คมชัดลึก :คลังลุยแก้หนี้ภาคประชาชน ตั้งสำนักปากท้องประสานออมสิน-กรุงไทยอุ้มหนี้บัตรเครดิตหวังช่วยลูกหนี้มีประวัติชำระดี มียอดหนี้ไม่เกิน 2 แสนบาทต่อราย เปิดช่องจ่ายค่างวดนานขึ้น ดอกเบี้ยลดลงเหลือ 10% พร้อมเปิดรับแก้หนี้นอกระบบรอบ 2 ควบคู่แก้หนี้เกษตรกรเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่ามีหนี้บัตรเครดิตทั้งระบบประมาณ 1.9 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้ที่มีประวัติดีประมาณ 1.7 แสนล้านบาท โดยมีลูกหนี้ที่ผ่อนชำระดอกเบี้ยหรือจ่ายชำระขั้นต่ำ 10% ในแต่ละเดือนมีสัดส่วนประมาณ 30-35% ของวงเงิน 1.7 แสนล้านบาท หรือเป็นมูลหนี้ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท นายกรณ์กล่าวต่อว่า ธนาคารรัฐทั้ง 2 แห่งจะเป็นผู้รับภาระรับโอนหนี้บัตรเครดิตจากสถาบันการเงินต่างๆ "บัตรเครดิตถือว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญ แต่ก็มีโทษมหันต์หากผู้ใช้บัตรไม่มีวินัย ขณะเดียวกันก็ยังเพิ่มความคล่องตัวของมาตรการ ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ที่จะเข้าโครงการยังถือบัตรเครดิตไว้ได้ 1 ใบ เผื่อรองรับเหตุจำเป็นฉุกเฉิน เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแบงก์ทั้ง 2 ให้ได้ระยะหนึ่งก่อน โดยมั่นใจว่า แม้ลูกหนี้บัตรเครดิตที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการอาจจะได้รับเงื่อนไขที่ดีขึ้นจากธนาคารเจ้าของบัตรเอง เพราะธนาคารผู้ออกบัตรจำเป็นต้องเสนอเงื่อนไขที่ดีขึ้น เช่น ปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมลง เพื่อจะรักษาลูกค้าไว้ ไม่เช่นนั้นก็มีสิทธิ์โดนโอนหนี้ส่วนนี้มาที่ออมสินและกรุงไทยแทน" นายกรณ์ กล่าว นอกจากนั้นสำนักปากท้องที่ตั้งขึ้น ยังต้องประสานความร่วมมือกับสถาบันการเงินของรัฐในการเปิดโครงการแก้หนี้นอกระบบรอบที่ 2 นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า เบื้องต้นธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จะรับโอนหนี้บัตรเครดิตที่มีวงเงินเฉลี่ย 1-2 แสนบาทต่อราย โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 10% ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ (เอ็มแอลอาร์) บวก 3-5% ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยดอกเบี้ยบัตรเครดิตปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 20% คาดว่าจะเปิดขึ้นทะเบียนได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้
ว่า เป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินและสวัสดิการของประชาชนอย่างทั่วถึง ด้วยการประสานงานกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐให้เข้ามาขับเคลื่อนการแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน โดยประมาณปลายเดือนพฤษภาคม หรือต้นเดือนมิถุนายนนี้ สพช.ร่วมกับธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสินจะเปิดตัวโครงการแก้หนี้บัตรเครดิตของลูกหนี้ที่มีประวัติในการชำระหนี้ดี แต่มีหนี้บัตรเครดิตหลายใบ
และเปลี่ยนสถานะเป็นหนี้ส่วนบุคคลที่มีเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ยาวขึ้นและอัตราดอกเบี้ยต่ำลงจากเดิม โดยมองว่าธนาคารทั้ง 2 แห่ง อาจไม่ต้องเตรียมวงเงินรองรับถึง 5 หมื่นล้านบาท เพราะมั่นใจว่า สถาบันการเงินผู้ออกบัตรจะต้องเสนอเงื่อนไขเข้ามาแข่งขันเพื่อรักษาฐานลูกค้าที่ดีกลุ่มนี้ไว้ เพราะสิ่งที่รัฐบาลต้องการจากมาตรการดังกล่าวคือ ต้องการกระตุ้นให้สถาบันการเงินที่ออกบัตรเครดิตพิจารณาสถานะลูกหนี้ในกลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นลูกหนี้ที่ดี แต่กลับคิดดอกเบี้ยในอัตราสูง จึงควรพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยลง เพื่อจะไม่ต้องสูญเสียลูกค้ากลุ่มนี้ให้แก่ธนาคารรัฐ และรักษาสถานภาพของลูกหนี้กลุ่มนี้ต่อไป
ซึ่งคาดว่าจะเริ่มลงทะเบียนได้ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยมีเงื่อนไขเปลี่ยนไปจากรอบแรกคือจะลดวงเงินในการแก้หนี้จาก 2 แสนบาทต่อราย เหลือ 1.2 แสนบาทต่อราย และจะเปลี่ยนการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้จากเดิมที่จ่ายหนี้แทนก้อนเดียวทั้งหมดเป็นทยอยจ่ายคืนเป็นงวดๆ เพื่อรอดูพฤติกรรมของลูกหนี้ด้วย รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคเกษตร โดยจะดำเนินการทั้งในส่วนของลูกหนี้ของกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร และลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส.) ควบคู่กัน
คลังลุยแก้หนี้ภาคปชช.สางหนี้บัตรเครดิต
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การที่รัฐจะมีมาตรการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตให้แก่ลูกค้าชั้นดี
โดยโอนหนี้ไปไว้ที่ธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสินนั้น มองว่า ต้องพิจารณาว่าจะเป็นมาตรการระยะสั้น หรือระยะยาว ซึ่งมาตรการดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ แต่ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงน่าจะเป็นส่วนของธุรกิจนอนแบงก์ หรือผู้ประกอบการบัตรเครดิต ทำให้รายได้หายไปบางส่วน
ทั้งนี้ ธุรกิจบัตรเครดิตมีลูกค้าที่ใช้อยู่ประมาณ 14.3 ล้านใบ มียอดค้างโดยรวมประมาณ 1.9-2 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มที่ชำระ 100% และกลุ่มที่ชำระ 10% ซึ่งกลุ่มนี้มีประมาณ 40% หรือ 8 หมื่นล้านบาท ของมูลค่ารวม 2 แสนล้านบาท
"ผลกระทบจากมาตรการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตเข้าแบงก์รัฐ อาจทำให้แบงก์พาณิชย์ต้องยอมรักษาลูกค้า โดยใช้วิธีลดดอกเบี้ยสู้ในส่วนของลูกค้าชั้นดี แต่คงลดลงมาไม่ได้มาก เพราะอาจทำให้ขาดทุนได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการใช้มาตรการ ถ้าระยะสั้นไม่กระทบ แต่ถาวรแบงก์ก็คงต้องปรับโมเดลธุรกิจกันใหม่ เพื่อความอยู่รอด รวมทั้งอาจทำให้ต้องหาช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม เช่น หันกลับมาคิดค่าธรรมเนียมรายปี หรืออาจต้องคิดค่าธรรมเนียมแรกเข้า" นายชาติชายกล่าว
นายชาติชายกล่าวต่อว่า หากพิจารณาในแง่ผลกระทบในส่วนของลูกค้าก็อาจจะทำให้มีพฤติกรรมที่ก่อหนี้เพิ่มขึ้น
เพราะเมื่อนำเงินไปรีไฟแนนซ์แล้ว ลูกค้าก็น่าจะกลับมาใช้บัตรเครดิตได้เหมือนเดิม เพราะพฤติกรรมของคนใช้บัตรเครดิตยังคงต้องใช้ และลูกค้าที่เคยมีประวัติดีในการชำระหนี้ เมื่อเห็นอัตราดอกเบี้ยต่ำก็จะจ่ายน้อยลง อย่างไรก็ตาม อาจมีผลทำให้หนี้ในระบบบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นได้
สำหรับมาตรการสินเชื่อที่อยู่อาศัย 0% 2 ปีนั้น จะส่งผลกระทบระยะสั้นกับแบงก์
ซึ่งในส่วนของธนาคารกสิกรไทยมีส่วนแบ่งตลาดในตลาดสินเชื่อดังกล่าวประมาณ 9% มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท ก็คงได้รับผลกระทบไม่มาก และใช้วิธีพยายามดูแลลูกค้าในส่วนที่เกินระดับ 3 ล้านบาทขึ้นไปให้ดี เพื่อชดเชยส่วนที่หายไป และแบงก์ก็มีโปรโมชั่นพิเศษในงานมหกรรมการเงิน มันนี่เอ็กซ์โป โดยคาดว่าจะมีโปรโมชั่น 0% 9 เดือน และลุ้นรางวัลในงานดอกเบี้ยอัตรา 0% ใน 30 ปี 5 รางวัล
นายอำพล โพธิ์โลหะกุล รองกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย กล่าวเสริมว่า
ขณะนี้ธนาคารอยู่ระหว่างประเมินผลกระทบจากโครงการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต โดยผลกระทบจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน วงเงินที่รัฐบาลเตรียมไว้สำหรับโครงการนี้มีประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ถือเป็นวงเงินที่สูงมาก หากเทียบกับวงเงินสินเชื่อที่ลูกค้าของธนาคารใช้หมุนเวียนอยู่มีประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากเงื่อนไขของโครงการระบุให้ลูกค้าต้องปิดบัญชีบัตรเครดิตที่เคยถืออยู่ด้วยก็เชื่อว่าจะทำให้ผลกระทบไม่รุนแรงเท่าในครั้งแรก
เนื่องจากลูกค้าจะให้ความสำคัญกับเรื่องการเข้าถึงวงเงินมากกว่าอัตราดอกเบี้ย หากต้องปิดบัญชีเดิมที่ได้วงเงินบัตรเครดิตอยู่จะทำให้ลูกค้าขาดความคล่องตัว เช่น เดิมลูกค้ามีวงเงิน 5 หมื่นบาท อาจจะใช้วงเงินไป 2.5 หมื่นบาท และจ่ายหนี้หมุนเวียนไป ยังเหลือวงเงินอยู่ประมาณ 2.5 หมื่นบาท หากต้องปิดบัญชีนี้ไปก็จะขาดกระแสเงินสด เชื่อว่าลูกค้าก็ต้องคิดมากขึ้น จึงน่าจะบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดกับธนาคารได้
ด้านนายวรวุฒิ นิสภกุลธร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี กล่าวว่า
ขณะนี้อยู่ระหว่างจับตาความชัดเจนในรายละเอียดเงื่อนไขที่จะออกมา ทั้งระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ยแต่ยอมรับว่าได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเป็นหลัก ในส่วนของเคทีซีมีฐานลูกค้า 1.7 ล้านบัตร และเป็นบัตรที่ชำระหนี้ขั้นต่ำอยู่ 60% ซึ่งธุรกิจบัตรเครดิตมีรายได้จากการผ่อนชำระบัตรเครดิตในสัดส่วนสูง หากลูกค้าเก่าต้องปิดบัญชีเพื่อย้ายไปแบงก์อื่นย่อมกระทบอย่างแน่นอน