นายประวิทย์ แจ่มปัญญา ผู้อำนวยการส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า
จากการที่ประเทศไทยเมื่อช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา มีฝนตกลงมามากกว่าปกติ ส่งผลให้เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ในแถบจังหวัด ตราด และจันทบุรี พบว่ามีบริมาณน้ำฝนสูงถึง 395 มิลลิลิตร ซึ่งในปริมาณดังกล่าวถือเป็นปริมาณที่ทำลายสถิติสูงสุดของประเทศไทยในรอบ 60 ปี โดยมีปัจจัยมาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดผ่านประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม สำหรับสภาพประเทศไทยในช่วงต่อจากนี้ หรือตั้งแต่ 25-27 กรกฎาคม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย
และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยโดยทั่วไปมีฝนลดลง ยกเว้นในบางภูมิภาค เช่น ภาคเหนือ และภาคอีสานตอนบน จะยังคงมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ ส่วนในบริเวณที่มีฝนตกหนักก่อนหน้านี้ได้แก่ จังหวัด ตราด และจันทบุรี ปริมาณน้ำฝนจะลดลงตามลำดับ โดยมีปริมาณน้ำฝนที่ 40-50 มิลลิลิตร ทั้งนี้ในบริเวณดังกล่าวขอให้เฝ้าระวังไปจนกว่าจะหมดฤดูฝน เนื่องจากอาจเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอีกได้
นายประวิทย์ กล่าวว่า จากการคาดการณ์เบื้องต้นของ กรมอุตุฯ พบว่า ในช่วงวันที่ 3-5 สิงหาคม
มีความเป็นไปได้ที่อาจมีพายุโซนร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ซึ่งอาจส่งผลให้ประเทศไทยอาจได้รับอิทธิพลจากลมพายุ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงหลังวันที่ 5 สิงหาคม ทั้งนี้กรมอุตุฯ จะยังไม่สามารถยืนยันได้ 100% ว่าพายุลูกดังกล่าว จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ จนกว่าจะถึงวันที่ 29 กรกฎาคมนี้