นักวิชาการ ห่วงวิกฤตหนี้ยูโรโซนกระทบไทย


นักวิชาการ ห่วงวิกฤตหนี้ยูโรโซน-สหรัฐ กระทบ ศก.ไทย จับตาแผนกระตุ้นศก.สหรัฐ ชี้ หากไม่ผ่านสภาโอกาสช็อกทั้งระบบสูง เงินทุนเคลื่อนย้ายซ้ำรอบวิกฤตซัพไพร์ม

ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจต่างประเทศ กำลังมีความยุ่งยากในหลายจุดคือ

1.การฟื้นตัวของศก.สหรัฐ ที่ล่าช้าและมีแนวโน้มกำลังเจอปัญหาใหม่และมีแนวโน้มหนักขึ้น ประกอบกับการใช้ QE อัดฉีดรอบ

2 เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่ามา ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐได้ ทำให้จำเป็นต้องหาเงินก้อนใหม่ทำให้ปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐ ถึงทางตันเนื่องจากชนเพดานเงินกู้(Dead Ceiling)แล้วทำให้กู้ใหม่ไม่ได้หากคิดเป็นเงินบาทก็ประมาณ 500ล้านล้านบาท ถ้าจะกู้ใหม่ต้องขออนุมัติจากสภาให้ขยายเพดานเงินกู้ใหม่ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะสภาจะอนุมัติให้หรือไม่ แต่แนวโน้มมีโอกาสผ่านน้อยมาก และถ้าไม่อนุมัติหนี้ใหม่ เพื่อมาชำระหนี้เดิมก็จะถึงจุด Defalt คือ ไม่มีเงินมาชำระหนี้เดิม และในอีกไม่กี่วันจะทราบผล ดังนั้น หากปัญหานี้ไม่ผ่านสภาโอกาสเกิดแรงกระเพื่อม หรือ เกิดการช็อกครั้งใหญ่ในระบบเศรษฐกิจโลก ก็มีสูง สถาบันการเงินทั่วโลก หรือ นักลงทุนกองทุนในทั่วโลกก็จะเกิดปัญหาระส่ำระสายแน่นอน เงินทุนจะมีการเคลื่อนย้ายกระจัดกระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เหมือน 4 ปีที่แล้ว

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรป ที่ขณะนี้มีสูงมากโดยเฉลี่ยมีหนี้สาธารณะประมาณ 89% ของ GDP กรีซ ประสบปัญหาหนักสุด 142% ล่าสุดอิตาลี กำลังจะประสบปัญหาเดียวกันคือ ชำระหนี้ไม่ได้ มีหนี้สาธารณะสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป มากกว่า 100% ถึงหนี้ก้อนนี้น้อยกว่าสหรัฐ 5 เท่า แต่ก็ถือว่าเป็นหนี้สูงมาก เมื่อเทียบกับขนาดของประเทศ ประเมินแล้วว่า น่าจะเกิดปัญหาตามมาแน่นอน เพราะการประกอบการธุรกิจการค้า การเติบโตทางธุรกิจถดถอยไม่มีรายรับเข้าประเทศ ชำระดอกเบี้ยไม่ได้ ทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายออกมาสู่ประเทศกลุ่มเอเชียมากมาย

และปัญหาสุดท้าย คือ ประเทศญี่ปุ่นมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจล่าช้า คาดว่าอาจใช้ระยะเวลานานฟื้นตัวนาน ขณะประเทศไทยเป็นประเล็ก มีโอกาสได้รับผลกระทบแน่นอน


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์