ทำไม แม่ชีจากสันติอโศก ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้?
หน้าแรกTeeNee ที่นี่ข่าววันนี้, ข่าวหน้าหนึ่ง ข่าวอื่นๆ ทำไม แม่ชีจากสันติอโศก ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้?
วันที่ 3 มี.ค. 56 ช่วงบ่าย ที่หน่วยเลือกตั้งที่ 19 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม ได้มีแม่ชีจากสันติอโศกเดินทางมาขอใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถใช้สิทธิลงคะแนนได้
สืบ เนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 ที่ผ่านมา คณะแม่ชีได้ขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้าน แต่ปรากฏว่ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งแจ้งว่าเป็นนักบวช ไม่สามารถใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งได้ ทำให้คณะแม่ชีเสียสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จึงมาสอบถามคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า ทำไมตีความว่าแม่ชีเป็นนักบวช ทั้ง ๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติในทางกฎหมายใดรับรอง เป็นเหตุทำให้เสียสิทธิของพลเมืองตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ
สำนัก งานคณะกรรมการเลือกตั้งพิจารณาแล้วมีข้อสรุปว่าในเรื่องดังกล่าวสำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกาเคยตอบข้อหารือของกรมการปกครองว่า “นักบวช” ตามความหมายของรัฐธรรมนูญมาตรา 93(3) แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 จะหมายความรวมถึง “ชี” ด้วยหรือไม่ นั้น
อาศัย คำอธิบายตามความเข้าใจทั่วไป โดยยึดถือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นแนวทาง และได้อธิบายคำว่า “นักบวช” หมายถึง ผู้ถือบวช และคำว่า “ชี” หมายถึงนักบวชหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้ว ผม ถือศีล หรือนัยหนึ่งนักบวชหญิง ฉะนั้น คำว่า “ชี” จึงมีความหมายรวมอยู่ในคำว่า “นักบวช” ด้วย
โดย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 100 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
(1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
ซึ่ง เมื่อพิจาณาแล้ว จะเห็นได้ว่าได้ใช้ถ้วยคำเช่นเดียวกันตลอดมากับรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา ดังนั้น คำว่า “ชี” ตามมาตรา 100 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อเทียบเคียงตามเหตุผลของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงน่าจะมีความหมายรวมอยู่ในคำว่า “นักบวช” ด้วย
สรุป แม่ชีถือว่าเป็นนักบวชซึ่งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย