
วันที่ 6 มิ.ย. ผู้สื่อข่าว ข่าวสด รายงานว่า ได้เกิดปรากฏการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมแม่น้ำปราจีนบุรีเปลี่ยนสี
ในเขตพื้นที่ ตั้งแต่ ต.ท่างาม ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี พบมีคราบสีเขียวเป็นผืนฝ้าไหลเป็นทางยาวเต็มในแม่น้ำปราจีนบุรี เรียกว่าปรากฏการณ์สาหร่ายน้ำเงินแกมเขียว พบว่าเกิดขึ้นในแม่น้ำสายหลักที่ลึกเข้ามาในต้นน้ำเป็นแห่งแรกของไทยที่มีน้ำไหล โดยเฉพาะพื้นที่เลยจากปากอ่าวไทยเข้ามาถึงต้นน้ำ ที่ปกติภาวะนี้มักเกิดในทะเล บริเวณปากอ่าว หรือในน้ำสภาพนิ่งเท่านั้น ที่ผ่านมาทำให้ปลาธรรมชาติและปลาเลี้ยงกระชังไวต่อโรคทยอยตายไม่กินอาหาร ล่าสุด จ.ปราจีนบุรี ได้ขอน้ำจืดจากอ่างเก็บน้ำแควพระปรง จ.สระแก้ว รวม 7 วัน ๆละ 300,000 ลบ.ม. ไล่น้ำเปลี่ยนสีให้ไหลลงทะเลและ ชาวบ้านหวั่นเกิดสารพิษต่อตับและสารก่อมะเร็งที่ปรากฏการณ์แม่น้ำเปลี่ยนสีที่ยังเกิดต่อเนื่องในขณะนี้ แม้จะมีฝนตกมาบ้างแล้วก็ตามนั้น
นพ.นพพร พงษ์ปลื้มปิติชัย นายแพทย์สาธารณสุข จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า
จ.ปราจีนบุรีได้มีการเก็บตัวอย่างน้ำแม่น้ำปราจีนบุรีที่สาหร่ายน้ำเงินแกมเขียวที่เกิดนี้ไปวิเคราะห์ตัวอย่างแล้ว ข้อมูลทางการแพทย์สาหร่ายฯไม่ก่อให้เกิดโรค แต่ทำให้คุณภาพน้ำแย่ลงไม่สามารถนำมาอุปโภคบริโภคได้โดยตรง ต้องผ่านการบำบัดก่อน เช่น ทำให้ตกตะกอน และใส่คลอรีนหรือต้มก่อนให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคหรือสารเคมีในน้ำก่อน พร้อมให้ประชาสัมพันธ์จังหวัดฯ แจ้งเตือนประชาชนแล้ว
ด้านนายจุมพล ทรัพย์วโรดม ประมง จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า
ปรากฏการณ์สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่เกิดในแม่น้ำปราจีนบุรีในขณะนี้ เกิดจากสภาพความแห้งแล้งที่ยาวนานติดต่อกัน ร่วมกับสภาพอากาศร้อนจัด และมีสารอาหารประเภทฟอตเฟตและไนเตรตปริมาณมากในแม่น้ำเนื่องจากปีนี้ฝน ทิ้งช่วงที่ตามปกติในช่วงนี้ จะเป็นช่วงน้ำขุ่นถึงฤดูปลาวางไข่ในน้ำใหม่ที่มีฝนตกลงมาเต็มลำน้ำแล้ว แต่ปีนี้สภาพแวดล้อมผิดปกติ
ผลจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินนี้ ถ้ามีปริมาณสูงจะส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำมีน้อย เนื่องจากสาหร่ายนำไปสังเคราะห์แสง โดยเฉพาะกลางคืนกระทบปลาและสัตว์น้ำ ในส่วนพิษอย่างอื่นต้องมีปริมาณสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมากกว่านี้
ผู้เลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำ มีการเลี้ยงปลาในปริมาณหนาแน่นสภาพอากาศที่ร้อนและปริมาณออกซิเจนในน้ำน้อยนี้ เป็นปัจจัยจะส่งผลต่อการกินอาหาร การตายของปลาได้ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องคอยเติมออกซิเจนในน้ำในขณะนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมสิ่งที่ชาวบ้านวิตก คือ สารพิษที่เกิดจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่มีชื่อว่า “ไมโครซิลติส”
: สารพิษที่สกัดจาก ไมโครซิลติส แอรูจิโนซ่า (Microcystis aeruginosa) มีชื่อว่า “ไมโครซิลทินส์” (Microcystins) ซึ่งแยกออกได้เป็นหลายชนิด ตามลักษณะการทำลาย เช่น ทำลายตับ เรียกว่า “เฮ็บพาโตท็อกซิน” (Hepatotoxins), ทำลายระบบประสาท เรียกว่า “นิวโรท็อกซิน” (Neurotoxins) เป็นต้น ไมโครซิลทินส์ มีความคงตัว (stable) เนื่องมาจากโครงสร้างทางเคมีทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ทั้งในน้ำอุ่น และน้ำเย็น นอกจากนี้ยังทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของน้ำ เช่น ค่าพีเอช (pH) ของน้ำเป็นอย่างดี จนถึงปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถค้นพบไมโครซิลทินส์ มากถึงกว่า 50 ชนิด รวมทั้งชนิดที่มีชื่อว่า “ไมโครซิลทินส์-แอลอาร์”
Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว