข้องใจการคัดเลือก สปช. โดยเฉพาะในระดับจังหวัดว่ามีการล็อกสเปกหรือไม่ โดยเตรียมยื่นศาลปกครองให้ชะลอการประกาศรายชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ถามกลับว่า จะล็อกสเปกได้อย่างไร และรายชื่อทั้งหมด คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ตรวจสอบทางกฎหมายว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน หากใครจะไปร้องศาลปกครองก็ไปร้องได้ แต่ขณะนี้จะไม่มีการทบทวนรายชื่อที่คัดเลือกไปแล้ว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องดำเนินการไปตามกระบวนการ รัฐธรรมนูญกำหนดว่าต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 2 ต.ค. ส่วนกรณีนายยุทธนา เปิดเผยข้อมูลว่า มีนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ที่มีสายสัมพันธ์กับทหารได้เป็น สปช. ขอชี้แจงว่าไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้นักศึกษา วปอ.เป็นสมาชิก สปช.
ทำเรื่องขอลี้ภัยกับ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ในประเทศกัมพูชาว่า ขณะนี้กำลังประสานทางการกัมพูชา ส่วนจะได้ตัวมาหรือไม่ และเมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับกัมพูชา
พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธานพิธีสวนสนามอำลาตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกโดยมีข้าราชการทหารมา ร่วมพิธีกันอย่างพร้อมเพรียง จากนั้นผบ.ทบ.ประกอบพิธีสมโภชพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระปิยมหาราช เพื่อประดิษฐานที่กองทัพภาคที่ 4 โดยมีการประกอบพิธีพราหมณ์
จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ปัญหาในภาคใต้ว่า
อยากขอความร่วมมือสื่อมวลชนทุกแขนงอย่าใช้คำว่า "ขบวนการ" กับกลุ่มบุคคลที่ก่อความไม่สงบในภาคใต้ เพราะเป็นเรื่องของบางบุคคลเท่านั้น และการแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดภาคใต้นั้นเราต้องแก้ให้จบภายใน 1 ปีก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วจะมีประเทศต่างๆ เดินทางเข้ามา หากบ้านเมืองเรายังไม่สงบก็จะเป็นปัญหา
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่าในส่วนการดำเนินการนั้นจะเน้นการพูดคุยเพื่อให้ เกิดสันติสุข ตนได้เสนอมาทุกรัฐบาลให้ปรับโครงสร้างการแก้ปัญหา
เน้นการพูดคุยซึ่งมีหลายกลุ่มและตอนนี้การดำเนินการต่างๆ เริ่มเข้าสู่ทิศทางที่ดี มี ศอ.บต.ที่รู้ปัญหาภาคใต้และมีการตั้งแม่ทัพน้อยภาค 4 คือ พล.ท.กิตติ อินทสร เป็นส่วนหน้าซึ่งตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษสำหรับการดูแลปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ ส่วนการแก้ปัญหาชาวสวนยางว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังให้ความสำคัญและยกเป็นวาระแห่งชาติโดยจะไม่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุเหมือนที่ ผ่านมา แต่จะแก้ปัญหาต้นเหตุและยั่งยืนโดยตั้งโรงงานแปรรูปยางในพื้นที่ แต่หากบ้านเมืองยังไม่สงบใครจะกล้ามาลงทุน จึงอยากให้ทุกอย่างสงบ