โดยตามกฎหมายเดิมนั้น กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือ ก.ต.ช. แต่ตามคำสั่งคสช.ฉบับที่ 88/2557 นี้ เป็นการแก้ไขให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนปัจจุบันเป็นผู้เสนอชื่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ ก็เสมือนเท่ากับทำให้ตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีความศักดิ์สิทธิ์มากยิ่งขึ้น ส่วนคุณสมบัติผู้ที่จะขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามกฎหมายเดิมนั้นเขียนกว้างๆ ว่ามาจากข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอกเท่านั้น แต่คำสั่งคสช.ฉบับนี้แก้ไขใหม่ให้แคบลง เหลือแค่รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันมี 6 คน และจเรตำรวจแห่งชาติ อีก 1 คน หรือเฉพาะตำแหน่งส่วนบริหารเท่านั้น โดยส่วนที่ถูกตัดออกไป ประกอบด้วย ตำแหน่งที่ปรึกษาสัญญาบัตร10 จำนวน 5 คน และตำแหน่งหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ
โดยเพิ่มรองนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธาน และเพิ่มปลัดกลาโหมเข้าไปเป็นกรรมการ ขณะที่ในส่วนของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร.ให้ยกเลิกกรรมการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด และตั้งกรรมการ 2 คน ซึ่งเลือกโดยวุฒิสภา ส่วนผู้ที่จะเป็นกรรมการตำรวจที่เหลือนั้นให้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เสนอชื่อรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือจเรตำรวจแห่งชาติ เข้าให้ ก.ต.ช.พิจารณา ขณะที่ประธานก.ตร. ยังคงเป็นนายกรัฐมนตรี
เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งโยกย้าย โดยกำหนดให้ผู้ที่มียศสูงกว่าเป็นผู้ที่มีอาวุโสมากกว่า ถ้ายศเท่ากัน ให้ดูอายุงานในตำแหน่งนั้นๆว่าใครสูงกว่า คนนั้นก็จะถือว่ามีอาวุโสสูงกว่า / แต่ถ้าอายุงานในตำแหน่งนั้นยังเท่ากันอีก ก็ให้ดูอายุงานในตำแหน่งที่รองลงไปจากนั้นตามลำดับจนถึงตำแหน่งระดับรองสารวัตร แต่ถ้าเกิดยังเท่ากันอีก ก็ให้ดูว่าใครดำรงตำแหน่งชั้นสัญญาบัตร(ตั้งแต่ร้อยตำรวจตรี)นานกว่ากัน สุดท้ายถ้ายังเท่ากันอีก ก็ให้ดูตามอาวุโสหรืออายุ