ขีดเส้นไอแบงก์ส่งแผนมี.ค.นี้ สศค.ประเมินมากกว่าพันล. เงินไม่พอต้องขอแหล่งใหม่
ไอแบงก์ขอคลังเลื่อนส่งแผนฟื้นฟู สศค.เผยเหลือเงินเพียง 445 ล้าน หลังอนุมัติแผนเพิ่มทุนเอสเอ็มอีแบงก์ ต้องควานหาเงินเพิ่มจากแหล่งอื่นให้ครอบคลุมหนี้้เสียพอรับการดำเนินงานใน อนาคต รอเสนอ รมว.คลังอนุมัติต่อไป
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ผู้บริหารของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือไอแบงก์ ได้ขอเลื่อนการส่งแผนฟื้นฟูให้ สศค.พิจารณา ซึ่งตามหลักต้องเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังได้พิจารณาเห็นชอบแผนฟื้นฟูไปแล้ว
นายสมชัยกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ได้เร่งรัดไปไอแบงก์แล้วว่าจะต้องส่งแผนมาให้ภายในเดือนมีนาคมนี้ ส่วนการเพิ่มทุนจะพิจารณาจากความเป็นไปได้ตามแผนการแก้ไขปัญหาหนี้เสีย ซึ่งอาจจะมากกว่างบประมาณที่เตรียมไว้ในปี 2556 จำนวน 1,000 ล้านบาท แต่วงเงินเหลือเพียง 445 ล้านบาท เนื่องจากต้องนำไปใช้เพิ่มทุนให้เอสเอ็มอีแบงก์ จำนวน 555 ล้านบาท โดยอาจจะนำเงินจากส่วนอื่นมาใส่ให้เพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน ในอนาคต แต่ต้องรอเสนอนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาความเหมาะสมก่อน
นายสมชัยกล่าวว่า ก่อนหน้านี้นายธานินทร์ อังสุวรังษี ผู้จัดการไอแบงก์ ระบุว่าแผนเพิ่มทุนใหม่ที่จะเสนอในเร็วๆ นี้นั้น คาดว่าจะขอเงินเพิ่มทุน 6,000-7,000 ล้านบาท เพื่อเดินหน้าขยายสินเชื่อให้ได้ 1.5 แสนล้านบาท ภายใน 5 ปี จากปัจจุบันที่มีสินเชื่อประมาณ 1.2 แสนล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่จะขอเพิ่มทุน 1.4 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายสินทรัพย์เป็น 3 แสนล้านบาท ใน 5 ปี
เนื่องจากในครั้งแรกที่หารือกันนั้นกระทรวงการคลังมองว่าเป็นวงเงินที่สูง เกินไปธนาคารจึงต้องกลับมาทำแผนเพื่อเสนอกลับไปใหม่พร้อมตั้งเป้าหมายขยาย สินทรัพย์เป็น 2 แสนล้านบาท ภายใน 5 ปี รวมทั้งเตรียมสัดส่วนเงินลงทุนกับเงินให้สินเชื่อจาก 25% ต่อ 75% เป็น 20% ต่อ 80% โดยจะเน้นการเพิ่มสัดส่วนการขยายสินเชื่อไปยังรายย่อยมากขึ้น นอกจากนี้ ยังตั้งเป้ายอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จากการปล่อยสินเชื่อใหม่ต้องไม่เกิน 2% จากปัจจุบันมีเอ็นพีแอลที่ 3.9 หมื่นล้านบาท หรือ 20% ของสินเชื่อทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังได้เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของเอสเอ็มอีแบงก์ โดยใส่เงินเพิ่มทุนให้จำนวน 555 ล้านบาท จัดสรรไว้ในงบประมาณปี 2556 ซึ่งจะทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารอยู่ที่่่่ 4% ทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ และหากเป็นไปตามแผนแก้ไขหนี้เสียให้ได้จำนวน 10,700 ล้านบาท ภายในปีนี้จะทำให้กองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ที่่่่ 7-8% จากปัจจุบันอยู่ที่่่ 1% มีจำนวนหนี้เสีย 32,000 ล้านบาท หรือประมาณ 30% ของยอดสินเชื่อคงค้างที่่่่ 96,000-97,000 ล้านบาท โดยแผนฟื้นฟูประกอบด้วย 4 เรื่องหลัก อาทิ แผนปล่อยสินเชื่อในอนาคต จำกัดวงเงินเอสเอ็มอีไม่เกิน 15 ล้านบาท เป็นต้น