เปิดเผยว่า สำหรับขั้นตอนการพิจารณาคดี นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ว่าเหมือนกับคดีอาญาทั่วไป แต่ขณะนี้เป็นการพิจารณาของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ โดยจำเลยสามารถมีทนายความแก้ต่างได้ตามธรรมนูญศาล ถ้ารับสารภาพ ก็ไม่ต้องรอสืบพยาน สามารถตัดสินคดีได้เลย แต่ถ้าปฏิเสธขอต่อสู้คดีก็ต้องใช้เวลาในการพิจารณาเพื่อให้ฝ่ายโจทก์ยื่นพยานนำสืบตาม ป.วิอาญา ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่า ใช้เวลากี่วัน ถึงจะพิจารณาเสร็จสิ้น แต่จะให้รวดเร็วที่สุด
ทั้งนี้ ในระหว่างพิจารณาคดี สามารถฝากขังได้ครั้งละ 12 วัน จนครบ 84 วัน
ซึ่งคาดจะใช้เรือนจำของกรมราชทัณฑ์ในการควบคุมตัว ยอมรับว่า หลังจากนี้คงมีคดีความจำนวนมากเข้าสู่การพิจารณาของศาลทหาร ซึ่งศาลก็ต้องทำงานหนักขึ้น แม้จะมีตุลาการศาลทหารจำกัด แต่ยืนยันว่าจะทำให้ดีที่สุด และเร็วที่สุด
ทั้งนี้ ในคดีความที่ฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่ง คสช.ต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งกรณี นายจาตุรนต์ ถือเป็นพลเรือนคนแรก ที่ถูกนำขึ้นศาลทหาร
พ.อ.กิตติยุทธ กิตติยุทธโยธิน ผู้อำนวยการกองกลาง กรมพระธรรมนูญ แจ้งต่อสื่อมวลชนว่า ได้รับแจ้งจาก
เจ้าหน้าที่ทหารที่ควบคุมตัว นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยคดีฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กรณีไม่มารายงานตัว ยังไม่สามารถนำตัวมาขึ้นศาลทหาร เพื่อฟังการพิจารณาคดีในวันนี้ได้ แต่ไม่ได้แจ้งเหตุผลชัดเจนว่า เพราะเหตุใด โดยคาดว่า กรณีไม่สามารถนำตัวมาขึ้นศาลทหารได้ในวันนี้ เพราะพนักงานสอบสวนยังทำสำนวนไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากเพิ่งควบคุมตัวได้ไม่นาน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทหารสามารถควบคุมตัว นายจาตุรนต์ ตามกฎอัยการศึก ได้ 7 วัน นับจากวันที่ควบคุมตัว ก่อนนำตัวมาขึ้นศาลทหาร
ทั้งนี้ ในคดีความที่ฝ่าฝืน หรือขัดคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ต้องระวางโทษ จำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ