เรื่อง “6 แนวทางปฏิรูปประเทศไทย ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2556 จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาค
รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,234 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอ 6 แนวทางปฏิรูปประเทศไทย ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ พบว่า
ประชาชน ร้อยละ 79.09 ระบุว่า เห็นด้วยกับระบบการเลือกตั้งที่ซื้อเสียงไม่ได้ ขณะที่ ร้อยละ 18.15 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 2.76 ระบุว่าไม่แน่ใจ ประชาชน ร้อยละ 67.10 ระบุว่า เห็นด้วยกับแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันอย่างเด็ดขาด เช่น การแก้กฎหมายให้คดีทุจริตไม่มีอายุความ ขณะที่ ร้อยละ 27.63 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 5.27 ระบุว่าไม่แน่ใจ ประชาชน ร้อยละ 69.61ระบุว่า เห็นด้วยกับการให้นักการเมืองเคารพและให้อำนาจประชาชนอย่างแท้จริง
ขณะที่ ร้อยละ 24.96 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 5.43 ระบุว่าไม่แน่ใจ ประชาชน ร้อยละ 49.11 ระบุว่า เห็นด้วยกับการปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ ต้องให้ตำรวจเป็นตำรวจของประชาชนและให้ความดีความชอบแก่ตำรวจ และให้อยู่ใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง
ขณะที่ ร้อยละ 42.22 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 8.67 ระบุว่าไม่แน่ใจ ประชาชน ร้อยละ 79.90 ระบุว่า เห็นด้วยกับการปฏิรูประบบราชการ ให้ข้าราชการอยู่ในระบบคุณธรรมแทนระบบอุปถัมภ์ ขณะที่ ร้อยละ 17.18 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 2.92 ระบุว่าไม่แน่ใจ และท้ายสุด ประชาชน ร้อยละ 78.93 ระบุว่า เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงปัญหาพื้นฐานการศึกษา คมนาคม ขนส่ง สาธารณสุข ต้องทำเป็นวาระแห่งชาติขณะที่ ร้อยละ 16.21 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 4.86 ระบุว่าไม่แน่ใจ
รองศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์ วชิรขจร อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับผลการสำรวจในครั้งนี้เพิ่มเติมว่า
“จากผลการสำรวจ พบว่า จะมีกลุ่มที่เห็นด้วยอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มที่เห็นด้วยในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง มากกว่า ร้อยละ 78 ใน 3 ประเด็น ได้แก่ ให้มีระบบเลือกตั้งที่ซื้อเสียงไม่ได้ การปฏิรูประบบข้าราชการ และการแก้ไขปัญหาขั้นพื้นฐาน
2) กลุ่มที่เห็นด้วย ประมาณ ร้อยละ 67 – ร้อยละ 69 ได้แก่ การแก้ไขปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน และการให้อำนาจประชาชนอย่างแท้จริง และ
3) กลุ่มที่ยังก้ำกึ่งในประเด็นของการปฏิรูปตำรวจ ซึ่งในความจริงแล้วข้อเสนอทั้ง 6 เป็นเพียงนามธรรม ในแต่ละมิตินั้นมีระบบกลไกลในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานคอยกำกับดูแลอยู่แล้ว เช่น ระบบการทุจริตการเลือกตั้ง ก็มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งคอยดูแล หรือการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ก็มีสำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติควบคุมกำกับดูแล หรือแม้แต่การปฏิรูปข้าราชการ ก็มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ซึ่งปัญหาหลักจริง ๆ ไม่ได้อยู่ที่ตัวนโยบายหรือกฎหมายแต่อย่างใด แต่สิ่งที่อยากจะเสนอก็คือ ควรจะทำอย่างไรให้หน่วยงานเหล่านี้ปฏิบัติและทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการบังคับการใช้กฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสิงคโปร์ที่มีความเข้มงวดมากในเรื่องนี้ ซึ่งบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดในคดีทุจริตคอร์รัปชัน คือ การประหารชีวิต ซึ่งก็มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง