วันแรงงานแห่งชาติ กลุ่มลูกจ้างเรียกร้อง 9 ข้อ รัฐยาหอมเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้เพียบ วันนี้ (1 พ.ค.) ที่บริเวณลาพระบรมรูปทรงม้า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.กระทรวงแรงงาน เป็นประธานในกางัดงานในวันแรงงานแห่งชาติ โดยเริ่มด้วยพิธีทางศาสนา จากนั้นจะมีริ้วขบวนเทิดพระเกียรติ ๘๔ พรรษาไปยังลานคนเมือง และในเวลา 19.00 น. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ ทรงพระกรุณาเสด็จเปิดงาน แรงงานไทยน้อมถวายพระพร ๘๔ พรรษา และทรงเป็นประธานนำผู้บิหาร ข้าราชการกระทรวงแรงงาน และผู้ใช้แรงงานร่วมถวายพระพร โดยมีกลุ่มลูกจ้างแรงงานกว่า 1 พันคนร่วมงาน ท่ามกลางสายฝนที่เทลงมาอย่างไม่ขาดสาย 1.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ 2.ให้รัฐจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้าง ในกรณีนายจ้างปิดกิจการ และไม่ยอมจ่ายเงินชดเชย 3.ปรับค่าจ้างที่เป็นธรรมให้กับลูกจ้าง และเอาผิดกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย 4.ให้ปฏิรูประบบประกันสังคม โดยแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม กรณีจ่ายเงินสมทบ ควรจ่ายเพียงเท่าเดียว ให้นิรโทษกรรมให้กับผู้ประกันตน กลับมาเป็นผู้ประกันตนได้ ให้รัฐจ่ายเงินสมทบให้ผู้ประกันตนในอัตรา 50 % ทุกกรณี ให้ขยายสิทธิให้ผู้ประกันตนสามารถรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล ในเครือประกันสังคม ให้ขยายสิทธิให้ผู้รับงานไปทำที่บ้าน เข้าเป็นผู้ประกันตน โดยถือว่าผู้ว่าจ้างเป็นนายจ้าง และให้รัฐยกระดับสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ 5.ให้รัฐยกเลิกการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกกิจการ 6.ให้ยกเว้นการเก็บภาษีลูกจ้าง ในกรณีเงินชดเชยและเงินรายได้อื่นๆที่เป็นเงินงวดสุดท้าย 7.ให้แก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานให้กับลูกจ้างจากเดิมอายุงาน 10 ขึ้นไป จ่ายค่าชดเชย 300 วัน เป็นปีละ 330 วัน 8.ให้รัฐจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กและศูนย์เก็บน้ำนมแม่ 9.ให้รวมกฎหมายแรงงานทุกประเภทเป็นกฎหมายแรงงานฉบับเดียว บังคับใช้ทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
โดยมีการเรียกร้องรัฐบาลจากผู้ใช้แรงงาน 9 ข้อด้วยกัน คือ
นายเฉลิมชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงแรงงาน ได้พัฒนาในการสร้างหลักประกันความมั่นคงสำหรับผู้ใช้แรงงานมาโดยตลอด ภารกิจหลักๆได้แก่ ขยายประกันสังคมมาตรา 40 สำหรับแงงานนอกระบบโดยแบ่งสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่หนึ่งผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 70 บาท รัฐบาลจ่ายเงินให้ 30 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐาน 3 ประการ คือเงินทดแทนการขาดรายได้ เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป จะได้รับเงิน 200 บาทไม่เกิน 20 วันต่อปี เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ 500-1,000 บาท ต่อเดือนนาน 15 ปี เงินค่าทำศพ 2 หมื่นบาท และชุดที่สอง ผู้ประกันจ่ายเงินสมทบ 100 บาท รัฐจ่ายเงินสมทบให้ 50 บาท ได้สิทธิประโยชน์ 4 ประการ คือนอกจากได้สิทธิพื้นฐานเหมือนชดที่หนึ่งแล้ว ยังเพิ่มสิทธิกระกันสังคมในการรักษาพยาบาลป่วยเป็นโรคมะเร็งอีก 7 ชนิดโรค สามารถเบิกจ่ายได้ในอัตราสูงสุดเป็นเงิน 272,100 บาท จากเดิมที่สามารถจ่ายได้แค่ 5 หมื่นบาท
รมว.กระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ปีนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้อัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือแรงงานเริ่มที่ 22 สาขาอาชีพ โดยแบ่งค่าจ้างตามฝีมือ 3 ระดับ คือ ระดับแรก ผู้ที่มีฝีมือและความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน ระดับต่อมา ผู้ที่มีฝีมือความรู้ ความสามารถในระดับกลาง มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ และระดับสุดท้าย ผู้ที่มีฝีมือในระดับสูงเป็นผู้คุมงานทั้งหมดได้ โดยทั้ง 3 ระดับมีค่าจ้างเริ่มต้นตั้งแต่ 250-690 บาท ตามแต่ละสาขาอาชีพ อีกทั้งเรายังได้ร่วมกับธนาคารที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ให้บริการสินเชื่อเพื่อการไปทำงานต่างประเทศ วงเงินรายละไม่เกิน 1 แสนบาท เพื่อช่วยเหลือคนหางานที่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบ โดยมีระยะเวลาในการผ่อนชำระเงินกู้ไม่เกิน 18 เดือน ส่วนเงื่อนไขหลักประกันเงินกู้นั้น หากผู้กู้ไม่มีหลักทรัพย์มาค้ำประกันสามารถให้บริษัทจัดหางานที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้การันตีได้ ส่วนกรณีกรมจัดหางานเป็นผู้จัดส่งไปทำงาน คนหางานสามารถใช้บุคคลในครอบครัวหรือกลุ่มคนงานที่ร่วมเดินทางไปทำงานค้ำประกันเงินกู้แทนการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันได้