นักประดิษฐ์วัยโจ๋ โชว์ไอเดียเพื่อสุขภาพ

จากมันสมองและสองมือ เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้นมากมาย


ฟิลิปส์เปิดเวทีจัดประกวด "เยาวชนยอดนักประดิษฐ์ฟิลิปส์" ครั้งที่ 6 เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนไทยสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และโซลูชันอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนยิ่งขึ้น ในหัวข้อ "สิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อสุขภาพคนไทย" ที่ห้องสยามมกุฎราชกุมาร และห้องพัชรกิติยาภา อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ในปีนี้มีทีมที่ผ่านการคัดเลือก 20 ทีม จากผู้ส่งผลงานเข้าร่วม 95 ทีม

บรรยากาศการพรีเซนต์งานแม้จะดูเคร่งเครียด


แต่น่าตื่นตาไปกับสิ่งประดิษฐ์หน้าตาแปลกประหลาด ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กจัดวางพร้อมเอกสารแนะนำโครงงาน

"ระวังมีวัตถุอยู่ด้านหน้าคุณ"

เสียงร้องทักของหญิงสาว ต้นเสียงเกิดจาก "ไม้เท้านำทางพูดได้สำหรับคนพิการทางสายตา" จากวิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์

นายจักรพันธุ์ ล้ออุทัย หรือพันธุ์


ชั้นปวส.2 แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง หัวหน้าทีมมะขามหวาน เล่าว่า "ไม้เท้านี้นำมาพัฒนาต่อยอดจากรุ่นพี่ สามารถบอกทิศทางและสถานที่ต่างๆ ได้โดยอาศัยการทำงานของคลื่นแม่เหล็กโลกเพียงแค่กดสวิตช์ ทั้งยังจับสัญญาณสิ่งกีดขวางได้ในระยะ 20-100 ซ.ม. เพราะปลายไม้เท้าติดสัญญาณอ่านรหัส RFID เมื่อไปถึงตำแหน่งที่มี RFID CARD ที่ฝังอยู่ใต้พื้นดินหนาไม่เกิน 4 ซ.ม. ไม้เท้าจะอ่านรหัส แล้วส่งสัญญาณไปยังไมโครคอนโทรเลอร์ เพื่อประมวลผลเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลในหน่วยความจำ"

พันธุ์เล่าถึงข้อจำกัดของอุปกรณ์ชิ้นนี้ว่า


ไม้เท้ายังหนักมากถึง 1.2 ก.ก. คนมือเล็กอาจจับไม่สะดวก ตรงส่วนหัวมีขนาดใหญ่เพราะใส่อุปกรณ์มาก แถมราคาสูงถึง 2.5 หมื่นบาท เหมาะสำหรับใช้ในเขตจำกัดทางเดินสำหรับคนพิการ อนาคตจะพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงโดยใช้สัญญาณไวเลทเข้ามาแทน

ถัดไปไม่ไกลกันเห็นสายน้ำเกลือพันระโยงระยางอยู่ ทั้งยังมีเสียงตี๊ดยาว พร้อมสัญญาณไฟสีแดงกระพริบ เครื่องมือที่ว่านี้คือ "เครื่องเตือนน้ำเกลือหมดแบบบอกตำแหน่ง" จากวิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี

เคยไปเฝ้าคุณตาที่โรงพยาบาล


และต้องคอยเตือนพยาบาลว่าน้ำเกลือจะหมด จึงเป็นที่มาของเครื่องนี้" คำบอกเล่าของแจ๊ค หรือ นายศรายุทธ แย้มศรี ชั้นปวส. แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์

แจ๊คเล่าต่อว่า

"การทำงานจะแบ่งเป็นเครื่องรับและส่งสัญญาณ ซึ่งใช้ได้ในระยะ 100 เมตร และไม่รบกวนสัญญาณเครื่องมือแพทย์ เพราะมีกำลังส่งต่ำ แถมยังพกพาง่าย น้ำหนักเบา ต้นทุนไม่แพง ซึ่งทดลองใช้ที่โรงพยาบาลอินทร์บุรีมาแล้ว"

ขณะที่นายสกลพงษ์ บูรณะวิทย์ หรือปั้น


จากทีม "SMART ELECTRON" ชั้นปี 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตแชมป์เก่า ส่ง "ผ้าห่มอบอุ่นร่างกายสมองกลฝังตัวอัจฉริยะ" มาจัดแสดง



ปั้นเล่าว่า


เมื่อผู้ป่วยต้องเข้าผ่าตัด การรักษาอุณหภูมิของร่างกายเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายแก่อวัยวะต่างๆ ปัจจุบันเครื่องอบอุ่นร่างกายมักมีใช้ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ เพราะราคาสูง ประมาณ 5 หมื่นบาท ส่วนผ้าห่มมีราคา 700 บาทต่อผืน ทั้งยังเป็นวัสดุสิ้นเปลืองต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ขณะที่โรงพยาบาลขนาดเล็กต้องนำผ้าห่มไปอบเพื่อให้เกิดความอบอุ่น เครื่องต้นแบบนี้ใช้งบเพียง 5 พันบาท ขณะที่ผ้าห่มอยู่ที่ผืนละ 7 บาท รวมค่าตัดเย็บราว 70 บาท"

กับอุณหภูมิห้องผ่านขดลวดความร้อน

ส่วนประกอบหลักมีเครื่องเป่าลมร้อนและผ้าห่ม เครื่องเป่าลมร้อนจะสร้างลมให้เท่า

ก่อนเป่าลมผ่านท่อส่งไปยังผ้าห่ม ภายใต้ผ้าห่มจะเจาะรูไว้เพื่อให้ลมร้อนกระจายปกคลุมทั่วร่างกาย สิ่งที่ต้องปรับปรุงในอนาคตคือยังไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ และต้องควบคุมโปรแกรมให้แม่นยำมากขึ้น รวมทั้งต้องออกแบบทางเดินลมของผ้าห่มด้วย

นอกจากนี้ ยังมี "AN AUTO MATIC WALKER"

เครื่องช่วยเดินเพื่อชีวิตที่มีสไตล์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล เครื่องต้นแบบนี้เดินหน้าได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ยังไม่ได้ใส่โปรแกรมการเดินถอยหลัง ซ้ำยังมีปัญหาการขึ้นลงบันได สมาชิกในทีมเล่าถึงพัฒนาการในอนาคตว่าจะพัฒนาหน้าจอแอลซีดีเพื่อเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานและปรับปรุงส่วนอื่นๆ ให้ดีขึ้น

มาที่ "ชุดตรวจสุขภาพช่องปากและฟันภาคสนาม"


จากวิทยาลัยการอาชีพบึงกาฬ แม้จะบันทึกเป็นวิดีโอได้แต่ยังมีปัญหาเรื่องงบประมาณ เช่นเดียวกับ "เครื่องผลิตก๊าซโอโซนขนาดเล็ก สำหรับสลายสารพิษในผักและผลไม้" จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ประสบปัญหาเรื่องไฟกระโดด และต้องศึกษาเรื่องโอโซนให้ดี เพราะมีทั้งคุณและโทษ



ส่วน "รถเข็นไฟฟ้าอัจฉริยะสำหรับคนพิการ รุ่นประหยัด"


จากมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงราย นำโครงสร้างของรถเข็นเก่ามาปรับปรุง พร้อมติดจอยสติ๊กเป็นคันบังคับ

ผลการประกวด


รางวัลชนะเลิศ ไม้เท้าพูดได้สำหรับคนพิการทางสายตา วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์

อันดับ 2 เครื่องเตือนน้ำเกลือหมด วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี

อันดับ 3 เครื่องกายภาพบำบัดขา วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) จ.ฉะเชิงเทรา


รางวัลชมเชย


อันดับ 1 ผ้าห่มอบอุ่นร่างกายสมองกลฝังตัวอัจฉริยะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชมเชยอันดับ 2 เครื่องควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยการรู้จำเสียงพูด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ชมเชยอันดับ 3 รถเข็นไฟฟ้าอัจฉริยะสำหรับคนพิการ รุ่นประหยัด มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงราย


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์