แฉไทยชาติคอรัปชัน รองแชมป์โคตรโกง คะแนนเท่าอินโดฯ

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวานนี้ (13 มี.ค.)


ถึงผลสำรวจของบริษัทรับปรึกษาความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจและการเมือง หรือ เพิร์ค สำนักงานในฮ่องกง จัดอันดับชาติหรือเขตเศรษฐกิจในเอเชีย 13 ดินแดน เรื่องทุจริตคอรัปชันประจำปีนี้ ผลปรากฏว่า สิงคโปร์ และฮ่องกง ยังครองตำแหน่งความใสสะอาดมากที่สุด แถมคะแนนยังดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ส่วน ฟิลิปปินส์ ติดอันดับแย่ที่สุด ตามด้วยไทยกับอินโดนีเซีย โดย ไทย แย่ลงกว่าปีที่แล้ว ส่วนอินโดนีเซีย ดีขึ้นเล็กน้อย


ภาพประกอบเนื้อหาข่าวทางอินเทอร์เน็ต



สำหรับหลักเกณฑ์การวัดปัญหาทุจริตคอรัปชันดังกล่าว


เป็นการสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจต่างชาติใน 13 ดินแดน จำนวน 1,476 ราย ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ที่ผ่านมา โดยให้คะแนน 0-10 แต้ม ไล่จาก 0 คือ ความสะอาดโปร่งใสมากที่สุด ลงไปจนถึง 10 แต้ม ถือว่าเลวร้ายที่สุด ซึ่งผลการสำรวจพบว่า

สิงคโปร์ มาอันดับ 1 ประเทศโปร่งใสสุด ได้คะแนน 1.20 แต้ม ซึ่งดีกว่าปีที่แล้วที่ได้ 1.30 แต้ม

อันดับ 2 ฮ่องกง ได้ 1.87 แต้ม ดีกว่าปีที่แล้ว ที่ได้ 3.13 แต้ม

อันดับ 3 ญี่ปุ่น ได้ 2.10 แต้ม ดีกว่าปีที่แล้ว ที่ได้ 3.01 แต้ม

อันดับ 4 มาเก๊า ได้ 5.11 แต้ม แย่ลงกว่าปีที่แล้ว ที่ได้ 4.78 แต้ม

อันดับ 5 ไต้หวัน ได้ 6.23 แต้ม แย่ลงกว่าปีที่แล้ว ที่ได้ 5.91 แต้ม

อันดับ 6 มาเลเซีย ได้ 6.25 แต้ม แย่ลงกว่าปีที่แล้ว ที่ได้ 6.13 แต้ม

อันดับ 7 จีน ได้ 6.29 แต้ม ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ที่ได้ 7.58 แต้ม

อันดับ 8 เกาหลีใต้ ได้ 6.3 แต้ม แย่ลงกว่าปีที่แล้ว ที่ได้ 5.44 แต้ม

อันดับ 9 อินเดีย ได้ 6.67 แต้ม ดีกว่าปีที่แล้ว ที่ได้ 6.76 แต้ม

อันดับ 10 เวียดนาม ได้ 7.54 แต้ม ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ที่ได้ 7.91 แต้ม

อันดับ 11 มี 2 ชาติ เนื่องจากได้คะแนนเท่ากันคือ 8.03 แต้ม คือ

อินโดนีเซีย กับไทย แต่เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อินโดนีเซีย ถือว่าดีขึ้นกว่าเดิม เพราะปีกลายได้ 8.16 แต้ม ต่างจาก ไทย ที่แย่ลงกว่าเก่า เพราะปีที่แล้วได้ 7.64 แต้ม

ส่วน ฟิลิปปินส์ ติดอันดับรั้งท้ายได้ 9.40 แต้ม แย่ลงกว่าปีที่แล้วที่ได้ 7.80 แต้ม

ผลสรุปของการสำรวจปีนี้


ชี้ให้เห็นว่าปัญหาทุจริตคอรัปชันในสิงคโปร์กับฮ่องกง เกิดขึ้นน้อยที่สุด แต่สิงคโปร์ก็มีปัญหาเรื่องการลงทุนของกองทุนเทมาเสก ซึ่งรับซื้อหุ้นของกลุ่มบริษัทสื่อสารชินคอร์ปของไทย อันนำไปสู่ การยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ของคณะก่อรัฐประหาร


ขณะที่ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม สถานการณ์ดีขึ้น


แต่ปัญหาในไทยกลับแย่ลง ทั้งๆที่รัฐบาลทหารยึด อำนาจจากรัฐบาลชุดก่อนมาตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.ปีที่แล้ว พร้อมให้คำมั่นสัญญาว่าจะกวาดล้างการทุจริตคอรัปชันอย่างจริงจัง แต่กลับไม่มีสิ่งบ่งบอกใดๆ ที่ทำให้นักธุรกิจต่างชาติเชื่อมั่นได้ว่า รัฐบาลทหารชุดนี้มีความใสสะอาดมากกว่ารัฐบาลชุดก่อน

ต่างจากอินโดนีเซีย

ซึ่งประธานาธิบดีซูสิโล บัมบัง ยูโดโยโน ดำเนินโครงการกวาดล้างปัญหาทุจริตคอรัปชัน จนได้ผลดีระดับหนึ่ง แต่ยังต้องดำเนินการต่อสู้อีกมาก ขณะที่ มาเลเซีย นั้น ในรายงานของ เพิร์ค ระบุว่า น่าผิดหวังที่นายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี ไม่สามารถลดปัญหาทุจริตคอรัปชันลงได้ตามคำมั่นสัญญา

ต่างจากอินโดนีเซีย


ซึ่งประธานาธิบดีซูสิโล บัมบัง ยูโดโยโน ดำเนินโครงการกวาดล้างปัญหาทุจริตคอรัปชัน จนได้ผลดีระดับหนึ่ง แต่ยังต้องดำเนินการต่อสู้อีกมาก ขณะที่ มาเลเซีย นั้น ในรายงานของ เพิร์ค ระบุว่า น่าผิดหวังที่นายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี ไม่สามารถลดปัญหาทุจริตคอรัปชันลงได้ตามคำมั่นสัญญา


ส่วนสถานการณ์ทุจริตคอรัปชันในฟิลิปปินส์ ยิ่งเลวร้ายลงกว่าปีก่อน


จนติดอันดับสุดท้ายของภูมิภาค แซงหน้าอินโดนีเซีย เจ้าของตำแหน่งเมื่อปีที่แล้ว ปัญหาของฟิลิปปินส์ คือ การยืดกระบวนการพิจารณาคดีคอรัปชันอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา ทำให้เกิดภาพลบในสายตานักธุรกิจต่างชาติที่ร่วมการประเมินปัญหาครั้งนี้


ขณะที่จีนกับเวียดนาม


แม้ว่าปัญหาทุจริตคอรัปชันปีนี้เบาบางลงกว่าปีก่อน แต่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา เพราะ รัฐบาลจีนกับเวียดนามไม่เปิดเผยข้อมูลการทุจริตคอรัปชันแก่สื่อมวลชนมากนัก มีการควบคุมการนำเสนอข่าวสารอย่างเข้มงวด ปัญหาคอรัปชันของจีนจึงเสี่ยงต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่ฮ่องกงด้วย


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์