ทั้งฉบับก็ไม่ได้ รายมาตราก็ไม่เอา

ทั้งฉบับก็ไม่ได้ รายมาตราก็ไม่เอา


หลังศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 ที่บัญญัติให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมายกร่างธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ล่อแหลมต่อการขัดรัฐธรรมนูญ ควรรับฟังความเห็นของประชาชนผู้ลงประชามติให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญก่อน

คำ ตัดสินดังกล่าว ทำให้รัฐบาลเพื่อไทยและพรรคร่วม ไม่กล้าเดินหน้าลงมติวาระสาม ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเลยค้างเติ่งอยู่ในสภา และต่อมารัฐบาลเสนอให้มีการลงประชามติ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เขียนจดหมายเปิดผนึกเชิญชวนให้ "มาร่วมกันคว่ำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อนักโทษ ก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ นำพาประเทศเดินไปข้างหน้า"

ข้อความในจดหมายถูกตั้งคำถามว่า นายอภิสิทธิ์ต้องการอะไรแน่ ต่อต้านการลงประชามติ
ซึ่งเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือไม่ต่อต้านแต่เชิญชวนลงประชามติ ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ขณะที่ฝ่ายเสนอแก้ไข วิเคราะห์ว่า แท้จริงแล้วผู้นำฝ่ายค้านต้องการสร้างกระแสต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั่นเอง

และถูกโต้กลับอีกว่า ท่าทีดังกล่าวสวนทางกับจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ก่อนหน้านี้ ที่แสดงชัดเจนว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ถ้า ไม่เช่นนั้น คงไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไข รัฐธรรมนูญ มี ศ.สมบัติ ธำรงธัญวงค์ เป็นประธาน และเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น

ได้แก่ มาตรา 190 การทำหนังสือสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา มาตรา 93-98 เรื่องระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 111-121 ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา มาตรา 265 การห้ามดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดๆ ในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา

มาตรา 266 การห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกแทรกแซงการทำงานของฝ่ายบริหาร

มาตรา 237 การยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง

แต่ เพราะกลัวกระทบเสถียรภาพ รัฐบาลล้มเร็วเกินไป เลยแก้ไขแค่ 2 ประเด็น คือ มาตรา 93-98 กับ มาตรา 190 อีก 4 มาตรา ค้างไว้ จนกระทั่งยุบสภา เลือกตั้งใหม่วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 รัฐบาลเปลี่ยนเป็นพรรคเพื่อไทย

เมื่อ ร่างแก้ไข มาตรา 291 ที่ค้างอยู่เดินหน้าต่อไม่ได้ ทำให้เกิดการจับมือระหว่าง ส.ว.เลือกตั้ง นำโดย นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ ชุดก่อนหน้า ศ.สมบัติ กับ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ต่อประธานรัฐสภาวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา

แก้ไข 3 ประเด็นคือ 1.มาตรา 237 เกี่ยวกับการยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารทุกคน และมาตรา 68 เกี่ยวกับสิทธิการยื่นเรื่องร้องต่อศาลรับธรรมนูญจะยื่นตรงไม่ได้ต้องยื่น ผ่านอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ไม่สามารถยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง

2.มาตรา 111 112 113 114 115 117 118 และ 120 ที่มาและการดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก ให้ยกเลิก ส.ว.สรรหา มีแค่ ส.ว.เลือกตั้งที่ประชาชนเลือกโดยตรง 200 คน

3.มาตรา 190 เกี่ยวกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่รัฐบาลจะต้องเปิดเผยรายละเอียดการเจรจากับต่างประเทศ เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภา

ปรากฏ ว่า ท่าทีของประชาธิปัตย์ แสดงโดยนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคแถลงว่า เป็นการแก้ไขเพื่อเพิ่มสิทธิและเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมือง เช่น การเพิ่มระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของ ส.ว.เป็น 2 วาระ หรือการยกเลิกการยุบพรรคเพื่อปกป้องกรรมการบริหารพรรค การจำกัดสิทธิของประชาชนกรณีให้ยื่นฟ้องผ่านอัยการสูงสุดก่อนเสนอต่อศาลรัฐ ธรรมนูญ หากอัยการไม่ขยับ ปากของประชาชนจะถูกปิดลงทันที

แก้ไขทั้งฉบับก็ไม่เอา แก้ไขรายมาตราก็มีปัญหา

เลยเกิดคำถามว่า ควรแก้หรือไม่ควรแก้ ถ้าควรแก้ ประเด็นที่ควรแก้ในแง่มุมของประชาธิปัตย์ หน้าตาเป็นอย่างไร

ทำนอง เดียวกัน ประเด็นการแก้ไขมาตรา 68 ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญปัจจุบัน เคยชี้มาแล้วว่า ผู้ร้องทำได้ทั้งสองทาง ยื่นผ่านอัยการสูงสุดก็ได้ ยื่นตรงถึงศาลรัฐธรรมนูญเลยก็ได้

ศาลรัฐธรรมนูญปัจจุบันจึงเข้าข่าย ผู้มีส่วนได้เสีย

หากให้ศาลรัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นผู้วินิจฉัย ย่อมขัดหลักการอย่างชัดเจน

ปิด ท้ายวันนี้ คิดถึงคำพูดของ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ "พรรคประชาธิปัตย์ต้องแยกแยะเรื่องการบริหารออกจากเรื่องการเมือง เพราะทุกวันนี้ประชาชนเบื่อความขัดแย้ง หากยังหมกมุ่นกับการเมืองเกินไป จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่สร้างสรรค์ อยากเห็นพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่เข้มแข็ง เป็นสถาบันที่มีนโยบายที่จะต้องตรวจสอบรัฐบาล ไม่ใช่ตรวจสอบการเมืองอย่างเดียว"

บทพิสูจน์ ว่าข้อชี้แนะของนายอลงกรณ์ได้ผลหรือไม่ ก็คือ ท่าทีของพรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ นั่นเอง

เป็นไปเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่ดีกว่า หรือเพื่อด่าเพื่อไทยลูกเดียว

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์