รบ.ขิงแก่เมินเสียงค้าน เซ็นเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น

ต้านเอฟทีเอ :


ตัวแทนกลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน ชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อคัดค้านการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น และเตรียมยื่นศาลปกครอง หลังรัฐบาลเห็นชอบการทำเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น แล้ว


เมื่อเช้าวันที่ 27มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า


ตัวแทนกลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอวอทช์)จำนวน 30คน นำโดย เภสัชกรหญิงสำลี ใจดี เข้ายื่นหนังสือชื่อ "วิเคราะห์ความตกลงที่ถูกปกปิดFTA ไทย-ญี่ปุ่น"เพื่อคัดค้านการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ(JTEPA) และประกอบการตัดสินใจ ระหว่างการเดินทางเยือนญี่ปุ่นของนายกฯระหว่างวันที่ 2-5เมษายนนี้


หนังสือปกดำดังกล่าว


มีเนื้อหาวิเคราะห์ความตกลงเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่น ในประเด็นที่ถูกปกปิดเพื่อสร้างความกระจ่างให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)รวมทั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อชี้ให้เห็นข้อมูลบางด้านที่ยังถูกปกปิด โดยเฉพาะข้อมูลจากหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาของกระทรวงพาณิชย์ ที่เป็นข้อมูลด้านเดีย

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการลงนามโดยเร็วเท่านั้น

หนังสือดังกล่าว ยังชี้ให้เห็นถึงผลเสียของข้อตกลงดังกล่าว ในเรื่องของจุลชีพและการผูกขาดพันธุ์พืช, การนำเข้าขยะและของเสียอันตราย,ผลกระทบต่อการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ,ผลกระทบต่อประชาชนไทยผู้รับบริการสาธารณสุขและผลกระทบจากข้อบทเรื่องการลงทุน

ทั้งนี้ หากการประชุม ครม.วันเดียวกันนี้


นายกฯยังไม่แสดงท่าทีชัดเจนเรื่องการลงนามก็จะไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในวันที่ 29มีนาคมนี้ เพื่อให้ออกคำสั่งระงับการลงนามจนกว่าจะมีการศึกษาผลกระทบอย่างจริงจังต่อไป

ต่อมา ร.อ.น.พ.ยงยุทธ มัยลาภ


โฆษกประจำสำนักนายกฯแถลงร่วมกับ นายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ หลังเสร็จการประชุม ครม.

นายวีรชัย แถลงว่า

ครม.มีมติเห็นชอบการลงนามความตกลง JTEPA ที่นายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น จะลงนามร่วมกันการเซ็นลงนามฉบับนี้จะนำหุ้นส่วนไทยญี่ปุ่นที่มีมาหลายร้อยปีแล้วเข้าสู่ยุคใหม่ที่แท้จริง

นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติวิธีแก้ไขข้อกังวลที่จะเกิดขึ้น

โดยให้ รมว.ต่างประเทศ ทำหนังสือชี้แจงเพื่อแก้ไขข้อกังวล โดยเฉพาะประเด็นของเสียอันตรายนั้น หนังสือระบุว่าทั้งสองฝ่ายยืนยันร่วมกันว่า สิทธิและพันธกรณีของทั้งสองฝ่ายยังคงอยู่ภายใต้อนุสัญญาบาเซล คือความตกลงไทยญี่ปุ่นไม่ได้ใหญ่กว่าอนุสัญญาบาเซล คือ ห้ามส่งของเสียออกมา ถ้าผู้รับไม่ยินยอมรับ

คาดว่าเมื่อการลงนามมีผลบังคับใช้แล้ว

จะทำให้จีดีพีขยายตัวมากขึ้นอีก 15เปอร์เซ็นต์ โดยจะมีผลบังคับใช้ปลายเดือนกันยายน ส่วนการลงนามจะมีขึ้นวันที่ 3เมษายนนี้

ขณะที่ ร.อ.น.พ.ยงยุทธ กล่าวว่า


คณะเจรจาฯ ได้ชี้แจงในที่ประชุม ครม.อย่างชัดเจนโดย กรณีเอสเอ็มอีของไทยหากต้องไปจดลิขสิทธิ์ในญี่ปุ่นอาจเป็นเรื่องยาก แต่ JTEPAจะทำให้เรื่องนี้เป็นไปได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้โครงการใดที่อยู่ภายใต้ JTEPAและเป็นทรัพย์สินทางปัญญาก็จะเป็นความร่วมมือระหว่างกัน ผลประโยชน์ก็จะมาแบ่งกัน เป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นยอมรับเป็นครั้งแรก

ผู้ รสื่อข่าวถามว่า หลังการลงนามหากพบว่ามีผลเสียมากกว่าผลดี คณะผู้เจรจาหรือ ครม.จะรับผิดชอบอย่างไร


ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า รัฐบาลรับผิดชอบในการตัดสินใจของเรา หลังจากพิจารณาข้อดีข้อเสียเห็นถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้น ครม.ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว

ด้าน นายวีรชัย กล่าวว่า


"ตลอดเวลาที่ผมทำงานมาล้วนแต่มีความจริงใจ มีอะไรบ้างที่บอกว่าผมไม่จริงใจ คุณทำได้อย่างผมหรือเปล่า เพราะหากไปดูประวัติของตระกูลผม กว่า 6ชั่วอายุคน ล้วนแต่เป็นข้าราชการ แต่มีผมคนเดียวที่มาอยู่กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ผมก็เป็นคนไทยเหมือนกับทุกคน จึงไม่มีเหตุผลอะไรต้องไปวางยารัฐบาล ยืนยันว่าทำทุกอย่างด้วยความจริงใจ"

รายงานข่าวจากที่ประชุม ครม.ระบุว่า


เรื่องการลงนามข้อตกลงร่วมกันด้านการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ที่ประชุม ครม.หารือกันกว่า 40นาที ซึ่งมีรัฐมนตรีหลายคนเห็นด้วย

แต่ นายเกริกไกร จิระแพทย์ รมว.พาณิชย์ ถามในที่ประชุมว่า เอกสารการลงนามสามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้หรือไม่

โดย พล.อ.สุรยุทธ์ บอกว่า ขณะนี้ทราบมาว่า คุณพิศาล มาณวพัฒน์ หัวหน้าคณะผู้เจรจาเจฯ ส่งให้เอ็นจีโอไปหมดแล้ว ซึ่งนายพิศาล ก็ไม่ได้กล่าวอะไร

สำหรับคณะผู้จะเดินทางไปเซ็นลงนาม (JTEPA)


ในวันที่ 2เมษายนนี้ ประกอบด้วย

พล.อ.สุรยุทธ์,นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัฐฎ์ รองนายกฯและรมว.อุตสาหกรรม,
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.กระทรวงการพาณิชย์และ
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.ต่างประเทศ

เมื่อเวลา 19.30น. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกฯ


พร้อมผู้เกี่ยวข้องได้แถลงรายละเอียดข้อตกลงดังกล่าวผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 แต่น่าสังเกตว่านายเกริกไกร จิระแพทย์ รมว.พาณิชย์ ไม่ได้เดินทางไปร่วมชี้แจงด้วย ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเนื่องจากนายเกริกไกรไม่พอใจที่ครม.ตีกลับร่างพรบ.ค้าปลีก

ทั้งนี้นายโฆษิต ยืนยันว่า


การลงนามในความร่วมมือดังกล่าว ก่อให้เกิดผลดีแก่ประเทศากกว่าก่อให้เกิดผลเสีย เนื่องจากปัจจุบันสังคมโลกจะต้องมีการติดต่อซึ่งกันและกัน สำหรับเรื่องกากขยะพิษนั้น เรามีสิทธิใช้กฎหมายของเราดำเนินการได้


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์