ค้าน ส.ว.มาจากสรรหา ลิดรอนอำนาจประชาชน

ไทยรัฐ

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าววานนี้ (15 เม.ย.) ถึงการร่างรัฐธรรมนูญให้ สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. มาจากการสรรหาว่า ไม่เห็นด้วย เนื่องจากการสรรหาเป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชนในการเลือกบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และอย่าลืมว่าประชาชนเคยได้รับสิทธิในการเลือกตั้ง ส.ว.มาแล้ว นอกจากนี้ การสรรหา ส.ว.ไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย และยังเป็นการเสริมสร้างอำนาจให้กับกลุ่มอำมาตยาธิปไตย รวมทั้งไม่มีหลักประกันว่า คณะผู้สรรหา ส.ว. ที่มาจากจังหวัดต่าง ๆ และส่วนกลางจะสามารถสรรหา ส.ว.ได้ดี และมีคุณภาพ อีกทั้งคณะผู้สรรหาที่มีไม่กี่คนอาจจะถูกแทรกแซงจากผู้มีอำนาจได้ง่ายกว่าในอดีต โดยเฉพาะคณะผู้สรรหาที่มาจากจังหวัดต่าง ๆ

นายองอาจ ยังกล่าวถึงอำนาจของ ส.ว.ว่า

ควรจะมีแค่ 2 เรื่อง คือ 1.กลั่นกรองกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และ 2.ให้ความเห็นชอบบุคคลไปดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในองค์กรอิสระ สำหรับเขตเลือกตั้ง ส.ว. อยากเห็นเขตเลือกตั้งที่ใหญ่กว่าเดิมแทนที่จะให้เป็นจังหวัดเดียว โดยควรเป็นกลุ่มจังหวัดกลุ่มละ 3-5 จังหวัดขึ้นไป และคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ว. ไม่ควรเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ต้องไม่สังกัดพรรค 1 ปี ก่อนการเลือกตั้ง และไม่ควรเป็น ส.ส.มาก่อนหน้าลงสมัคร 2 ปี แต่สามารถหาเสียงเลือกตั้งได้ เพื่อแก้ปัญหาสภาผัว-เมีย เพราะผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งต้องได้รับความนิยมจริง ๆ และหากมีการซื้อเสียงจะต้องใช้เงินมาก ถ้าให้ดีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับป้ายหาเสียงให้กับผู้สมัคร ส.ว.ด้วย

โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า

สำหรับมาตรา 67 ของร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับคณะกรรมการแก้ไขวิกฤติประเทศนั้น แนวคิดนี้ไม่น่าจะช่วยแก้ไขวิกฤติของบ้านเมืองได้ เพราะการแก้วิกฤติควรแก้ที่ต้นตอมากกว่าแก้ที่ปลายเหตุ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้คือ 1.ความวุ่นวายเพียงใดถึงเรียกว่าวิกฤติ นิยามอยู่ตรงไหน ทั้งนี้ อาจมีคนกลุ่มหนึ่งที่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะบอกว่า เกิดวิกฤติขึ้นแล้วได้ 2.บุคคลที่มารวมเป็นองค์คณะ หากมาไม่ครบทั้งหมดจะใช้ระบบเสียงข้างมาก หรืออะไรมาตัดสิน 3.เมื่อเรารู้ว่าบุคคลใดจะมาเป็นองค์คณะนี้ จะมีหลักประกันอะไรที่บุคคลเหล่านี้จะไม่ถูกแทรกแซง หรือ 4.ถ้าองค์คณะนี้มีมติใด ๆ แล้ว นายกรัฐมนตรีไม่ปฏิบัติตามจะมีอำนาจอะไรไปบังคับ หากย้อนกลับไปดูวิกฤติที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2549 หากมีองค์คณะนี้อยู่ จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาได้หรือไม่ ซึ่งคราวที่แล้ว องค์กรอิสระหลายองค์กรถูกครอบงำ ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า มาตรา 67 นี้ ไม่น่าจะมีอยู่ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่น่าจะแก้วิกฤติของ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์