คนละหมัด! กรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก จวก โต้ง พูดไม่ตรงข้อเท็จจริงเรื่อง รถไฟความเร็วสูง

คนละหมัด! กรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก จวก โต้ง พูดไม่ตรงข้อเท็จจริงเรื่อง รถไฟความเร็วสูง


เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2556 เวลา 22.18 น.นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Korn Chatikavanij" ถึงกรณีที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน แทน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายในนิทรรศการ Thailand 2020 ก้าวใหม่ เชื่อมไทยสู่โลก  ในประเด็นแผนการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงว่า

พูดความจริงกันดีกว่า

เช้านี้คุณกิตติรัตน์ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการนายกฯพบประชาชน พูดเกี่ยวกับการกู้เงิน 2ล้านล้าน ช่วงหนึ่งพาดพิงมาทางผมว่า

"เรียน ชี้แจงว่ามีท่านอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาชมนิทรรศการ และท่านบอกว่าโครงการต่างๆ ที่จะลงทุนดูเหมือนไม่เป็นเรื่องใหม่อะไร เพราะว่าเป็นเรื่องที่ท่านริเริ่มไว้ ขออนุญาตใช้รายการนี้ถกเถียง ผมไม่พบว่ามีการพูดถึงระบบรถไฟความเร็วสูงขณะที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง และผมไม่พบว่ามีการผลักดันในเรื่องรถไฟรางคู่ในช่วงที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่า การกระทรวงคลัง"

ผม อยากบอกว่าอย่ามาถกเถียงกับผมเลยครับ มีงานต้องทำก็ทำไป แต่ถ้าจะใช้สื่อของรัฐโจมตีฝั่งตรงข้าม ก็กรุณาทำการบ้านมาก่อนครับ แค่ถามข้าราชการกระทรวงคลังที่เคยทำงานกับผมก็น่าจะได้คำตอบแล้ว หรือดีกว่านั้นคือ อย่าไปรบกวนเขา แลัวกด google เอาเอง ใส่ว่า ′รถไฟความเร็วสูง กรณ์′ ก็จะเห็นว่าผมได้เป็นตัวแทนของกระทรวงการคลัง ร่วมงานกับกระทรวงคมนาคม ในการเปิดตัวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง

โครงการ นี้ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอยๆ แต่มีการเริ่มต้นโดยอดีตนายกฯอภิสิทธิ์ และอดีตรองนายกฯกอร์ปศักดิ์ได้เดินทางไปเปิดประเด็นกับรัฐมนตรีกระทรวงรถไฟ ของจีนช่วงปี ๒๕๕๒ จากนั้นรองนายกฯสุเทพก็ได้เดินทางไปจีนเพื่อเจรจาอย่างเป็นทางการและได้เอา หลักการมาเข้าครม. และมีการมอบหมายให้คุณกอร์ปศักดิ์เป็นประธานคณะกรรมการเจรจา เมื่อมีมติครม.ดังนี้ ทางจีนก็ส่งคณะลงมาเจรจาทันที และเราก็เอาแนวทางการร่วมลงทุนทั้งหมดเข้าสภาฯเพื่อขออนุญาตสภาฯไปเจรจาลง นาม MoU ต่อไป

หลัก การคือจะมีการตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมาโดยไทยถือหุ้น 51% จีน 49% พูดง่ายๆก็คือจีนต้องใส่เงินเข้ามาด้วย ไม่ได้ใช้เงินกู้อย่างเดียวเหมือนแผนรัฐบาลปัจจุบัน

ส่วนเส้นทางคือเชื่อมรถไฟที่วิ่งจากคุนหมิง-เวียงจันทร์ กับหนองคาย-อุดรฯ-ขอนแก่น-โคราช-กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ สู่สิงค์โปร์

ไทยเราได้ประโยชน์มากที่สุดเพราะวิ่งอยู่ในพื้นที่เราถึง 1,600กิโล

ถึง กับผ่านสภาฯมาแล้ว เพียงแต่เมื่อยุบสภาฯและเปลี่ยนรัฐบาล แนวทางนี้ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อไทย ก็ทำให้เสียเวลาไปอีกอย่างน้อยสองปี

ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่นั้น กระทรวงคลังได้นำไปเจรจากับทางญี่ปุ่นว่ามีความสนใจหรือไม่อย่างไร

ที่ ผมหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาชี้แจง ก็เพราะการที่คนระดับรองนายกฯได้พูดไม่ตรงกับข้อเท็จจริงนั้น มีความน่าเป็นห่วงอยู่ 2 ประการ คือ ท่านดูเหมือนทำงานโดยไม่มีข้อมูล หรือไม่ท่านก็โกหกสีอะไรอยู่ผมไม่ทราบ ทางใดทางหนึ่งทำให้ผมอดเป็นห่วงประเทศชาติไม่ได้ ก็ฝากให้ท่านนายกรัฐมนตรีพิจารณาเอง

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์